ท้องเดิน (ท้องร่วง ท้องเสีย)
ก. ในผู้ใหญ่และเด็กโต
-
ถ้าปวดท้องรุนแรง, ถ่ายท้องรุนแรง (อุจจาระเป็นน้ำครั้งละมากๆ), อาเจียนรุนแรง (จนดื่มน้ำ เกลือหรือน้ำข้าวต้มไม่ได้), เมื่อลุกขึ้นนั่งมีอาการหน้ามืดเป็นลม, หรือมีภาวะขาดน้ำรุนแรง (ปากแห้ง คอแห้ง ตาโบ๋ ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเต้นเร็ว) ต้องไปหาหมอโดยเร็ว.
-
ถ้าไม่มีอาการดังข้อ 1 ให้ปฏิบัติดังนี้
- ดื่ม น้ำเกลือ, น้ำข้าวต้มใส่เกลือ หรือน้ำอัดลมใส่เกลือให้เค็มปะแล่มๆ (ใส่เกลือครึ่งช้อนชาในน้ำข้าวหรือน้ำอัดลม 1 ขวดกลม ขนาดขวด “แม่โขง”). พยายามดื่มบ่อยๆ ครั้งละ 1/3-1/2 แก้ว (อย่าดื่มมากจนอาเจียน) ให้ได้มากพอกับที่ถ่ายออกไป โดยสังเกตปัสสาวะให้ออกมากและใส.
- ถ้ามีไข้ ให้ยาลดไข้-พาราเซตามอล.
- ถ้าอุจจาระมีมูกหรือมูกเลือดปน ให้ดูเรื่อง “ถ่ายเป็นมูกเลือด”.
- ให้กินอาหารอ่อน (เช่น ข้าวต้ม) งดอาหารรสจัดและย่อยยากจนกว่าอาการจะหาย.
- ถ้าไม่ดีขึ้นใน 48 ชั่วโมง หรือมีอาการอาเจียน หรือดื่มน้ำเกลือไม่ได้ หรือได้ไม่มากพอ กับที่ถ่ายออกไป ควรไปหาหมอ.ห้ามกินยาเพื่อให้หยุดถ่ายอุจจาระ.
-
ถ้าไม่มีอาการดังข้อ 1 ให้ปฏิบัติดังนี้
การป้องกัน เช่นเดียวกับ ไข้ไทฟอยด์ ข้อ 1.
ข. ในเด็กเล็ก
- ถ้าดื่มนมแม่อยู่ ให้ดื่มนมแม่ต่อไป (ถ้าดื่มนมผสมอยู่ ให้ชงเจือจางเท่าตัวและดื่มนมต่อไป) และดื่ม น้ำเกลือชาวบ้าน, หรือน้ำข้าวต้มใส่เกลือเพิ่มเติม. เมื่ออาการดีขึ้น ให้กินอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย (เช่น ข้าวต้ม). ไม่ต้องให้ยาที่ใช้แก้ท้องเดินชนิดใดทั้งสิ้น.
- ถ้าถ่ายท้องรุนแรง, อาเจียนรุนแรง, ดื่มนมหรือน้ำไม่ได้, ซึม, กระสับกระส่าย, ตาโบ๋, กระหม่อม บุ๋มมาก (ในเด็กเล็ก), หายใจหอบแรง, หรืออาการไม่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมง ต้องไปหาหมอโดยเร็ว.
การป้องกัน ระวังความสะอาดเกี่ยวกับอาหารและน้ำดื่ม, รวมทั้งขวดนม ควรฆ่าเชื้อโดยการต้มในน้ำเดือดนาน 15-20 นาที.
- อ่าน 12,559 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้