Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » ข้อมูลโรคและการรักษา » ไมเกรน

ไมเกรน

  • อาการ
  • สาเหตุ
  • การรักษา
  • การดูแลตนเอง
  • อื่นๆ

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะเป็นครั้งคราว มักจะเริ่มเป็นครั้งแรกตั้งแต่อายุน้อย (วัยรุ่น หรือวัยหนุ่มสาว) และจะเป็นๆหายๆ จนเลยวัย 55 ปี หรือตลอดชีวิต

แต่ละครั้ง จะมีอาการปวดตุบๆ ที่ขมับ หรือรอบๆ เบ้าตาซีกใดซีกหนึ่ง อาจปวดสลับข้างในแต่ละคราว หรือปวดพร้อมกันทั้ง 2 ข้างก็ได้ ผู้ป่วยมักจะคลำได้หลอดเลือดที่บริเวณขมับมีลักษณะโป่งพองและเต้นตุบๆ บางคนอาจปวดแบบตื้อๆ ทั้งศีรษะ หรืออาจมีอาการเวียนศีรษะ กลัวแสง ปวดเสียวหนังศีรษะ บางรายก่อนปวดหรือขณะปวด อาจมีอาการตาพร่า ตาลาย ตาเห็นแสงวอบแวบ หรือมืดมัวไปครึ่งซีก แต่ละครั้งมักปวดนาน 4-72 ชั่วโมง แต่ถ้าได้กินยาบรรเทาปวด และนอนหลับสักครู่ ก็อาจทำให้อาการทุเลาได้เร็วขึ้น บางรายที่มีอาการปวดมากหรือปวดนาน ก่อนจะทุเลาอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เมื่ออาเจียนแล้วอาการปวดจะทุเลาไปได้เอง ในรายที่เป็นไมเกรนชนิดรุนแรง ก็อาจมีอาการ หน้าชา ริมฝีปากชา มือชา วิงเวียน ตาเห็นภาพซ้อน หรือแขนขาอ่อนแรงซีกหนึ่ง แต่อาการแบบนี้พบได้น้อยมาก และมักเป็นเพียงชั่วคราวก็จะหายได้เอง

การดำเนินโรค

โรคนี้มักมีอาการอยู่นาน 4-72 ชั่วโมงแล้วสามารถทุเลาได้เอง แต่มักจะเป็นๆ หายๆ เป็นครั้งคราวเมื่อมีเหตุกำเริบหรือสิ่งกระตุ้น ผู้ป่วยส่วนหนึ่งอาจหายขาดเมื่อพ้นอายุ 55 ปีไปแล้ว แต่ส่วนหนึ่งอาจมีอาการกำเริบได้เรื่อยๆ ตลอดชีวิต

ภาวะแทรกซ้อน

ผู้ป่วยไมเกรนส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรืออันตรายใดๆ ทั้งสิ้นยกเว้นในรายที่เป็นไมเกรนชนิดรุนแรงที่มีการอ่อนแรงของแขนขา บางครั้งอาจมีอาการหยุดหายใจ เนื่องเพราะกล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง ก็อาจต้องรีบช่วยผายปอด แล้วนำส่งโรงพยาบาลทันที ผู้ป่วยมักจะฟื้นคืนสู่สภาวะปกติได้ภายในไม่กี่วัน

การแยกโรค

อาการปวดศีรษะ นอกจากไมเกรนแล้ว ยังอาจมีสาเหตุอื่นๆ เช่น

  1. ปวดศีรษะจากความเครียด จะมีอาการปวด ตื้อๆ มึนๆ ทั่วศีรษะ หรือบริเวณท้ายทอยนานเป็น ชั่วโมงๆ หรือเป็นวันๆ เมื่อนอนหลับพักผ่อนแล้วก็ดีขึ้น (แต่บางคนอาจเป็นติดต่อกันนานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนก็ได้) โดยไม่มีอาการตาพร่า หรือคลื่นไส้อาเจียน ผู้ป่วยอาจมีอาการวิตกกังวล คิดมาก ซึมเศร้า นอนไม่หลับร่วมด้วย
  2. สายตาผิดปกติ จะมีอาการปวดเมื่อยล้ารอบๆ กระบอกตา เวลาเพ่งมองอะไรนานๆ อาจพบว่ามีภาวะสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงร่วมด้วย
  3. ไซนัสอักเสบ จะมีอาการปวดตื้อๆ ตรงหัวคิ้วรอบๆ กระบอกตา หรือใต้ตา (โหนกแก้ม) ร่วมกับ อาการเป็นหวัด คัดจมูก มีน้ำมูกหรือเสลดข้นเหลืองหรือเขียว เมื่อใช้นิ้วเคาะบริเวณที่ปวดตื้อๆ จะรู้สึกเจ็บมากขึ้น
  4. ความดันเลือดสูง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติ มักตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจเช็กร่างกาย แต่ส่วนน้อยที่เป็นความดันเลือดสูงรุนแรง ก็อาจมีอาการปวดตุบๆ ที่ขมับ หรือปวดตื้อๆ ทั่วศีรษะหรือท้ายทอย มักจะเป็นเวลาตื่นนอนใหม่ๆ พอตอนสายจะทุเลาไปเอง มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้น
  5. เนื้องอกสมอง จะมีอาการปวดมึนๆ ตื้อๆ ทั่วศีรษะตอนเช้ามืด ก่อนใกล้ตื่นนอน พอตอนสายๆ จะทุเลา ซึ่งจะเป็นอยู่ทุกวัน นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน โดยจะมีอาการปวดแรงขึ้นและนานขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาจะมีอาการเวียนศีรษะ อาเจียน หรือเดินเซ โรคนี้พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
  6. ต้อหินเฉียบพลัน จะมีอาการปวดตาข้างหนึ่งอย่างรุนแรง ตาพร่ามัว ตรวจดูตาพบว่าตาแดง กระจกตาบวมขุ่น รูม่านตาโต มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี อาการปวดจะไม่ทุเลาจนกว่าจะได้รับการรักษา

ส่วนอาการแขนขาชา หรืออ่อนแรง ที่อาจพบได้ในผู้ป่วยไมเกรนชนิดรุนแรง ควรแยกออกจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งจะมีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตเรื้อรัง (ส่วนไมเกรนมักจะเป็นอยู่เพียงไม่กี่วันก็หายได้เอง) ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบ มักพบในคนสูงอายุ หรือผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง อ้วน หรือสูบบุหรี่จัด (ส่วนไมเกรนจะพบในคนอายุน้อย และไม่มีโรคประจำตัวอื่นๆ)

  • อ่าน 12,441 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

315-009
นิตยสารหมอชาวบ้าน 315
กรกฎาคม 2005
สารานุกรมทันโรค
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa