Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » ข้อมูลโรคและการรักษา » หืด

หืด

  • อาการ
  • สาเหตุ
  • การรักษา
  • การดูแลตนเอง
  • อื่นๆ

แพทย์จะให้การรักษาตามความรุนแรงของโรค ดังนี้

  1. ถ้ามีอาการเล็กน้อย (มีอาการหอบตอนกลางวัน สัปดาห์ละ 2 ครั้งหรือน้อยกว่า ไม่มีอาการหอบตอนกลางคืน และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ) แพทย์จะให้ยาบรรเทาอาการ ได้แก่ ยากระตุ้นบีตา 2 ชนิดออกฤทธิ์สั้นชนิดสูด เฉพาะเวลามีอาการหอบเหนื่อย
  2. ถ้ามีอาการรุนแรงปานกลาง (มีอาการหอบตอนกลางวันมากกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือมีอาการหอบตอนกลางคืน หรือทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้น้อยลง) แพทย์จะให้ยาควบคุมโรค ได้แก่ ยาสตีรอยด์ชนิดสูด ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดการอักเสบและการบวมของผนังหลอดลม ทุกวันต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน และจะให้ยาบรรเทาอาการให้ผู้ป่วยพกประจำเพื่อใช้สูดเมื่อมีอาการหอบเหนื่อย

    ในรายที่ยังมีอาการกำเริบบ่อย แพทย์อาจให้ยาควบคุมโรคชนิดอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ยากระตุ้นบีตา 2 ชนิดฤทธิ์นานชนิดกิน ทีโอฟิลลีนออกฤทธิ์นานชนิดกิน ยาต้านลิงโคทรีนชนิดกิน เป็นต้น
  3. ถ้ามีอาการหอบรุนแรง (ซี่โครง บุ๋ม ปากเขียว มีอาการสับสน ซึม หรือพูดไม่เป็นประโยค) หรือมีอาการหอบต่อเนื่องมานานหลายชั่วโมง หรือมีภาวะขาดน้ำร่วมด้วย แพทย์มักจะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยปรับเปลี่ยนการใช้ยาให้เหมาะสม ให้ออกซิเจนและน้ำเกลือ บางรายอาจต้องใส่ท่อหายใจและเครื่องช่วยหายใจ จนกว่าจะทุเลาดี จึงจะให้ยาไปรักษาต่อที่บ้าน

นอกจากนี้ อาจต้องให้การรักษาโรคที่พบร่วม เช่น หวัดภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ โรคกรดไหลย้อน เป็นต้น

ผู้ป่วยทุกราย แพทย์จะนัดมาติดตามดูอาการประมาณทุก 1-3 เดือน (2-4 สัปดาห์ในรายที่เป็นรุนแรง) และทำการตรวจสมรรถภาพของปอดเป็นระยะๆ

การวินิจฉัย

แพทย์มักจะวินิจฉัยจากประวัติการเป็นโรคหืด โรคภูมิแพ้อื่นๆ มาก่อน หรือมีญาติพี่น้องเป็นโรคเหล่านี้ร่วมด้วย และจากการตรวจร่างกาย มักพบมีเสียงหายใจดังวี้ดกระจายทั่วไปที่ปอด 2 ข้าง

ในรายที่ไม่แน่ใจ อาจทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นหัวใจ ตรวจสมรรถภาพของปอด ทดสอบว่าแพ้สารอะไร เป็นต้น

  • อ่าน 6,466 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

356-010
นิตยสารหมอชาวบ้าน 356
ธันวาคม 2008
สารานุกรมทันโรค
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa