เรื่องน่ารู้

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 104 ธันวาคม 2530
    มาลาเรีย เดิมเราเรียกกันว่า “ไข้จับสั่น”แต่ทำไมจึงเปลี่ยนเป็นมาลาเรียก็ไม่ทราบได้ ความจริงภาษาไทยของเรา ก็ดูออกจะเหมาะสมดีอยู่แล้วหรือเกรงว่าไข้จับสั่นจะเป็นโรคไม่เฉพาะ เพราะมีหลายโรคที่คนเป็นไข้ หรือจับไข้แล้วมีอาการหนาวสั่น จึงได้เปลี่ยนเป็นมาลาเรีย ผมเข้าใจว่าอย่างนั้น ถ้าผิดพลาดอย่างไรผู้รู้ช่วยบอกด้วยทีนี้มีข่าว เจมินี ซึ่งลงในคอลัมน์ เบรก ทรู ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับ 21 ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 103 พฤศจิกายน 2530
    หนูน้อยวัย 10 ขวบ ตื่นนอนตอนเช้า รู้สึกว่ามีบางสิ่งบางอย่างผิดปกติในร่างกาย หนูน้อยปวดท้องบริเวณรอบๆสะดือตั้งแต่เมื่อคืน ปวดเป็นพักๆ เช้านี้อาการปวดรุนแรงขึ้น และย้ายมาปวดบริเวณท้องน้อยด้านขวา หนูน้อยอาเจียน 2-3 ครั้ง คุณแม่วิตกมาก รีบพาหนูน้อยไปพบแพทย์แต่เช้า แพทย์ตรวจร่างกายหนูน้อยแล้วหันมาบอกแม่ว่า “หนูน้อยไส้ติ่งอักเสบครับ ต้องผ่าตัดด่วนเช้าวันนี้ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 102 ตุลาคม 2530
    อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน สมัยก่อนมนุษย์อาจรู้จักเพียงว่าต้องกินอาหารจึงจะมีชีวิตอยู่ได้ แต่การรู้เพียงว่าต้องกินอาหารนั้นไม่เพียงพอต่อการที่จะมีสุขภาพที่ดี ต้องรู้ต่อไปด้วยว่ากินอย่างไรจึงจะทำให้ร่างกายแข็งแรงและไม่เจ็บป่วยง่าย หรือเจ็บป่วยก็ฟื้นตัวเร็วประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาทั่วไป มีปัญหาสำคัญอันหนึ่งเหมือนกัน คือ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 102 ตุลาคม 2530
    1 งูจงอางเป็นงูพิษขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีลายสีเหลืองหรือขาวเป็นบั้งๆ ที่คอและลำตัว ที่หัวมีลายขาว 4 ลาย พาดตามขวาง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 101 กันยายน 2530
    ขณะนี้เป็นฤดูฝน ท่านที่มีภาชนะเก็บน้ำฝนไม่ว่าจะเป็นแท๊งก์น้ำ โอ่งน้ำขนาดต่างๆ ท่านเตรียมตัวพร้อมหรือยังที่จะเก็บน้ำฝนถ้ายัง ท่านควรจะเตรียมอะไรบ้างก่อนที่ฝนจะเริ่มตกชุกขณะที่ท่านรอหลังคาให้สะอาด ควรจะเตรียมล้างโอ่ง แท๊งก์ ให้เสร็จเสียก่อน ถ้ายังไม่มีก๊อก ไม่มีฝา ก็เตรียมหาเตรียมทำขึ้นมาฝาโอ่งเป็นเรื่องสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าก๊อก เพราะถ้ามีฝาปิดมิดชิด สามารถกันฝุ่นละออง กันยุงไปวางไข่ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 100 สิงหาคม 2530
    ผมได้อ่านบทความของ “หมอไทย” ใน “หมอชาวบ้าน” ฉบับเดือนมิถุนายน ศกนี้ แล้ว ในฐานะคนเหนือ “ลูกข้าวนึ่ง” ร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็ได้กลิ่นกับข้าวเมืองเหนือ เช่น แกงส้มฮังเล แกงแค ขึ้นมาทันทีขณะเดียวกันก็ได้ลองใช้ความรู้ทางการแพทย์แผนปัจจุบันของตัวเองเข้ามาวิเคราะห์ดูด้วย ก็อยากจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอาหารเหนือให้ผู้อ่านโดยเฉพาะ “คนเหนือ” ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 99 กรกฎาคม 2530
    พูดถึงโรคฟันผุ บางท่านอาจนึกถึงความเจ็บปวดที่รุนแรงมากที่ตัวเองมีประสบการณ์มาในอดีต บางท่านอาจเห็นภาพพจน์ของเด็กหรือลูกหลานที่แก้มบวมโย้ ร้องไห้งอแง หรือบางท่านอาจนึกถึงภาพฟันเป็นรูบิ่นแตก และมีสีดำสกปรก ไม่น่าดู และทำให้เสียบุคลิกภาพจากสถิติการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของคนไทย พบว่า โดยเฉลี่ยประชากรกว่าร้อยละ 70 มีโรคฟันผุในปาก ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ชายและหญิง ผุทั้งในฟันน้ำนมและฟันถาวร ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 98 มิถุนายน 2530
    เมื่อไม่นานมานี้ หนังสือพิมพ์รายวันยักษ์ใหญ่ฉบับหนึ่งของเมืองไทยได้เสนอข่าวของดาราสาว “จารุณี สุขสวัสดิ์” นางเอกขวัญใจประชาชนว่ามีอาการต่อมธัยรอยด์เป็นพิษแล้วไปรักษาด้วยการกินรังสี ทำให้ใบหน้าบวมเห่อ น้ำหนักเพิ่ม ซึ่งกระเทือนถึงอาชีพการแสดงของเธอข่าวของดาราสาวผู้นี้ปรากฏว่าประชาชนให้ความสนใจกันมาก ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 97 พฤษภาคม 2530
    เมื่อพูดถึงโรคมะเร็ง หลายๆคนแสดงสีหน้าหวาดผวา เพราะกิตติศัพท์โรคนี้เป็นที่รู้กันมานานนักหนาแล้วว่า เป็นโรคร้ายที่ยากจะรักษาให้หายได้ ถ้าใครเกิดเป็นขึ้นมาแล้วดูเหมือนว่าความตายได้คืบคลานมารอท่าปัจจุบันนี้ จากการรวบรวมสถิติเกี่ยวกับโรคมะเร็งของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถาบันมะเร็งโรงพยาบาลศิริราชและหน่วยมะเร็งตามโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์หลายแห่ง ได้ยืนยันว่า คนไทยเป็นมะเร็งกันมากขึ้น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 95 มีนาคม 2530
    ยาเด็กอันตรายขายเกลื่อนประเทศเด็กเกิดมาแล้ว...เกิดมาอย่างอ่อนแอ พวกเขาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง หรือแม้กระทั่งอยู่ในสภาพที่จะตัดสินใจอะไรได้ พวกเขาต้องรับเกือบทุกสิ่งทุกอย่างจากผู้ใหญ่เช่นเดียวกับลูกนกที่อ้าปากคอยรับอาหารที่พ่อแม่ป้อนให้ เด็กอีกจำนวนเรือนหมื่นเรือนแสน...กำลังจะเติบโตแล้ว จะเติบโตขึ้นแทนที่ผู้ใหญ่ในวันนี้ พวกเขาจึงเป็นทั้งความหวังและอนาคตของชาติ ...