Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » ข้อมูลโรคและการรักษา » วัณโรคปอด

วัณโรคปอด

  • อาการ
  • สาเหตุ
  • การรักษา
  • การดูแลตนเอง
  • อื่นๆ
  1. เมื่อมีอาการที่สงสัยจะเป็นวัณโรคปอด ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ ถ้าตรวจพบว่าเป็นโรคนี้จริงก็ควรปฏิบัติตัวดังนี้
    • ควรไปพบแพทย์ตามนัด และกินยาให้ครบทุกวันตามที่แพทย์กำหนด
    • พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
    • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารพวกโปรตีน (เนื้อ นม ไข่ ถั่วต่างๆ)
    • งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และยาเสพติด
    • จัดบ้านและห้องนอนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและแสงแดดส่องถึง
    • เวลาไอหรือจาม ควรใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูปิดปาก
    • ควรบ้วนเสมหะลงในภาชนะหรือกระป๋องที่มีฝาปิดสนิทมิดชิด แล้วนำเสมหะไปเผาไฟหรือฝังดิน
    • ควรแยกออกห่างจากผู้อื่น เช่น แยกห้องนอน อย่าอยู่ใกล้ชิดกับคนอื่น อย่าเข้าไปในห้างสรรพสินค้า รถโดยสารสาธารณะ สถานบันเทิง ที่ชุมนุมชน และควรแยกถ้วย ชาม สำรับอาหารและเครื่องใช้ออกต่างหาก จนกว่าจะกินยารักษาวัณโรคทุกวันแล้วอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และหายไอแล้ว ระหว่างนี้หากจำเป็นต้องเข้าใกล้คนอื่นหรือเข้าไปในที่ชุมนุมชน ควรใช้หน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก
    • สำหรับแม่ที่เป็นวัณโรคปอด ควรแยกออกห่างจากลูก อย่ากอดจูบลูก และไม่ให้ลูกดูดนมตัวเอง จนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อแล้ว
    • ผู้ป่วยที่ต้องทำงานกับกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยเอดส์ เด็กเล็ก ควรอยู่แยกออกห่างจากคนเหล่านี้ จนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อแล้ว
    • ควรสังเกตอาการข้างเคียงจากยา เช่น ผื่นคัน คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ดีซ่าน (ตาเหลือง) ตามัว หูอื้อ มีไข้ขึ้น ฯลฯ หากสงสัยควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด
  2. ถ้ามีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอด ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจดูว่ามีการติดเชื้อวัณโรคหรือเป็นโรคนี้หรือยัง แพทย์จะได้หาทางรักษาหรือป้องกันโรคนี้

การป้องกัน

  1. ฉีดวัคซีนบีซีจี (BCG) ซึ่งนิยมฉีดให้ทารกตั้งแต่แรกเกิด วัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิผลในการป้องกันวัณโรคชนิดรุนแรง ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรค วัณโรคชนิดแพร่กระจาย ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กเล็ก แต่อาจป้องกันวัณโรคปอดไม่ได้เต็มที่ ผู้ที่เคยฉีดบีซีจีมาแล้วก็ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคปอด
  2. คนทั่วไปควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ ละเว้นจากการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์จัด และการใช้ยาเสพติด หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์
  3. เมื่อมีผู้ป่วยอยู่ในบ้านเดียวกัน ควรกำชับให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ (ดูหัวข้อ “การดูแลตนเอง ”) ช่วงที่ผู้ป่วยกินยารักษาวัณโรคไม่ถึง 2 สัปดาห์ หรือยังไม่หายไอ ควรหลีกเลี่ยงการนอนอยู่ห้องเดียวกับผู้ป่วย ถ้าจำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  4. ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ แม้ว่ารู้สึกสบายดีก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการทดสอบทูเบอร์คูลิน (สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ควรทำการทดสอบทุก 6 เดือน) ถ้าพบว่าให้ผลบวกซึ่งแสดงว่าเป็นผู้ติดเชื้อวัณโรค แพทย์จะพิจารณาให้กินไอเอ็นเอชป้องกัน ขนาด 300 มก./วัน (เด็ก 10 มก./กก./วัน) วันละครั้ง นาน 9–12 เดือน

ตัวอย่างผู้ที่ควรกินไอเอ็นเอชป้องกัน เช่น

  • ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคระยะติดต่อ ผู้ที่พบรอยโรคในปอดจากภาพถ่ายรังสี ซึ่งมีผลการทดสอบทูเบอร์คูลินขนาด 5 มม. ควรกินยาป้องกันนานอย่างน้อย 12 เดือน
  • เด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบ ผู้ที่ฉีดยาเสพติดหรือติดแอลกอฮอล์ ผู้ป่วยเบาหวาน ไตวายเรื้อรัง มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง (เช่น นักโทษในเรือนจำ ผู้สูงอายุในสถานพักฟื้น บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล เป็นต้น) ซึ่งมีการทดสอบ ทูเบอร์คูลินขนาด 10 มม.
  • บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งมีผลการทดสอบทูเบอร์คูลินขนาด 15 มม.
  • อ่าน 44,901 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

380-034
นิตยสารหมอชาวบ้าน 380
ธันวาคม 2010
สารานุกรมทันโรค
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa