Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » ข้อมูลโรคและการรักษา » ลมบ้าหมู

ลมบ้าหมู

  • อาการ
  • สาเหตุ
  • การรักษา
  • การดูแลตนเอง
  • อื่นๆ

ผู้ป่วยอยู่ๆ ก็มีอาการหมดสติ เป็นลมล้มพับกับพื้นทันทีทันใด พร้อมกับมีอาการกล้ามเนื้อเกร็งทั้งตัว หายใจลำบาก หน้าเขียว ซึ่งจะเป็นอยู่นานไม่กี่วินาทีถึง 20 วินาที ต่อมาจะมีอาการชักกระตุกของกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายเป็นระยะๆ และมีอาการตาค้าง ตาเหลือก ในระยะแรกมักจะชักถี่แล้วค่อยๆ ลดลงตามลำดับ จนกระทั่งหยุดกระตุก ในช่วงนี้จะมีอาการน้ำลาย ฟูมปาก และอาจมีเลือดออกจากการกัดถูกริมฝีปาก หรือลิ้นตัวเอง อาจมีอาการปัสสาวะหรืออุจจาระราดร่วมด้วย

อาการชักจะเป็นอยู่นาน ประมาณ 1-3 นาที (บางรายอาจนาน 5-15 นาที) แล้วฟื้นสติตื่นขึ้นด้วยความรู้สึกมึนงง อ่อนเพลีย บางรายอาจม่อยหลับไปนานเป็นชั่วโมงๆ

ผู้ป่วยมักจะจำไม่ได้ว่าตัวเองล้มลง

หลังจากม่อยหลับและตื่นขึ้นมาแล้ว อาจมีอาการ ปวดศีรษะ มึนงง สับสน อ่อนเปลี้ยเพลียแรง หาวนอน ลืมตัว และอาจทำอะไรที่ตัวเองจำไม่ได้ในภายหลัง

บางรายอาจมีอาการเตือนหรือออรา (aura) นำมาก่อนจะหมดสติ เช่น แขนหรือขาชาหรือกระตุกเพียงข้างหนึ่ง หรืออาจเห็นแสงวาบ ได้กลิ่น รส หรือได้ยินเสียงดังๆ หรือมีความรู้สึกกลัวอย่างไม่มีเหตุผล เป็นต้นผู้ป่วยอาจเกิดอาการชักในเวลากลางวันหรือ หลังเข้านอนตอนกลางคืนก็ได้ บางรายเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุกระตุ้น บางครั้งก็พบสาเหตุที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยชัก เช่น อดนอน หิวข้าว กินอาหารมากเกินไป ทำงานเหนื่อย เกินไป คิดมาก ดื่มสุรา กินยากระตุ้นประสาท ท้องผูก มีประจำเดือน มีไข้สูง อยู่ในสถานที่ที่มีเสียงอึกทึกหรือมีแสงจ้าหรือแสงวอบแวบ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ การหายใจเข้าออกเร็วๆ เป็นต้น

การดำเนินโรค

ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่องตามระยะที่แพทย์แนะนำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถควบคุมอาการได้ดี และดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องรับยานานอย่างน้อย 2-3 ปี (สำหรับเด็ก) หรือ 5 ปี (สำหรับผู้ใหญ่) บางรายอาจต้องกินยาควบคุมอาการไปตลอดชีวิต ส่วนผู้ป่วยที่เคยกินยาแล้วได้ผลแต่ขาดยา (หยุดยากิน) ทันที ก็อาจเกิดอาการชักติดต่อกันนาน 20-30 นาที หรือชักซ้ำๆ หลายครั้งติดๆ กัน เรียกว่า โรคลมชักต่อเนื่อง (status epilepticus) ซึ่งจัดว่าเป็นภาวะร้ายแรงชนิดหนึ่ง

ภาวะแทรกซ้อน

อาการหมดสติ ล้มฟุบ และชัก อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ เช่น บาดแผลตามร่างกาย แผลจากการกัดลิ้นตัวเอง กระดูกหัก ศีรษะได้รับบาดเจ็บ เป็นต้นข้อสำคัญคือ อาจทำให้ได้รับอุบัติเหตุขณะขับรถ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ขณะเล่นน้ำหรือว่ายน้ำ ปีนป่ายหรืออยู่ในที่สูง อยู่ใกล้เตาไฟ น้ำร้อนหรือของร้อน ซึ่งอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บร้ายแรงถึงตายได้อาจทำให้เกิดการสำลักเศษอาหารลงปอด เกิดปอดอักเสบได้ ผู้ที่มีอาการชักบ่อย อาจทำให้มีอุปสรรคต่อการทำกิจวัตรประจำวัน การเรียนหนังสือ และการทำงานได้ ในรายที่เป็นโรคลมชักต่อเนื่อง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที ก็อาจตายหรือพิการได้ ภาวะนี้มีอัตราตายถึงร้อยละ 10-20 ผู้ที่เป็นโรคลมชักรุนแรงบางรายอาจเกิดภาวะเสียชีวิตกะทันหัน (sudden unexpected death in epilepsy) ขณะมีอาการกำเริบ แม้แต่เกิดอาการขณะอยู่ในที่ที่ปลอดภัย (เช่น บนเตียงนอน) ก็ตาม สันนิษฐานว่าเกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) และภาวะขาดอากาศหายใจ (suffocation) ขณะชัก มักเกิดกับผู้ที่ยังควบคุมอาการชักไม่ได้ผลดีและมีการขาดยารักษาส่วนความบกพร่องทางอารมณ์และสติปัญญาที่พบในผู้ป่วยโรคลมชักบางรายนั้น มักไม่ได้เป็นผลจากโรคลมชักโดยตรง แต่เกิดจากสาเหตุหรือความผิดปกติทางสมองที่พบร่วมกับโรคลมชัก

การแยกโรค

อาการเป็นลมหมดสติ และชักกระตุก อาจมีสาเหตุอื่น เช่น

  • โรคติดเชื้อของสมอง (เช่น สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ) ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ อาเจียน ซึม ต่อมาจะไม่ค่อยรู้สึกตัว และชักกระตุก
  • ชักจากไข้ พบในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ขวบ เด็กจะมีไข้ และชักกระตุกนาน 2-3 นาที (ไม่เกิน 5-15 นาที) แล้วฟื้นสติเป็นปกติได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีอาการหมดสติและชักกระตุก ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดๆ ควรจะรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุและให้การรักษาตามสาเหตุ
  • อ่าน 8,653 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

363-015
นิตยสารหมอชาวบ้าน 363
กรกฎาคม 2009
สารานุกรมทันโรค
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa