Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » ข้อมูลโรคและการรักษา » เป็นลม

เป็นลม

  • อาการ
  • สาเหตุ
  • การรักษา
  • การดูแลตนเอง
  • อื่นๆ

ผู้ที่เป็นลมธรรมดามักจะมีอาการเป็นลมอยู่ในท่ายืน คืออยู่ดีๆ รู้สึกใจหวิว แขนขาอ่อนแรง ทรงตัวไม่ไหว ทรุดลงนอนกับพื้น และหมดสติอยู่ชั่วประเดี๋ยวเดียว อาจนานเพียงไม่กี่วินาที ถึง 1-2 นาที แล้วก็ฟื้นคืนสติได้เอง บางคนก่อนจะเป็นลม อาจมีอาการเตือนล่วงหน้า (เช่น หนักศีรษะ ตัวโคลงเคลง มองเห็นภาพเป็นจุดดำหรือตามัวลง มีเสียงดังในหู คลื่นไส้) อยู่นาน 2-3 นาที แล้วก็เป็นลมฟุบ ขณะเป็นลมจะมีอาการหน้าซีด มีเหงื่อออกเป็นเม็ดทั่วใบหน้าและลำตัว มือเท้าเย็น ชีพจรอาจเต้นช้า (ต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที)

การดำเนินโรค

มักจะไม่มีอันตรายหรือโรคแทรกซ้อนรุนแรง (ยกเว้นเกิดอุบัติเหตุขณะเป็นลม) และมักจะไม่มีอาการกำเริบซ้ำ

ผู้ที่เป็นลมเนื่องจากกิริยาบางอย่างหรือความดันต่ำในท่ายืน มีโอกาสกำเริบซ้ำได้บ่อย ถ้ายังไม่ได้หลีกเลี่ยงเหตุกระตุ้นหรือแก้ไขสาเหตุของโรค แต่มักไม่มีอันตรายร้ายแรง ยกเว้น การเกิดอุบัติเหตุขณะเป็นลม

ผู้ที่เป็นลมเนื่องจากโรคหัวใจ มักมีอันตรายร้ายแรง มีอัตราตายภายใน 1 ปีสูงถึงร้อยละ 20-30 แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยระยะที่รุนแรงไม่มาก และได้รับการรักษาอย่างจริงจังก็มีโอกาสชีวิตยืนยาวได้

ผู้ที่เป็นลมเนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง ถ้าเป็นโรคระยะรุนแรง ก็อาจเกิดอาการอัมพาต หรือเสียชีวิตได้ แต่ถ้าเป็นโรคระยะที่รุนแรงไม่มาก ถ้าได้รับการรักษาอย่างจริงจังก็มักจะมีชีวิตยืนยาวได้

ภาวะแทรกซ้อน

ขณะเป็นลมหมดสติ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขณะขับรถหรือตกจากที่สูงได้รับบาดเจ็บ เช่น บาดแผล กระดูกหัก ศีรษะได้รับบาดเจ็บ (อาจถึงขั้นมีเลือดออกในสมองได้)

การแยกโรค

อาการเป็นลมหมดสติ อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ได้แก่

  1. หมดสติหรือโคม่า (coma) ผู้ป่วยจะมีอาการหมดสติไม่รู้สึกตัวอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถฟื้นสติได้เอง มักมีสาเหตุที่ร้ายแรงจัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
  2. ช็อก ผู้ป่วยจะมีอาการใจหวิวใจสั่น เหงื่อออกตามตัว มือเท้าเย็น กระสับกระส่ายลุกขึ้นนั่งไม่ไหว เนื่องจากจะมีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม โดยที่ยังพอรู้สึกตัว ไม่หลับสนิทแบบเป็นลมหรือหมดสติ มักมีสาเหตุที่ร้ายแรง จัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วนเช่นเดียวกัน
  3. โรคลมชัก ผู้ป่วยจะมีอาการหมดสติชั่วคราวร่วมกับอาการแขนขาชักเกร็ง กระตุก น้ำลายฟูมปาก ตาค้าง อาจมีอาการปัสสาวะราด แต่จะมีอาการปวดมึนศีรษะ ง่วงนอน มึนงง ต่อมาอีกหลายชั่วโมง
  4. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ พบในผู้ที่อดข้าว หรือใช้ยารักษาเบาหวานอยู่ ผู้ป่วยจะมีอาการใจหวิวใจสั่น รู้สึกหิวข้าว เหงื่อออก แล้วมีอาการเป็นลมหรือหมดสติ
  5. โรคทางจิตประสาท เช่น โรควิตกกังวล กลุ่มอาการระบายลมหายใจเกิน (hyperventilation syndrome) บางครั้งจะมีอาการหมดสติแน่นิ่งชั่วขณะ คล้ายอาการเป็นลมได้ ผู้ป่วยมักมีอาการคิดมาก กังวล นอนไม่หลับ หรือมีอาการหายใจหอบลึก มือจีบเกร็ง หลังมีเรื่องขัดใจ
  • อ่าน 27,380 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

320-011
นิตยสารหมอชาวบ้าน 320
ธันวาคม 2005
สารานุกรมทันโรค
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa