Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » ข้อมูลโรคและการรักษา » โรคลมจากความร้อน

โรคลมจากความร้อน

  • อาการ
  • สาเหตุ
  • การรักษา
  • การดูแลตนเอง
  • อื่นๆ

ปกติคนเรามีกลไกในการปรับอุณหภูมิของร่างกาย ให้อยู่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส (98.6 องศาฟาเรนไฮต์) อยู่ตลอดเวลา ถ้าร่างกายมีการสะสมความ ร้อนมาก เช่น การเผาผลาญอาหาร การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อร่างกายก็จะกำจัดความร้อนออกจากร่างกายโดย การแผ่รังสีคือ การกระจายความร้อนออกจากร่างกายไปยังอากาศที่อยู่รอบๆ ร่างกายซึ่งเย็นกว่า แต่ถ้าอากาศภายนอกร้อนเกิน 35 องศาเซลเซียส หรือร้อนกว่าอุณหภูมิของร่างกาย ร่างกายก็ไม่สามารถแผ่รังสีความร้อนออกไปข้างนอก

นอกจากนี้ ร่างกายยังสามารถระบายความร้อนออกทางเหงื่อ ซึ่งเป็นกลไกที่เกิดขึ้นเมื่ออากาศภายนอกร้อนกว่าภายในร่างกาย หรือขณะออกกำลังกาย แต่ถ้าอากาศภายนอกมีความชื้นสูง ก็จะทำให้ความสามารถในการระบายความร้อนออกทางเหงื่อนั้นด้อยลงไป ดังนั้น การกำจัดความร้อนของร่างกายจะเป็นไปได้ยาก เมื่ออยู่ในอากาศที่ร้อนและชื้น

โรคลมจากความร้อน อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังนี้

  1. เกิดจากการเผชิญกับอากาศร้อน เช่น การเกิดคลื่นความร้อนมากกว่า 39.2 องศาเซลเซียส (102.5 องศาฟาเรนไฮต์) ติดต่อกันตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลมจากความร้อน ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี คนอ้วน จากสาเหตุนี้ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง (เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคคอพอกเป็นพิษ โรคพาร์กินสัน เป็นต้น) รวมทั้งผู้ที่กินยาบางชนิดที่ขัดขวางกลไกการกำจัดความร้อนออกจากร่างกาย (เช่น ยารักษาโรคจิต ยาแก้แพ้ ยา ที่ออกฤทธิ์แอนติโคลิ-เนอร์จิก) ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเสพยาโคเคน หรือแอมเฟตามีน (ยาบ้า) ถ้ากลุ่มคนที่มีความเสี่ยงเหล่านี้อยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศหรือการ ถ่ายเทอากาศไม่สะดวก
  2. เกิดจากการออกกำลังกายหรือทำงานใช้แรงกายอย่างหนัก ท่ามกลางอากาศที่ร้อนและชื้น หรือในห้องที่ร้อนและปิดมิดชิด ทำให้ร่างกายสร้างความร้อนมากเกินกว่าที่สามารถกำจัดออกไปได้ สาเหตุที่มักพบในคนหนุ่มสาวที่มีร่างกายแข็งแรง เช่น นักกีฬา นักวิ่งไกล คนงาน ทหาร เป็นต้น

สาเหตุดังกล่าวทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดความร้อน เป็นเหตุให้มีอุณหภูมิแกนของร่างกาย (โดยการวัดทางทวารหนัก) ขึ้นสูงเกิน 41 องศาเซลเซียส (106 องศาฟาเรนไฮต์) ความร้อนจะทำให้อวัยวะต่างๆ ถูกทำลายจนทำหน้าที่ผิดเพี้ยนไป และเกิดปฏิกิริยาการอักเสบของร่างกาย ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรงขึ้นได้

  • อ่าน 6,150 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

337-008
นิตยสารหมอชาวบ้าน 337
พฤษภาคม 2007
สารานุกรมทันโรค
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa