-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
119
มีนาคม 2532
ถ้ามีผู้ใดมาทักทายเราแล้วบอกว่าเราดูยังหนุ่มยังสาว แถมยังบอกตัวเลขอายุของเราต่ำกว่าความเป็นจริงตั้ง 5-10 ปี เราคงยิ้มระรื่นสุขอารมณ์แน่ ๆ แต่ถ้าเผอิญผู้นั้นบอกตัวเลขที่สูงกว่าความเป็นจริง คงจะทำให้เราหงุดหงิดฉุนเฉียวทันทีลองสังเกตดูระหว่างผู้ที่ถูกทักว่าอายุยังน้อยกว่ากับผู้ที่ถูกทักว่าอายุมากกว่า สิ่งหนึ่งที่มักพบในกลุ่มแรก คือ ใบหน้าที่มีรอยยิ้ม และอุปนิสัยที่ร่าเริง ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
118
กุมภาพันธ์ 2532
การที่จะติดสินว่าใครแก่เหนือไม่ นั้นมีหลายวิธี เช่น ประเมินสมรรถภาพในการออกกำลังกายว่าอัตราการเต้นของหัวใจหรือจำนวนครั้งของการหายใจ กำลังกล้ามเนื้อ การคล่องตัวของข้อต่อเป็นอย่างไร แต่วิธีหนึ่งที่ทราบกันดีในมนุษย์ คือ การสังเกตดูรอยย่นบนหน้า ซึ่งยากที่จะปิดบังอยู่ในร่มผ้าได้ นอกจากในแถบประเทศทางอาหรับที่มีสภาพอากาศและกฎข้อบังคับทางศาสนาทำให้บุรุษและสตรี ต้องเอาผ้าคลุมใบหน้าไว้ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
117
มกราคม 2532
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และคงจากปัจจุบันถึงอนาคต มนุษย์มักไม่ยอมรับว่าความแก่ได้เกิดขึ้นกับตัวเอง ยิ่งเศรษฐฐานะและตำแหน่งหน้าที่ทางสังคมสูงมากเท่าใด การยอมรับรู้สึกจะยิ่งยากขึ้น ตั้งแต่สมัยจักรพรรดิจีนซึ่งสร้างกำแพงเมืองจีน อันเกรียวกราวก็ยังกลัวความแก่มากถึงกับส่งชายหญิงอย่างละ 3,000 คนไปหายาอายุวัฒนะ และชายหญิงเหล่านี้ได้เป็นบรรพบุรุษของประเทศญี่ปุ่นตามพงศาวดารจีนปัจจุบันในประเทศเรา ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
116
ธันวาคม 2531
คำพังเพยที่กล่าวว่า “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” ทำให้หลายท่านโดยเฉพาะสุภาพสตรีทั้ง หลายที่ขาดความเชื่อมั่นในรูปร่างหน้าตา และบุคลิกภาพของตนเอง พยายามหาสิ่งปรุงแต่งตั้งแต่ศีรษะ จรดเท้าทีเดียวเริ่มตั้งแต่ทรงผม มีการไว้ผมยาว ซอยผมสั้น ดัดให้หยิก ยืดให้ตรง (ถ้าหยิกอยู่แล้ว) รวมทั้งทรงผมลักษณะต่าง ๆ ตามชื่อที่เลือกสรรมา ตั้งแต่หงส์เหิน มาจนถึงพั๊งก์ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
115
พฤศจิกายน 2531
ถ้ามองดูเผิน ๆ ความเชื่อมั่นในตนเองไม่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพท่าทางในชีวิตประจำวันเลย แต่มักพบเห็นการแสดงออกหลายอย่างที่แสดงถึงความไม่มั่นใจ ความหวาดกลัวหรือไม่รู้ว่าจะวางตัวอย่างไรในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมประชุม การร่วมในงานเลี้ยงสังสรรค์ หรือการเข้าพบเพื่อติดต่องาน ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการแสดงออกบทเวทีเมื่อถูกเชิญขึ้นไปพูดท่ามกลางผู้คนจำนวนมากเราจะเห็นว่า ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
114
ตุลาคม 2531
บุคลิกภาพสามารถแสดงออกได้หลายรูปแบบ ทั้งทางกายและทางวาจา การแสดงบุคลิกภาพที่ดีทางกายนั้น เกี่ยวข้องกับท่าทางต่าง ๆ ตั้งแต่ท่านอน ท่านั่ง ท่ายืน และท่าทำงานเรามักพบว่าผู้ที่หมดหวัง ผิดหวัง หรือมีอาการซึมเศร้า ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
113
กันยายน 2531
ปัจจุบัน ปัญหาหลังเบี้ยวในวัยหนุ่มสาวได้ทวีความรุนแรงขึ้น อย่างน่าตกใจ จากการสำรวจตามโรงเรียนประถมและมัธยม พบว่ามีนักเรียนหลังเบี้ยวเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 10 และส่วนใหญ่จะเป็นเด็กหญิงที่มีอายุ 17 ปีขึ้นไปและมาด้วยอาการปวดหลังบางรายก็มาด้วยความไม่สบายใจ เพราะช่างตัดเสื้อหรือตนเองพบว่าไหล่ทั้ง 2 ข้างไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกัน ด้านหลังมีส่วนนูนขึ้นข้างหนึ่ง ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
112
สิงหาคม 2531
อิริยาบถ คือ อาการเคลื่อนไหว เช่น นั่ง เดิน ยืน วิ่ง ทำงาน รวมทั้งการนอนด้วย คุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่งคือ การเคลื่อนไหว ดังนั้น ไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน ตื่นหรือนอนหลับ มนุษย์ย่อมจะต้องเคลื่อนไหวอยู่เสมอการเคลื่อนไหวเริ่มตั้งแต่ก่อนปฏิสนธิ จากตัวเชื้ออสุจิของฝ่ายชาย วิ่งเข้าสู่ไข่ที่เคลื่อนลงมาจากปีกมดลูก เมื่อเริ่มแบ่งตัวจนก่อเป็นรูป เป็นร่างมนุษย์แล้ว ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
111
กรกฎาคม 2531
การที่มนุษย์สามารถเคลื่อนไหว จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง บนเท้าทั้ง 2 ด้วยการเดินหรือการวิ่ง เป็นลักษณะเด่นที่ไม่มีสัตว์อื่นเทียบได้ ถึงกระนั้นเพื่อความรวดเร็วในการแข่งกับเวลา มนุษย์ได้คิดค้นพาหนะต่าง ๆ มากมายหลายชนิด บนบกมีตั้งแต่ขี่ช้าง ม้า จักรยาน รถเครื่อง (จักรยานยนต์) รถยนต์ รถไฟ บนน้ำมีเรือชนิดต่าง ๆ และบนฟ้ามี เครื่องบิน จรวดหรือดาวเทียมอิริยาบถบนยานพาหนะส่วนใหญ่คือ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
107
มีนาคม 2531
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เมื่อมนุษย์รู้สึกง่วงนอน ก็เอนตัวลงบนพื้นดินและนอนหลับไป ต่อมามนุษย์รู้สึกว่าถ้าเอาแขนวางใต้ศีรษะในท่านอนตะแคง โดยเฉพาะนอนตะแคงขวา การนอนหลับจะง่ายและสนิทยิ่งขึ้น จึงหาขอนไม้มาวางใต้ศีรษะ ต่อมาพัฒนาขอนไม้มาเป็นเครื่องเคลือบดินเผา ดังเช่นหมอนสี่เหลี่ยมที่คนสมัยก่อนชอบนอนหนุนกันแต่เมื่อวัฒนธรรมทางยุโรปแผ่เข้ามาในภูมิภาคแถบนี้ ...