Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • สมัครสมาชิก
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • แอพลิเคชั่น DoctorMe
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » ข้อมูลโรคและการรักษา » แผลแอฟทัส

แผลแอฟทัส

  • อาการ
  • สาเหตุ
  • การรักษา
  • การดูแลตนเอง
  • อื่นๆ

ที่สำคัญคือ มีแผลเปื่อยเจ็บในช่องปากเป็นๆ หายๆ อยู่ประจำ เวลามีสิ่งกระตุ้น (เช่น ความเครียด กัดถูก ปากตนเอง การใช้ยาสีฟันหรือยาบางชนิด แพ้อาหารบางชนิด เวลามีประจำเดือน เป็นต้น) หรืออาจอยู่ดีๆ ก็กำเริบขึ้นโดยไม่ทราบว่ามีอะไรเป็นสิ่งกระตุ้นก็ได้ อาการเจ็บแผลจะเป็นมากใน 2-3 วันแรก และรู้สึกปวดแสบเวลากินอาหารรสเผ็ดหรือเปรี้ยวจัด ถ้าเป็นแผลขนาดใหญ่ อาจเจ็บมากจนกลืนหรือพูดไม่ถนัด เมื่อตรวจดูจะพบแผลในปาก ส่วนใหญ่ (มากกว่า ร้อยละ 80) จะเป็นแผลตื้น ลักษณะกลมหรือรูปไข่ ขนาด 3-5 มิลลิเมตร (ไม่เกิน 1 เซนติเมตร) พื้นแผลมีสีขาวหรือเหลืองและกลายเป็นสีเทาเมื่อใกล้หาย มีวง สีแดงอยู่โดยรอบ ขอบอาจเป็นสีแดง มักพบที่ริมฝีปาก กระพุ้งแก้มและลิ้น (ด้านข้างและด้านใต้) นอกจากนี้ ยังอาจพบที่ลิ้นไก่ ผนังคอหอย พื้นปาก (เนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ลิ้นและเหงือก) มักไม่พบที่เหงือก เพดานปาก และ ลิ้น (ด้านบน) อาจเป็นเพียงแผลเดียวหรือหลายแผล (2-5 แผล) พร้อมกัน เรียกว่า แผลแอฟทัสเล็ก (minor aphthous ulcers) ซึ่งจะมีอาการเจ็บปวดไม่รุนแรง และหายได้เองภายใน 7-10 วัน โดยส่วนใหญ่จะไม่เป็นแผล เป็น อาจกำเริบได้ทุก 1-4 เดือน

ส่วนน้อย (ประมาณร้อยละ 10) อาจพบแผลแอฟทัสใหญ่ (major aphthous ulcers) มีลักษณะแบบเดียวกับแผลแอฟทัสเล็ก แต่มีขนาดมากกว่า 1 เซนติเมตร ขึ้นไป ขอบแผลบวม มีอาการเจ็บปวดรุนแรงกว่า นอกจากพบในตำแหน่งเดียวกับแผลแอฟทัสเล็ก ยังอาจพบที่เพดานปาก และลิ้น (ด้านบน) ได้อีกด้วย แผลมักหายช้า (ใช้เวลาประมาณ 10-40 วัน) อาจเป็นแผลเป็นและกำเริบได้บ่อยมาก บางครั้งอาจพบในผู้ป่วยเอดส์ นอกจากนี้ ยังอาจพบแผลแอฟทัสชนิดคล้ายเริม (herpetiform ulceration) ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเริม จะพบในกลุ่มคนอายุมากกว่า 2 ชนิดดังกล่าว พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แรกเริ่มจะขึ้นเป็นตุ่มใสเล็ก (1-2 มิลลิเมตร) หลายตุ่ม แล้วแตกแผ่รวมเป็นแผลเดียวกันขนาดใหญ่ (คล้ายแผลแอฟทัสใหญ่) มีอาการเจ็บปวดค่อนข้างรุนแรง พบในตำแหน่งต่างๆ ในช่องปากแบบเดียวกับแผลแอฟทัสใหญ่ แผลหายได้เอง แต่ใช้เวลานานกว่า 10 วัน (อาจนานถึง 2 เดือน) ผู้ป่วยมักไม่มีอาการไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ต่อมน้ำเหลืองโตหรืออาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย

การดำเนินโรค

แผลแอฟทัส มักจะเป็นครั้งแรกตั้งแต่ในช่วงวัยรุ่น และวัยหนุ่มสาว แต่ละครั้งจะเป็นอยู่นาน 7-10 วัน (ไม่เกิน 3 สัปดาห์) อาจกำเริบได้ทุก 1-4 เดือน เมื่ออายุมากขึ้น จะค่อยๆ เป็นห่างออกไปเรื่อยๆ บางคนอาจหายขาดเมื่ออายุมาก สำหรับผู้หญิง ขณะตั้งครรภ์มักจะไม่มีอาการกำเริบจนกว่าจะคลอด โรคนี้ไม่ควรเป็นครั้งแรกในคนอายุมากกว่า 40 ปี ถ้าพบควรตรวจหาสาเหตุ

ภาวะแทรกซ้อน

ส่วนใหญ่หายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ถ้าแผลขนาดใหญ่ อาจกลายเป็นแผลเป็น

การแยกโรค

แผลเปื่อยในปากอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ที่พบบ่อย ได้แก่

  • แผลเริมในช่องปาก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เริม ในเด็กเล็กจะมีไข้สูง และมีแผลเปื่อยขึ้นเต็มปาก ตามริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ทำให้เด็กไม่ยอม ดูดนมหรือกินอาหาร ส่วนในผู้ใหญ่ มักจะขึ้นเป็นแผลเดียวขนาด 3-5 มิลลิเมตร ที่เหงือก หรือเพดานปาก (แผลแอฟทัสมักจะไม่ขึ้นตำแหน่งเหล่านี้) และหายได้เองภายใน 7-10 วัน
  • แผลที่เกิดจากการบาดเจ็บ เช่น เผลอกัดถูก ริมฝีปาก หรือลิ้นของตัวเอง ซึ่งมักจะขึ้นเพียงแผลเดียว และหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์
  • แผลมะเร็งในช่องปากจะขึ้นเป็นแผลหรือก้อนที่ไม่รู้สึกเจ็บ และจะเป็นเรื้อรัง ไม่หาย มักโตขึ้นเรื่อยๆ พบมากในคนอายุมากกว่า 40-50 ปีที่ชอบสูบบุหรี่ ดื่มเหล้าจัด ฉุกยาฉุน เคี้ยวหมากพลู หรือใช้ยานัตถุ์เป็นประจำ
  • อ่าน 6,933 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

330-006
นิตยสารหมอชาวบ้าน 330
ตุลาคม 2006
สารานุกรมทันโรค
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa