หลอดเลือดอัณฑะขอด เป็นผลมาจากลิ้นปิดเปิดในหลอดเลือดดำบกพร่องหรือเสื่อมสมรรถภาพ ทำให้เลือดไหลย้อนกลับ (จากบนลงล่าง แทนจากล่างขึ้นบน) แบบเดียวกับหลอดเลือดขอดที่ขา (varicose vein) และหลอดเลือดขอดที่ทวาร (ริดสีดวงทวาร) ส่วนมากเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
ประมาณร้อยละ 85 ของผู้ป่วยจะเป็นที่ถุงอัณฑะข้างซ้าย เนื่องเพราะลักษณะทางกายวิภาคของระบบหลอดเลือดดำของอัณฑะข้างซ้ายมีลักษณะแตกต่างจากข้างขวา กล่าวคือ หลอดเลือดดำของอัณฑะข้างซ้ายจะไหลเข้าสู่หลอดเลือดดำของไต (renal vein) ในขณะที่หลอดเลือดดำข้างขวาจะไหลเข้าสู่ท่อเลือดดำใหญ่ (inferior vena cava) โดยตรง ดังนั้นจึงเอื้อให้หลอดเลือดดำของอัณฑะข้างซ้ายเกิดการขอดตัวได้มากกว่าข้างขวา
โรคนี้มักพบในผู้ชายอายุ 15-25 ปี ในผู้ชายอายุเกิน 40 ปี พบได้น้อย หากพบในผู้ชายที่อายุเกิน 40 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่ถุงอัณฑะข้างขวาเพียงข้างเดียว อาจเกิดจากมีก้อนเนื้องอกในช่องท้องกดทับหลอดเลือดดำในช่องท้อง ทำให้เกิดแรงดันลงมาที่หลอดเลือดดำของอัณฑะ เป็นเหตุให้เกิดการขอดตัวได้
ส่วนมากจะไม่มีอาการแสดง อาจตรวจพบขณะไปปรึกษาแพทย์เรื่องมีบุตรยาก
บางรายอาจมีอาการปวดหน่วงๆที่อัณฑะ หลังออกกำลังกายหรือหลังจากทำงานมาตลอดวัน (จึงมักมีอาการในช่วงบ่ายๆ เย็นๆ) และอาการปวดมักทุเลาเมื่อนอนราบ
ในรายที่เป็นมาก อาจสังเกตเห็นถุงอัณฑะโตข้างหนึ่ง คลำดูตรงสายรั้งอัณฑะ (อยู่ด้านหลังของถุงอัณฑะ) จะมีลักษณะเป็นลำ หยุ่นๆ นุ่มๆ
การดำเนินโรค
ส่วนใหญ่ไม่มีอันตรายใดๆ ไปจนตลอดชีวิต (ซึ่งไม่จำเป็นต้องให้การรักษาแต่อย่างใด)
ในรายที่อัณฑะฝ่อหรือเป็นหมัน หลังผ่าตัดจะช่วยให้มีบุตรได้
ภาวะแทรกซ้อน
ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข และปล่อยทิ้งนานๆ อาจทำให้อัณฑะฝ่อ และมีบุตรยาก
การแยกโรค
อาการปวดอัณฑะหรือถุงอัณฑะโตกว่าปกติ อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น
- อัณฑะบิดตัว จะมีอาการปวดอัณฑะอย่างรุนแรงและเกิดขึ้นฉับพลัน อัณฑะบวมและแตะถูกเจ็บ ถือว่าเป็นภาวะร้ายแรงที่ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
- อัณฑะอักเสบ อัณฑะมีลักษณะปวดบวมแดงร้อน และอาจมีไข้ร่วมด้วย
- ไส้เลื่อน มักมีอาการมีก้อนบวมที่อัณฑะเวลายืน นั่ง หรือไอ และยุบหายเวลานอนราบ โดยไม่มีอาการเจ็บปวด ก้อนคลำดูมีลักษณะนุ่ม ไม่เจ็บ
- กล่อนน้ำ (hydrocele) หมายถึงการเกิดเป็นถุงน้ำภายในถุงอัณฑะ มีลักษณะเป็นก้อนนุ่มที่ถุงอัณฑะข้างใดข้างหนึ่ง โดยไม่ยุบหายไม่ว่าจะอยู่ในท่าใด โดยไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด
- มะเร็งอัณฑะ มีอาการเป็นก้อนแข็งที่อัณฑะข้างหนึ่ง ไม่เจ็บ แต่โตเร็ว
แพทย์จะให้การรักษาตามความรุนแรงของโรค
ถ้าไม่มีอาการแสดง ก็ไม่ต้องให้การรักษาแต่อย่างใด บางรายอาจหายได้เองเมื่ออายุมากขึ้น
ถ้ามีอาการปวดหน่วงๆ บ่อยๆ อาจแนะนำให้ผู้ป่วยใส่กางเกงในรัดๆ หรือใช้เครื่องพยุงอัณฑะ (scrotal support)
ในรายที่มีบุตรยาก (เป็นหมัน) หรือตรวจพบว่าอัณฑะฝ่อ แพทย์อาจทำการผ่าตัดแก้ไข หลังผ่าตัด อาจช่วยให้มีบุตรได้
ในรายที่ตรวจพบหลังอายุ 40 ปี หรือเป็นที่อัณฑะข้างขวาข้างเดียว อาจต้องตรวจหาสาเหตุ (เช่น เนื้องอกในช่องท้อง) แล้วให้การแก้ไขตามสาเหตุ
การวินิจฉัย
แพทย์มักจะวินิจฉัยโดยตรวจพบหลอดเลือดดำของอัณฑะพองโต (ขอด) คือ คลำได้ที่บริเวณด้านหลังของถุงอัณฑะ (สายรั้งอัณฑะ) มีลักษณะเป็นลำหยุ่นๆ นุ่มๆ ซึ่งจะพบได้ชัดเจนในท่ายืน หรือขณะที่ให้ผู้ป่วยทำท่าเบ่งแบบถ่ายอุจจาระ
การวินิจฉัยที่แน่ชัด อาจทำโดยการถ่ายภาพถุงอัณฑะด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวนด์) ซึ่งจะพบว่าหลอดเลือดดำของอัณฑะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง มากกว่า 2 มม.
ถ้าพบว่ามีอาการปวดอัณฑะหรือถุงอัณฑะโตกว่าปกติ หรือมีบุตรยาก ก็ควรปรึกษาแพทย์หรือตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด
ในกรณีที่มีอาการปวดที่อัณฑะรุงแรงฉับพลัน ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
หลอดเลือดอัณฑะขอด หมายถึง กลุ่มหลอดเลือดดำของอัณฑะ (ไหลจากอัณฑะไปตามสายรั้งอัณฑะเข้าสู่ช่องท้อง) เกิดการพองตัวหรือขอด ทำให้สังเกตเห็นว่าถุงอัณฑะข้างหนึ่งโต หรือมีอาการปวดหน่วงๆ ที่อัณฑะข้างหนึ่งเป็นครั้งคราว เป็นภาวะที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่อาจทำให้มีบุตรยากได้
ชื่อภาษาไทย
หลอดเลือดอัณฑะขอด
ชื่อภาษาอังกฤษ
Varicocele
ความชุก
พบได้ประมาณร้อยละ 15-20 ของผู้ชายทุกอายุ พบบ่อยในช่วงอายุ 15-25 ปี พบน้อยในช่วงอายุมากกว่า 40 ปี
ส่วนผู้ชายที่มีบุตรยาก พบโรคนี้ได้กว่าร้อยละ 40
- อ่าน 9,994 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้