โรคปวดข้อรูมาตอยด์
แพทย์จะให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ เช่น แอสไพริน (ขนาดสูง วันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 3-4 เม็ด) หรือไอบูโพรเฟน (ibuprofen) เพื่อลดการอักเสบของข้อและบรรเทาปวด อาจต้องกินติดต่อกันนานเป็นแรมเดือนหรือแรมปี ยานี้อาจทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะลำไส้ แพทย์อาจให้กินยารักษากระเพาะ เช่น โอมีพราโซล (omeprazole) ควบคู่ด้วยเพื่อป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะลำไส้
นอกจากนี้ แพทย์อาจให้การรักษาทางกายภาพบำบัด เช่นการประคบด้วยน้ำอุ่นจัดๆ การฝึกายบริหารเป็นต้น
ในรายที่กินยาชนิดดังกล่าวเพียงอย่างเดียวไม่ได้ผลแพทย์ก็อาจใช้ยาลดการอักเสบชนิดอื่นๆ เช่น ไฮดรอกซีคลอโรควีน (hydroxychloroquine) สารเกลือของทอง (gold salt) ยาสตีรอยด์เมโทเทรกเซต (methiotrexate) ยากดภูมิคุ้มกัน (เช่น ไซโคลสปอริน) เป็นต้น
ในรายที่เป็นรุนแรง แพทย์อาจรับตัวผู้ป่วยไว้นอนพักรักษาในโรงพยาบาลนานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนและอาจต้องเข้าเฝือกเพื่อให้ข้อที่ปวดได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
ในรายที่มีข้อพิการรุนแรง อาจต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัด
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการปวดข้อนิ้วมือนิ้วเท้าทุกข้อพร้อมกันทั้ง 2 ข้างหรืออาการปวดข้อเรื้อรังที่ชวนให้สงสัยเป็นโรคนี้
- ตรวจเลือด พบค่าอีเอสอาร์ (ESR หมายถึง อัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง) สูงกว่าปกติ อาจตรวจพบรูมาตอยด์แฟกเตอร์ (rheumatoid factor) สารภูมิต้านทานที่มีชื่อว่า anti-cyclic citrullirated peptide (anti-CCP)
- เอกซเรย์ พบความผิดปกติของข้อและภาวะกระดูกพรุน (asteoporosis)
- อ่าน 23,087 ครั้ง
พิมพ์หน้านี้