บรูเซลโลซิส โรคติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยง
ที่สำคัญ คือการให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อบรูเซลลา แพทย์มักจะให้ยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 2 ชนิดร่วมกัน เช่น ดอกซีไซคลีน (doxycycline) วันละ 200 มก. ร่วมกับไรแฟมพิซิน (rifampicin) วันละ 600-900 มก. นาน 6 สัปดาห์ (สำหรับเด็ก แพทย์จะให้โคไตรม็อกซาโซลร่วมกับไรแฟมพิซิน หรืออะมิโนไกลโคไซด์) ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ อาจต้องให้ยาปฏิชีวนะร่วมกัน 3-4 ชนิด และให้นานกว่า 6 สัปดาห์ ในรายที่เป็นฝีตับ อาจต้องทำการระบายเอาหนองออก ในรายที่มีภาวะผิดปกติของลิ้นหัวใจอาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ผลการรักษานับว่าได้ผลดี แต่ถ้ากินยาไม่สม่ำเสมอ หรือหยุดยาก่อนกำหนดเวลา ก็อาจมีอาการกำเริบซ้ำได้อีก ในรายที่มีเยื่อบุหัวใจอักเสบร่วมด้วย มักมีอัตราตายค่อนข้างสูง ในรายที่ไม่ได้รับการรักษา มีอัตราตายโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 2
การวินิจฉัย
หากสงสัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีไข้เรื้อรัง (เป็นสัปดาห์ถึงเป็นแรมปี) น้ำหนักลด ข้ออักเสบ อัณฑะอักเสบ หรือมีอาการติดเชื้อของอวัยวะหลายแห่ง และมีประวัติทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง หรือกินเนื้อสัตว์ หรือดื่มนมที่ติดเชื้อ (เช่น นมแพะ) ควรส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการทดสอบทางน้ำเหลือง (agglutination test, enzyme linked immunoassay) การตรวจด้วยวิธี polymerase chain reaction (PCR) การเพาะเชื้อจากเลือด ไขกระดูก น้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด (pleural fluid) น้ำในข้อ (synovial fluid) การตรวจเลือดมักพบเม็ดเลือดขาวต่ำ (โดยมีสัดส่วนของลิมโฟไซต์สูง) เกล็ดเลือดต่ำ เอนไซม์ตับ (AST, ALT) สูงเล็กน้อย บางรายอาจต้องตรวจชิ้นเนื้อตับ (liver biopsy) เอกซเรย์ปอด และกระดูกสันหลัง
- อ่าน 13,961 ครั้ง
พิมพ์หน้านี้