โรคลมจากความร้อน
แพทย์ที่โรงพยาบาลจะรีบทำการแก้ไขภาวะฉุกเฉิน (เช่น ให้ออกซิเจน ใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้น้ำเกลือ เป็นต้น) และรีบหาวิธีลดอุณหภูมิร่างกาย (เช่น ถอดเสื้อผ้าออก ใช้น้ำก๊อกธรรมดาพ่นตามตัว ใช้พัดลมขนาดใหญ่เป่า วางน้ำแข็งตามซอกคอ รักแร้และขาหนีบ จนกว่าอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส) รวมทั้งแก้ไขภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
แพทย์จะหลีกเลี่ยงการให้ยาลดไข้ นอกจากไม่มีประโยชน์แล้ว ยังอาจก่อผลข้างเคียง เช่น แอสไพรินอาจ ทำให้เลือดออกง่ายขึ้น พาราเซตามอล อาจมีพิษต่อตับ
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้ จากอาการไข้สูงร่วมกับอาการทางสมอง และมีประวัติการเผชิญคลื่นความร้อน หรือออกกำลังในที่ที่อากาศร้อน หรือติดอยู่ในรถยนต์ที่อยู่กลางแดด และอาจต้องทำการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ปอด เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง เพื่อการวินิจฉัยโรคและภาวะแทรกซ้อน
- อ่าน 6,665 ครั้ง
พิมพ์หน้านี้