โรคระบบประสาทและสมอง (สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ)

  • วารสารคลินิก 293 พฤษภาคม 2552
    โรคหลอดเลือดสมองหรือ stroke เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 รองจากโรคเอดส์ และการบาดเจ็บผู้ป่วยที่ไม่เสียชีวิตก็จะมีความพิการหลงเหลือเป็นจำนวนมาก การรักษามาตรฐานในปัจจุบันคือ การให้ยาต้านเกร็ดเลือดหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดกรณีสมองขาดเลือด. การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ หรือปัจจัยเสี่ยงได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อย่างไรก็ตามการรักษาข้างต้นมีเป้าหมายหลักคือป้องกันการเป็นซ้ำ. ...
  • วารสารคลินิก 292 เมษายน 2552
    ในอดีตการดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มักเน้นแต่ด้านความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวได้แก่ อาการสั่น (tremor) เกร็งแข็ง (rigidity) ทำอะไรช้า (bradykinesia) และการทรงตัวผิดปกติ (postural instability) แต่ในปัจจุบันนี้พบว่าความผิดปกติทางด้านอื่นๆก็สามารถทำให้เกิดปัญหาในผู้ป่วยและต่อแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ตัวอย่างความผิดปกติดังกล่าว ได้แก่ ความผิดปกติในด้านการคิดและหาเหตุผลของสมอง (cognitive ...
  • วารสารคลินิก 290 กุมภาพันธ์ 2552
    ยังคงหาข้อสรุปไม่ได้ว่าผู้ป่วยที่จะทำการเจาะดูดน้ำหล่อสมองและไขสันหลัง (lumbar puncture; LP) ต้องตรวจ CT-scan สมอง (CT) ก่อนหรือไม่ คำถามนี้เป็นคำถามที่หาคำตอบได้ยากมากในทางปฏิบัติจริงๆ เพราะผู้ป่วยแต่ละรายมีลักษณะทางคลินิกที่แตกต่างกัน. บางกรณีก็สามารถตัดสินใจได้ว่าจำเป็นหรือไม่จำเป็นต้องตรวจ CT ก่อน LP แต่บางรายก็ยากในการตัดสินใจ สอบถามแพทย์หลายท่านก็มีคำตอบแตกต่างกัน. ...
  • วารสารคลินิก 289 มกราคม 2552
    ตัวอย่างผู้ป่วยผู้ป่วยหญิงอายุ 63 ปี มีโรคประจำตัวคือ ความดันเลือดสูง, ไขมันในเลือดสูง และหลอดเลือดหัวใจตีบ มาพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินด้วยอาการพูดไม่ได้ 12 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล. อาการเกิดขึ้นกะทันหันขณะรับประทานอาหาร โดยที่ระหว่างมีอาการผู้ป่วยสามารถเข้าใจเรื่องที่ผู้อื่นคุยได้ทั้งหมดแต่ไม่สามารถพูดโต้ตอบได้ ผู้ป่วยมีอาการเช่นนี้อยู่นาน 15 นาที หลังจากนั้นก็กลับมาพูดได้เป็นปกติ. ...
  • วารสารคลินิก 286 ตุลาคม 2551
    วารสารฉบับเดือนนี้ขอแนะนำเว็บไซต์ที่เกี่ยวโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) โดยมีชื่อว่า www.stroke.org ดำเนินการโดย National Stroke Association ของสหรัฐอเมริกา. หน้าแรกจะมีทั้งข่าวและบทความที่น่าสนใจล่าสุดสำหรับคนทั่วไป (ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร ปัจจัยเสี่ยง การป้องกันและการหายจากโรค) และสำหรับบุคลากรทางสาธารณสุข เมื่อกดที่ Medical Professionals ของ menu ...
  • วารสารคลินิก 286 ตุลาคม 2551
    โรคทางระบบประสาทบางโรค และภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทจากโรคอื่นนั้นพบได้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต ซึ่งทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น มีภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมา และอาจเสียชีวิตในที่สุด. โรคทางระบบประสาทส่วนปลายก็เป็นโรคที่พบได้บ่อยเช่นกัน ซึ่งก่อให้เกิดอาการต่างๆ ในผู้ป่วยเหล่านี้ ในที่นี้จะแบ่งเป็น 2 หลัก คือ 1) ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทส่วนปลายที่เกิดขึ้นจากโรคอื่นๆ และ 2) ...
  • วารสารคลินิก 283 กรกฎาคม 2551
    โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยและก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้มาก โรคเส้นประสาทก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดความพิการและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานเช่นกัน โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานานและควบคุมโรคได้ไม่ดี ทั้งในเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ในบางรายอาจพบโรคเส้นประสาทในขณะที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยเบาหวานชนิดที่ 2 ก็ได้. ...
  • วารสารคลินิก 274 ตุลาคม 2550
    ในการประเมินผู้ป่วยที่มาด้วยปัญหาหลงลืม ทั้งตั้งแต่แรกเริ่มวินิจฉัยและเมื่อติดตามดูแลรักษาผู้ป่วย แพทย์ควรตั้งหัวข้อประเมินผู้ป่วย ใน 3 แนวทางเสมอ1. ประเมินด้าน cognition.2. ประเมินอาการทางประสาทจิตเวช (neuropsychiatric, NP).3. ประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวัน (activity of daily living, ADL).นอกจากนี้แพทย์ควรประเมิน ...
  • วารสารคลินิก 271 กรกฎาคม 2550
    นิยามMild Cognitive Impairment (MCI) เป็นกลุ่มอาการที่ประชานหรือ cognition1 เริ่มเสื่อม เกินกว่าที่ควรจะเป็นสำหรับคนที่อายุและระดับการศึกษานั้นๆ แต่อาการมักจะไม่เป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวันนัก2 คำว่า "ประชาน" มีรากศัพท์มาจากคำว่า "ชา" ซึ่งมีความหมายว่า รู้ หรือเก่ง ส่วน "ประ"- เป็นคำที่ใช้เติมหน้าเพื่อเน้นความหมายและ-น ...
  • วารสารคลินิก 270 มิถุนายน 2550
    พาร์กินโซนิซึมการรักษาโรคพาร์กินสันก่อนที่จะได้กล่าวถึงวิธีการรักษาโรคพาร์กินสันทั้งด้วยยาและวิธีรักษาแบบผ่าตัด อยากจะกล่าวถึงความหมายของลักษณะอาการตอบสนองต่อยา ที่จะกล่าวถึงบ่อยในบทของการรักษาโรคพาร์กินสัน.On time หมายถึง ช่วงที่มีอาการตอบสนองที่ดีต่อยา ในช่วง on time ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะมีอาการสั่นน้อยลง แข็งน้อยลง และเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น.Off time หมายถึง ช่วงที่ไม่ตอบสนองต่อยา ...