ป้ายคำ
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
4
สิงหาคม 2522
คอลัมน์นี้จะสอนให้รู้จักอาการและโรคต่างๆ รวมทั้งวิธีตรวจร่างกายด้วยตนเอง ซึ่งผู้อ่านนำไปปฏิบัติได้เลย หรือภายหลังจากที่ได้ฝึกจากผู้รู้สักครั้งสองครั้ง เราจะนำมาเสนอเป็นประจำทุกครั้ง“ปากเปื่อย ร้อนใน แผลแอ๊ฟตัส” เราเชื่อว่า ท่านหรือลูกหลานของท่านคงได้ลิ้มรสชาติของอาการปากเปื่อยแบบนี้มาบ้างแล้ว ขนาดกินน้ำพริกหรือของเผ็ดๆ ไมได้หลายวันเชียวแหละครับอาการปากเปื่อย จะพบว่าเป็นๆ หายๆ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
4
สิงหาคม 2522
มะระ : ยาในครัวเรือนชื่อในประเทศไทยมะระ มะระจีน มะนอย มะห่อย มะระขี้นก ผักให้โควกวยเกี๊ยะชื่อในประเทศจีนโควกวย กิ้มหลีกี ไทผู้ท้อ บ้วงหลีกีชื่อทางวิทยาศาสตร์โมมอดิคา ชาแรนเทีย ลิน (Momordica Charantia L.)ลักษณะเป็นไม้เถาชอบขึ้นพาดพันต้นไม้อื่น ๆ หรือขึ้นตามร้านต้นไม้ที่ทำให้ใบเป็นจักเว้าลึกเข้าไป ชอบขึ้นตามที่ลุ่มต่ำแฉะ และต้องบำรุงด้วยปุ๋ย โดยมากชอบปลูกเอาผลไว้รับประทานเป็นอาหาร ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
3
กรกฎาคม 2522
ปอดกับการหายใจ1หลอดลมใหญ่ (Trachea)2หลอดลมซ้ายกับขวา (Left £ Right Bronchus)3หลอดลมเล็ก (Small bronchus)4หลอดลมฝอย (Bronchiole)5ท่อถุงลม (Alveolus, Alveoli)6เส้นเลือดฝอย (Capillary)7หัวใจ (heart)รูปที่1 โครงสร้างของปอดอากาศจะผ่านหลอดลมใหญ่1 ซึ่งเป็นท่อประกอบด้วยกระดูกอ่อนและกล้ามเนื้อยาว 25 ซ.ม. จากนั้นจะแยกออกเป็น 2 ข้าง คือ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
3
กรกฎาคม 2522
ตอน 3: การซักประวัติการฝึกฝนตนเองให้เป็นหมอรักษาคนไข้นั้น จำเป็นต้องฝึกฝนทั้งทางใจ และกาย ทางใจเป็นสำคัญที่สุด เพื่อให้มีความรักเมตตาในเพื่อนมนุษย์ที่เจ็บไข้ และความปรารถนาที่จะช่วยให้เพื่อนมนุษย์เหล่านั้นให้พ้นทุกข์ทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บ ทางกายมีความสำคัญรองลงมา แต่ก็จำเป็นที่จะต้องมานะบากบั่น พยายามฝึกฝน ปาก หู ตา จมูก และมือ ให้ชำนิชำนาญ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
3
กรกฎาคม 2522
ช็อคเราเคยได้ยินคำว่า ช็อค มานานแล้ว และบางทีชินหูเสยจนไม่รู้ความหมายของมันว่าเป็นอะไรกันแน่ ในทางการแพทย์ ช็อค หมายถึง ภาวะที่ร่างกายหมดความสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ เหตุที่สำคัญที่สุดก็คือ เลือดไม่สูบฉีดไปหล่อเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ ได้อย่างพอเพียงความบกพร่องที่ทำให้เลือดไม่ถูกสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายมีหลายอย่าง ที่นับว่าสำคัญมี 2 อย่าง คือ1. หัวใจทำงานไม่ได้เต็มที่ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
3
กรกฎาคม 2522
โรคอะไรที่ไอร้อยวันข้าพเจ้า ได้ออกไปตรวจผู้ป่วยในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยนัดให้ผู้ป่วยมาตรวจ และรับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง พบว่ามีเด็กหลายคนที่มานั่งรอรับการตรวจอยู่ที่อาการไอมาก บางคนไอติดต่อกันเป็นเวลานาน กระทั่งตัวงอและอาเจียนหน้าตาแดงแทบจะไม่หายใจ เห็นเส้นเลือดโป่งออกมา บางคนไอมากจนเส้นเลือดฝอยที่ใต้เยื่อบุตาแตกเห็นเลือดแดงเป็นปื้นที่บริเวณตาขาว ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
3
กรกฎาคม 2522
ไข้ป่า : มาลาเรียมาลาเรีย เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อมาลาเรีย ผู้ป่วยมักมีอาการหนาวสั่น ดังนั้น จึงเรียกกันว่า ”ไข้จับสั่น” แต่ผู้ป่วยมาลาเรียอาจไม่มีอาการหนาวสั่นก็ได้ นอกจากไข้แล้วผู้ป่วยมาลาเรียอาจีอาการอย่างอื่น เช่น ปวดศีรษะ ไม่รู้สึกตัว หมดสติ หรือ ท้องเดิน ฯลฯ มาลาเรียเป็นโรคที่พบได้บ่อยในชนบทในประเทศไทยโดยเฉพาะในเขตป่าเขา ฉะนั้น ผู้ที่อยู่ในที่ดังกล่าว หรือไปที่นั้น ถ้าเป็นไข้ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
3
กรกฎาคม 2522
กามโรคกามโรคนี้เคยเรียกกันว่า “โรคบุรุษ” ก็มี เรียกว่า “โรคสตรี” ก็มีอย่างจีนงี้เรียกว่า “จาโบ๊ฮวง” หรือโรคสตรีทีเดียว ญวนเรียกว่า “ปั๊กชุมพ่อง” ก็ไม่ทราบว่าแปลว่า บุรุษหรือสตรีก็โทษกันไปโทษกันมา ที่แท้มันก็ทั้งบุรุษและสตรีจึงเกิดกามโรคได้กามโรคมีหลายชนิด ที่สำคัญคือ หนองใน กับ ชิฟิลิส แต่ก็ยังมีชนิดอื่นๆ อีก ตามที่จะกล่าวต่อไป1. หนองในหนองใน ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
3
กรกฎาคม 2522
ชีพจรชีพจรเกิดขึ้นได้อย่างไรชีพจรเกิดจากการบีบตัวของหัวใจเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ทำให้เกิดแรงดันมากระทบผนังของเส้นเลือด เป็นผลให้เส้นเลือดมีการหดและขยายตัวตามจังหวะการบีบตัวของหัวใจ ซึ่งเราสามารถคลำได้ตรงตำแหน่งที่เส้นเลือดแดงวิ่งผ่านหรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ชีพจรคือจังหวะการเต้นของหัวใจชีพจรอยู่ตรงไหนชีพจรที่คลำได้ตามร่างกายนั้น จะพบว่ามักจะอยู่ตรงตำแหน่งที่เป็นส่วนข้อต่อของกระดูก เช่น ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
3
กรกฎาคม 2522
7. การให้นมแม่“ไม่ต้องรีบร้อน”การที่จะตัดสินใจว่านมแม่พอหรือไม่นั้นไม่ใช่ทำได้ง่ายนัก ถึงแม้เต้านมจะมีขนาดใหญ่ ก็ไม่แน่จะมีน้ำนมมาก สำหรับคุณแม่ใหม่ซึ่งเพิ่งมีลูกคนแรก สัปดาห์แรกน้ำนมมักไม่ค่อยพอ ดังนั้นน้ำหนักของเด็กจึงมักจะลดลงกว่าเมื่อแรกเกิดเล็กน้อยในช่วงสัปดาห์แรก ถ้าวัดปริมาณนมแม่โดยวัดน้ำหนักเด็กด้วยเครื่องวัดอย่างละเอียดก่อนและหลังให้นมแล้ว จะเห็นว่า ...