Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » ข้อมูลโรคและการรักษา » โลหิตจาง จากภาวะขาดธาตุเหล็ก

โลหิตจาง จากภาวะขาดธาตุเหล็ก

  • อาการ
  • สาเหตุ
  • การรักษา
  • การดูแลตนเอง
  • อื่นๆ

ในระยะที่มีภาวะโลหิตจางเล็กน้อย มักไม่มีอาการแสดงชัดเจน หรือผู้ป่วยที่มีโลหิตจางแบบค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย ผู้ป่วยก็อาจไม่รู้สึกว่าตัวเองมีอาการผิดปกติใดๆ ก็ได้

ในรายที่มีภาวะโลหิตจางมาก หรือเกิดขึ้นฉับพลัน (เช่น ตกเลือด) ก็มักจะมีอาการอ่อนเพลีย ทำอะไรรู้สึกเหนื่อยง่าย หน้ามืด มึนงง เวียนศีรษะ เบื่ออาหาร ถ้าเป็นมากอาจมีอาการใจหวิว ใจสั่นร่วมด้วย

ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางชัดเจน มักพบว่ามีอาการหน้าตาซีดเซียว ฝ่ามือซีด เล็บซีด เยื่อบุเปลือกตา ริมฝีปาก และลิ้นซีดขาวกว่าปกติ

การดำเนินโรค

ผู้ที่เป็นโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก มักมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย และเมื่อเบื่ออาหาร ก็ยิ่งขาดธาตุเหล็ก ก็ยิ่งโลหิตจางมากขึ้น เป็นวงจรไม่รู้จบ

แต่ถ้าได้ยาบำรุงโลหิตรักษา ภายใน 7-10 วัน ก็มักจะดีขึ้น คือมีเรี่ยวแรงมากขึ้น และหน้าตามีเลือดฝาดดีขึ้นอย่างทันตาเห็น อย่างไรก็ตาม ก็ควรกินยาบำรุงโลหิตต่อไปอีก 3-6 เดือน หากหยุดยาเร็วเกินไป ก็อาจเกิดภาวะขาดธาตุเหล็กซ้ำอีกได้

ภาวะแทรกซ้อน

ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง นอกจากทำให้อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ทำงานได้ไม่เต็มที่ ลดความสามารถในการเรียนรู้ (พบว่าเด็กที่มีภาวะขาดธาตุเหล็ก จะเรียนได้คะแนนไม่ดี และเมื่อให้ยาบำรุงโลหิตเสริม คะแนนการเรียนดีขึ้น)

นอกจากนี้อาจทำให้ร่างกายอ่อนแอ เฉื่อยชา ภูมิต้านทานโรคต่ำ (ติดเชื้อง่าย) ถ้าเกิดการเจ็บป่วยหรือมีบาดแผล ก็มักจะฟื้นหายได้ช้า

ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจอยู่เดิม ถ้ามีภาวะโลหิตจางรุนแรง อาจทำให้โรคหัวใจกำเริบ หรือภาวะหัวใจวายได้

การแยกโรค

ภาวะซีดหรือโลหิตจาง เป็นอาการแสดงของโรค ซึ่งอาจมีสาเหตุได้หลากหลาย นอกจากภาวะขาดธาตุเหล็กแล้ว ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น

  • ภาวะขาดอาหารหรือโปรตีน ซึ่งเป็นองค์ประกอบร่วมกับธาตุเหล็กในการสร้างเม็ดเลือดแดง นอกจากภาวะซีดแล้ว ผู้ป่วยอาจมีอาการขาดอาหาร เช่น ผอมแห้ง เท้าบวม ผมแดง เป็นต้น
  • ทาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคโลหิตจางเนื่องจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ แตกสลายง่าย จึงมีอาการซีดเหลืองอย่างเรื้อรังมาตั้งแต่เล็ก มีหน้าตาแปลก ม้ามโต (คลำได้ก้อนที่บริเวณใต้ชายโครงซ้าย) พบมากในคนอีสานและคนเหนือ
  • โลหิตจางจากภาวะไขกระดูกฝ่อหรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้ป่วยมักมีอาการซีดร่วมกับไข้มีจุดแดงจ้ำเขียวตามผิวหนัง มีเลือดออกตามที่ต่างๆ (เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน)
  • ไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยมักมีอาการซีด อ่อนเพลียร่วมกับคลื่นไส้ เท้าบวม มักมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคไตมาก่อน
  • อ่าน 12,215 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa