พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
311
มีนาคม 2548
เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็พากันพูดถึงเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ หรือแอนติออกซิเดนต์(antioxidant) กันว่า เป็นสิ่งวิเศษช่วยป้องกันโรคสารพัดชนิด อาจกลายเป็นยาผีบอกแบบสมัยโบราณไปก็ได้ ลองมาทำความรู้จักกับเจ้าตัวนี้ และผู้บริโภคได้ประโยชน์จากสารตัวนี้อย่างไร ในรายงานของเครือข่าย "เฮน (Health Evidence Network-HEN)" ซึ่งเป็นเครือข่ายภายในองค์การอนามัยโลก ภาคพื้นยุโรป ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
310
กุมภาพันธ์ 2548
หมอจำนวนมากทั่วโลกเชื่อว่า การใช้ยาลดไขมันในเลือดที่ชื่อว่า "statins" ปลอดภัยกว่ายาลดไข้อย่างแอสไพริน แอสไพรินมีผลข้างเคียงทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร แต่แอสไพรินยังคงเป็นยาลดไข้ที่ได้ผลดีมากและยังใช้รักษาโรคอีกบางชนิด) ทำให้โฆษณากัน ในสื่อต่างๆ มากมาย ว่าเป็นยาวิเศษ ใช้ป้องกันโรคหัวใจได้ โดยเฉพาะแพทย์รักษาโรคหัวใจที่พากันเห็นพ้องต้องกันว่า ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
309
มกราคม 2548
เราพูดกันเรื่องเด็กมาหลายตอนแล้ว วันนี้ขอเริ่มซีรี่ที่ ๒ จะพยายามสื่อสารในเรื่องยากๆ เช่น การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขภายใต้ซีรี่ "รู้มากไม่ยากนาน" หวังว่าผู้อ่านเมื่อได้รับรู้เรื่องสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ จะรู้เท่าทันและไม่บริโภคอย่างงมงาย อย่างน้อยต้องรู้จักตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทำไมเราถึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ หลงเชื่อที่เขาโฆษณา หรือคนรู้จักแนะนำว่าใช้แล้วดี ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
305
กันยายน 2547
อยากฉลาดจะทำอย่างไร (ตอนที่ 3)"สวัสดีจ๊ะ หนูๆ วันนี้มากันพร้อมหน้าพร้อมตาทีเดียวนะ ติดใจเรื่องเล่าของป้าใช่ไหมล่ะ ความจริงป้าควรจะถามหนูๆ นะว่า อยากฟังเรื่องอะไรกันบ้าง ป้าก็เอาแต่เล่าท่าเดียว เอาอย่างนี้นะจบคราวนี้แล้ว ป้าจะให้พวกหลานๆ ช่วยกันเสนอนะจ๊ะ ว่าอยากฟังเรื่องอะไรป้าก็จะไปค้นคว้าหามาเล่าให้ฟัง แต่วันนี้ต้องเล่าต่อจากเมื่อวานก่อน เพราะว่าเล่าไว้ค้างครึ่งๆ กลางๆ มันก็ไม่ดี หนูๆ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
304
สิงหาคม 2547
อยากฉลาดจะทำอย่างไร(ตอนที่ 2)"สวัสดีลูกๆ เอ้า น้องเดือนจ๋า เล่าให้เพื่อนๆ ฟังหน่อยได้ไหมจ้ะว่า การบ้านที่ป้าให้ไปคิดน่ะ หนูได้คำตอบว่าอย่างไร หนูเรียนรู้วิธีกวาดบ้านได้อย่างไร...เก่งมากจ้ะ...ที่น้องเดือนเล่าว่า ตอนแรกๆ หนูก็ถือไม้กวาดไม่เป็นเลยใช่ไหม แต่หนูช่างสังเกต คอยมองดูว่าคุณพ่อคุณแม่จับไม้กวาดอย่างไร แล้วหนูก็ลองหัดทำดู...จ้ะ สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ก็คือ การสังเกต ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
301
พฤษภาคม 2547
ไอคิว2 ตอน...ไอคิวบอกอะไรจ๊ะพญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณสวัสดีจ้ะ ลูกๆ เอ้าวันนี้ช่วยคุณพ่อคุณแม่ทำงานบ้าน และทำการบ้านเสร็จหมดทุกคนแล้วใช่ไหม เอานั่งเรียงกันเข้ามาฟังเรื่อง ไอคิว ต่อจากเมื่อวานนะจ้ะ อ้อ แต่ก่อนที่จะคุยกันต่อ ลูกๆ อาจจะสงสัยว่า เรื่องนี้มันสำคัญอย่างไร ลูกๆ คงจะเห็นว่าประเทศไทยเรายังมีปัญหาอีกมากมายซึ่งต้องการรวมพลังกันแก้ไขจะแก้ไขได้ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
300
เมษายน 2547
ไอคิว ๑ ตอน...ไอคิวอะไรหนอ"คุณป้าขา คุณป้าขา หนูไม่ยอม คุณหมออะไรไม่รู้ว่าพวกหนูไอคิวต่ำ มันแปลว่าอะไรหรือคะ คุณป้าขา ช่วยเฉลยให้หนูฟังหน่อย""เดี๋ยวสิลูก ใจเย็นๆ ความจริงป้าก็รู้จักอาจารย์หมอที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กนะคะ คุณหมอนิชรา เรืองดารกานนท์ ท่านทำงาน อยู่ที่หน่วยพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นสาวไฟแรงเชียวล่ะ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
299
มีนาคม 2547
จิตวิญญาณเพื่อสุขภาวะ ๒"ที่เป็นอยู่ และเป็นไป"ตอนที่แล้วค้างกันไว้เรื่อง "ที่มาของจิตวิญญาณ" ขอย้อนเพื่อให้ต่อติดกับตอนนี้ สรุปก็คือ คนแต่ละคนเกิดมากับแก่นแท้ติดตัวมาแต่อยู่ในท้องแม่ ค่อยๆ เติบโตผ่านขั้นตอนกระบวนพัฒนาการมาคล้ายกัน เมื่อแก่นแท้ปะทะเข้ากับข้อจำกัดของโลกภายนอก กรอบทางสังคมวัฒนธรรม และวิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
273
มกราคม 2545
พ่อแม่ที่มีลูกเล็ก ๆ ทุกคนคงจะได้สัมผัสความสุขจากการที่ได้โอบอุ้มเลี้ยงดูลูกที่ไร้เดียงสา ช่างน่ารักน่าชัง โดยเฉพาะในขวบปีแรกได้เฝ้ามองการเจริญเติบโตของเขาทีละเล็กละน้อย บางช่วงเวลาลูกก็ทำอะไร ๆ น่ารัก ๆ ให้หัวเราะ อิ่มเอิบในความเป็นพ่อเป็นแม่.....แล้ววันหนึ่ง...เหมือนฟ้าผ่าลงมากลางใจ ด้วยเหตุบางประการ ...