Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » ข้อมูลโรคและการรักษา » เบาหวาน

เบาหวาน

  • อาการ
  • สาเหตุ
  • การรักษา
  • การดูแลตนเอง
  • อื่นๆ

1. ส่วนใหญ่เป็นความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (สายเลือด) มักมีพ่อแม่พี่น้องเป็นเบาหวานร่วมด้วย และอาจเป็นกันหลายคนในครอบครัวเดียวกัน (ได้ชื่อว่า "ครอบครัวเบาหวาน") สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • เบาหวานชนิดที่ 1 เป็นเบาหวานชนิดรุนแรง พบเป็นได้ตั้งแต่วัยเด็กและในคนอายุต่ำกว่า 20 ปี โดยที่ไม่มีภาวะน้ำหนักเกิน และมีอาการไม่สบายชัดเจน คือ ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย หิวข้าวบ่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด จำเป็นต้องรักษาด้วยยาฉีดอินซูลินทุกวัน เนื่องจากผู้ป่วยชนิดนี้เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่ไม่สามารถผลิต อินซูลิน* ถ้าหากขาดยาฉีดอินซูลินก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น หมดสติจากภาวะคีโตนในเลือดสูงได้ (คีโตน มีพิษต่อสมอง ทำให้หมดสติ) เบาหวานชนิดที่ 1 นี้พบได้น้อยกว่าชนิดที่ 2 มาก

*อินซูลินซึ่งเป็นสารที่ผลิตโดยตับอ่อน ทำหน้าที่นำน้ำตาล (กลูโคส) จากกระแสเลือดเข้าสู่ภายในเซลล์ (อันเป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ) เพื่อการเผาผลาญให้เกิดพลังงาน ทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้เป็นปกติ ถ้าร่างกายขาดอินซูลินอย่างรุนแรง (ดังที่พบในโรคเบาหวานชนิดที่ 1) หรือว่าร่างกายดื้อต่ออินซูลิน กล่าวคือมีอินซูลินพอเพียง แต่ทำหน้าที่ไม่ได้ (ดังที่พบในโรคเบาหวานชนิดที่ 2) ก็จะเกิดการคั่งของน้ำตาลในกระแสเลือด และท้นออกมาทางปัสสาวะ คือ มีน้ำตาลหลุดออกมาในปัสสาวะ จึงได้ชื่อว่า "เบาหวาน" เกิดอาการและภาวะรุนแรงต่างๆ (ภาพประกอบที่ 1)

แผนภูมิการเกิดเบาหวาน

  • เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่พบได้บ่อยมาก (ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเบาหวานชนิดนี้) มักไม่มีอาการแสดงชัดเจน (ได้ชื่อว่า "เพชฌฆาตมืด") มักพบในคนอายุมากกว่า 30 ปี ที่มีรูปร่างท้วม (น้ำหนักเกิน) หรือ อ้วน ซึ่งพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า ในปัจจุบันพบเบาหวานชนิดนี้ในเด็กอ้วนได้บ่อยขึ้นกว่าแต่ก่อน มักตรวจพบเมื่อผู้ป่วยมาขอตรวจเช็กสุขภาพ (โดยที่ร่างกายแข็งแรงดี) โดยพบว่ามีระดับน้ำตาลสูงถึงขั้นที่เป็นโรค (ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 126 มก./ดล.) แต่ยังไม่สูงมากถึงขั้นแสดงอาการ (ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 200 มก./ดล.)

เบาหวาน ชนิดที่ 2 สามารถรักษาด้วยการใช้ยาลดน้ำตาลชนิดกิน ควบคู่กับการควบคุมอาหารและน้ำหนักตัว หากปล่อยปละละเลยแม้จะไม่มีอาการก็สามารถเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาในระยะยาว (5-10 ปีต่อมา) ได้

2. ส่วนน้อยเกิดจากพฤติกรรม ที่สำคัญคือ การบริโภคเกินจนเป็นโรคอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 30 กก./ตารางเมตร ความอ้วนทำให้ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน) การดื่มสุราจัดอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ

นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการใช้ยาผิดๆ (ที่พบบ่อย คือ การใช้ยาสตีรอยด์พร่ำเพรื่อ) หรือพบร่วมกับโรคอื่น (เช่น เนื้องอกต่อมหมวกไต มะเร็งตับอ่อน)

3. ภาวะตั้งครรภ์ ทำให้สตรีที่ตั้งครรภ์บางคนเป็นเบาหวานได้ เนื่องจากรกมีการสร้างฮอร์โมนหลายชนิดที่เข้าสู่ร่างกายผู้ที่เป็นมารดา ทำให้มารดาเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ หลังคลอด 1-2 เดือนไปแล้วก็มักจะหายได้ เรียกว่า "เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus, GDM)" สตรีกลุ่มนี้ในระยะต่อไปอาจกลายเป็นเบาหวานอย่างถาวรได้

  • อ่าน 23,583 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

367-007
นิตยสารหมอชาวบ้าน 367
พฤศจิกายน 2009
สารานุกรมทันโรค
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa