Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » รศ. นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้บุกเบิกงานอุบัติเหตุในเด็ก
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

รศ. นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้บุกเบิกงานอุบัติเหตุในเด็ก

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 มกราคม 2551 00:00

 "จริงๆ ก็พอใจกับงานที่ทำอยู่ เพราะทุกอย่างจะเอาอุดมคติที่ต้องปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ก็เป็นไปไม่ได้ เพียงแต่ขอให้มีระบบหนึ่งที่อยู่ยั่งยืนยง ที่คอยตรวจสอบ ว่าอะไรที่จะเป็นอันตรายต่อเด็ก เพราะวัน ข้างหน้าก็จะมีวัสดุชนิดใหม่ๆ ออกมา" เป็น คำกล่าวของ รศ. นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ต่องานที่บุกเบิก เพื่อสร้างความปลอดภัยของเด็กจากอุบัติเหตุและความรุนแรง

ผมเรียนจบจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ปี พ.ศ. 2529 หลังจากเรียนจบได้ไปใช้ทุนที่โรงพยาบาลค่ายสุริยพงศ์ จังหวัดน่านอยู่ 3 ปี หลังจากนั้นก็ขอทุนโรงพยาบาลไปเรียนต่อทางด้านกุมารเวชศาสตร์ แล้วก็กลับมาทำงานที่เดิม จากนั้นได้ขอย้ายมาทำงานในฐานะอาจารย์ที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

สาเหตุที่ผมเลือกเรียนด้านกุมารเวชศาสตร์นั้น เพราะผมมองว่าปัญหาสุขภาพเด็ก นอกจากเกี่ยวข้องกับสุขภาพแล้ว หากมองลึกลงไปแล้ว ยังมีเรื่องนโยบายอยู่เบื้องหลังด้วย เช่น ปัญหาทารกน้ำหนักตัวน้อย สาเหตุหนึ่งมาจากการที่มารดาได้รับโภชการที่ไม่ดี และหากวิเคราะห์กันให้ลึกลงไปถึงสาเหตุว่าทำไมมารดาจึงไม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ สาเหตุที่แท้จริงก็มาจากการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม จึงทำให้ไม่มีเงินซื้ออาหารที่มีประโยชน์

ส่วนที่ผมเข้ามาจับงานด้านการป้องกันอุบัติเหตุและความรุนแรงในเด็กนั้น เพราะเป็นหลักปฏิบัติว่าเวลาที่เด็กมาฉีดวัคซีน กุมารแพทย์ต้องแนะนำการดูแลสุขภาพซึ่งมีทั้งหมด 7 เรื่อง หนึ่งในนั้นคือการป้องกันอุบัติเหตุ แต่เท่าที่ผ่าน มาไม่มีการแนะนำเลยแม้กระทั่งการสอน เป็นเพียงสิ่งที่บอกให้ทำแต่ไม่มีการกระทำ สาเหตุเพราะหนึ่งไม่มีผู้สอน สองไม่เห็นความสำคัญ และสามเสียเวลา

แต่เมื่อมาพิจารณาสถิติการตายผมพบว่าในเด็กตั้งแต่อายุ 1 ขวบขึ้นไป มีอัตราการตายจากอุบัติเหตุสูงขึ้น เพราะเหตุนี้ผมจึงได้หันมาสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง เมื่อมาศึกษาอย่างจริงจังทำให้ค้นพบอีกว่าในต่างประเทศก็ประสบกับปัญหานี้เช่นกัน

ผมคิดว่าการจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว ต้องแก้ไขโดยการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาอุบัติเหตุในสนามเด็กเล่น ต้องเปลี่ยนพื้นของสนามมาเป็นพื้นที่สามารถดูดซับพลังงาน เครื่องเล่นก็ต้องยึดติดกับพื้นสนาม

สิ่งที่เราได้ทำเพื่อแก้ปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม คือการจัดตั้งศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โดยได้ก่อตั้งเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งก่อนหน้าที่จะเกิดศูนย์นี้ ผมได้ไปเสนองานวิจัยเรื่อง "การทบทวนการตายของเด็กเนื่องจากอุบัติเหตุ" ซึ่งได้ทุนจากองค์การอนามัยโลก ในครั้งนั้นได้เชิญองค์กรที่เกี่ยวข้องมาร่วมรับฟังปัญหา หลังจากการประชุมก็เกิดแนวคิดร่วมกันว่าน่าจะตั้งหน่วยงานหนึ่งขึ้นมา เพื่อผลิตความรู้และเป็นหน่วยงานกลางคอยประสานกับองค์กรต่างๆ เพราะการจะแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในเด็กต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายองค์กร

หน้าที่ของเราคือให้ข้อมูลแล้วส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ ตัวอย่างผลงานที่ผ่านมาคือการออกกฎหมายให้เปลี่ยนชื่อรถหัดเดิน เป็นรถพยุงตัว เพราะจากการศึกษาเราพบว่ารถหัดเดินก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บในเด็ก การใช้คำว่ารถหัดเดินจึงก่อให้เกิดการเข้าใจผิด หลังจากเปิดเผยข้อมูลนี้ในการประชุมกับสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) แล้ว หลังจากนั้น สคบ. ก็ออกกฎหมายให้ผู้ผลิตต้องเปลี่ยนชื่อ และปิดฉลากคำเตือนที่ตัวรถด้วยว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่ได้ช่วยหัดเดิน แต่ยังทำให้การพัฒนาการของเด็กล่าช้าและเกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ ดังนั้นต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิดอยู่ตลอดเวลา

รศ. นพ.อดิศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายถึงสิ่งที่เป็นพลังขับเคลื่อนให้ทำงานดังกล่าวต่อไป แม้ต้องเผชิญกับปัญหาอะไรก็ตามว่า "สิ่งที่คอยขับเคลื่อน คือความชอบ เพราะผมสนใจงานที่ทำอยู่ เมื่อทำก็สนุก อุปสรรคจึงไม่เป็นอุปสรรค ความยากลำบากจึงไม่มี"Ž

ป้ายคำ:
  • คุยสุขภาพ
  • หมอพันธุ์ใหม่กับการสร้างเสริมสุขภาพ
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส
  • อ่าน 4,868 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

277-010
วารสารคลินิก 277
มกราคม 2551
หมอพันธุ์ใหม่กับการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)< และสถาบัน ChangeFusion< พัฒนาระบบโดย Opendream< สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa <