Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » ข้อมูลโรคและการรักษา » หืด

หืด

  • อาการ
  • สาเหตุ
  • การรักษา
  • การดูแลตนเอง
  • อื่นๆ

หากมีอาการสงสัยว่าเป็นโรคหืด (เช่น ไอเรื้อรัง หายใจหอบเหนื่อย) ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่แน่ชัด

เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคหืด ควรปฏิบัติดังนี้

  • ติดตาม รักษากับแพทย์เป็นประจำ และตรวจสมรรถภาพของปอดเป็นระยะ เรียนรู้วิธีใช้ยาให้ถูกต้องและใช้ยาตามขนาดที่แพทย์แนะนำ อย่าลดละยาตามอำเภอใจ หรือเลิกไปพบแพทย์ แม้ว่าจะรู้สึกสบายดีแล้วก็ตาม
  • ควรพกยาบรรเทาอาการติดตัวไปเป็นประจำ หากมีอาการกำเริบให้รีบสูดยา 2-4 ครั้งทันที ถ้าไม่ทุเลาอาจสูดซ้ำทุก 20 นาที อีก 1-2 ครั้ง แต่ถ้าไม่ได้ผล ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว อย่าปล่อยให้หอบนาน อาจเป็นอันตรายได้
  • ควรดื่มน้ำอุ่นมากๆ อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะที่ไอมีเสมหะเหนียว หรือมีอาการหอบเหนื่อย
  • ทุกครั้งที่สูดยาสตีรอยด์ที่แพทย์สั่งใช้ ควรบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ยาตกค้างที่คอหอย ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเชื้อราในช่องปาก
  • อย่าซื้อยาชุด หรือยาลูกกลอนมาใช้เอง เพราะยาเหล่านี้มักมีสตีรอยด์ผสม แม้ว่าอาจจะใช้ได้ผล แต่ต้องใช้เป็นประจำ ทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงตามมาได้ ถ้าเคยใช้ยาเหล่านี้มานานแล้ว ห้ามหยุดยาทันที อาจทำให้อาการหอบกำเริบรุนแรง หรือเกิดภาวะช็อกจากการขาดยาเป็นอันตรายได้ ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อหาทางค่อย ๆ ปรับลดยาลงอย่างปลอดภัย
  • ฝึกหายใจเข้าออกลึกๆ เป็นประจำ โดยการเป่าลมออกทางปาก ให้ลมในปอดออกให้มากที่สุด
  • ควรสังเกตว่ามีสาเหตุกระตุ้นจากอะไร แล้วหลีกเลี่ยงเสีย (ดูหัวข้อ "การป้องกัน")

การป้องกัน

สำหรับผู้ป่วยโรคหืด อาจป้องกันไม่ให้มีอาการหอบหืดกำเริบโดยการปฏิบัติดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้และสิ่งระคายเคือง ทั้งในบ้าน ที่ทำงาน และสิ่งแวดล้อม ควรสังเกตว่ามักมีอาการกำเริบในเวลาใด สถานที่ใด และหลังสัมผัสถูกอะไร เช่น
    • กำจัดไรฝุ่นบ้าน โดยการหลีกเลี่ยงการใช้ที่นอน หมอน ผ้าห่ม เฟอร์นิเจอร์ และของเล่นที่ทำด้วยนุ่น หรือเป็นขนๆ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรห่อหุ้มด้วยวัสดุกันไรฝุ่น
    • ซักผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งด้วยน้ำอุ่น มากกว่า 55 องศาเซลเซียส
    • ไม่ควรปูพรมตามพื้นห้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในห้องนอน ถ้ายังปูพรมควรใช้เสื่อน้ำมันปูทับให้ทั่ว ให้ขอบชิดผนังห้องทุกด้าน
    • หลีกเลี่ยงการเล่นคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยง (เช่น สุนัข แมว หนู นก) ถ้าเลี้ยงสัตว์เลี้ยงควรให้อยู่นอกบ้าน อย่านำเข้ามาในบ้านและห้องนอน และควรจับอาบน้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
    • กำจัดแมลงสาบในบ้านโดยใช้กับดัก ถ้าใช้ยาฉีดพ่น อย่าให้ผู้ป่วยอยู่ในบ้าน เพราะยาฉีดพ่นอาจกระตุ้นให้หอบได้ ควรเก็บเศษอาหารไว้ในถุงที่มิดชิด อย่าให้แมลงสาบตอม
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อรา โดยการทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องครัว อย่าให้มีน้ำขัง ใช้พัดลมดูดอากาศ และทำให้มีการถ่ายเทอากาศได้ดี หลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่อับชื้อ (เช่น ห้องใต้ดิน) และพุ่มไม้ ไม่ปลูกต้นไม้ภายในบ้าน ไม่ใช้วอลเปเปอร์และพรมในห้องน้ำ
    • ช่วงที่มีละอองเกสรมาก หรือตัดหญ้า ควรหลบเข้ามาอยู่ในบ้าน และปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด ควรใช้เครื่องปรับอากาศ และล้างไส้กรองเดือนละครั้ง
    • ถ้าจำเป็นต้อง ออกนอกบ้าน ควรให้ผู้ป่วยกินยาแก้แพ้ก่อนออกนอกบ้าน และหลังจากกลับเข้าบ้านควรอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที อย่าตากเสื้อผ้าในที่กลางแจ้ง
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การสูดควันบุหรี่ และควันต่างๆ ควรห้ามบุคคลในบ้านสูบบุหรี่ ห้ามใช้ฟืนในการหุงต้มและผิงไฟ
    • หลีกเลี่ยงการดมกลิ่นสี น้ำหอม สเปรย์ กาว น้ำยาฆ่าเชื้อ สารเคมี เป็นต้น
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นและสารเคมีในโรงงานหรือที่ทำงาน โดยจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย และใช้อุปกรณ์ป้องกัน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้และทำให้หอบบ่อย ควรย้ายสถานที่ทำงานหรือเปลี่ยนงานที่ไม่ต้องสัมผัสกับสาเหตุกระตุ้น
  2. ควรออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เป็นต้น แต่ระวังอย่าให้หักโหมหรือเหนื่อยเกินไป ควรเตรียมยาขยายหลอดลมชนิดสูดไว้พร้อม ถ้าเคยมีอาการหอบหืดจากการออกกำลังกาย ควรใช้ยาสูดก่อนออกกำลัง 15-20 นาที และถ้ามีอาการกำเริบระหว่างออกกำลังกาย ควรหยุดพัก และใช้ยาสูด จนกว่าอาการทุเลาแล้วค่อยเริ่มออกกำลังใหม่
  3. หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ และยาลดความดันกลุ่มปิดกั้นบีตา เวลาพบพบแพทย์ด้วยโรคอื่น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าเป็นโรคหืดอยู่ เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงการใช้ยาเหล่านี้
  4. ควรหาทางป้องกันหรือผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย (โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการฝึกโยคะ การรำมวยจีน) ทำงานอดิเรก (เช่น การปลูกต้นไม้ วาดภาพ เล่นดนตรี ฟังเพลง) สวดมนต์ ไหว้พระ ฝึกสมาธิ เจริญสติ เป็นต้น
  5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ บำรุงร่างกายด้วยอาหารสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกินผักและผลไม้ให้มากๆ ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เป็นไข้หวัดและโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจ และควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
  • อ่าน 6,463 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

356-010
นิตยสารหมอชาวบ้าน 356
ธันวาคม 2008
สารานุกรมทันโรค
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa