www.niaid.nih.gov/factsheets/tularemia.htm
เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีรายงานผู้ป่วยชาวไทยเป็นโรค tularemia นับเป็นรายแรกของประเทศไทย ผู้เขียน ได้ค้นหาเว็บไซต์ที่สร้างสำหรับเรื่องนี้โดยตรง แต่ยังไม่พบ จึงขอนำ factsheet ของ National Institute of Allergy and Infectious Diseases ของ NIH มานำเสนอแทน.
Tularemia บางครั้งเรียกว่า rabbit fever หรือ deerfly fever เกิดจากเชื้อ Francisellar tularensis ซึ่งมี 2 supspecies ได้แก่ type A ที่เกิดในทวีปอเมริกา และ type B ซึ่งเกิดในทวีปยุโรปและเอเชีย. สาเหตุที่ตั้งชื่อว่า tularemia ก็เพราะรายงานโรคนี้ครั้งแรกในเมือง Tulare รัฐ California เมื่อปี พ.ศ. 2454 แหล่งรังโรคได้แก่สัตว์ฟันแทะต่าง ๆ เช่น กระต่าย หนู กระรอก เป็นต้น. วิธีการติดต่ออาจเกิดจากการสัมผัสสารคัดหลั่งหรือเลือดของสัตว์ที่มีเชื้อ หรือสูดหายใจเข้าไป หรือผ่านทางแมลงที่เป็นพาหะ ระยะฟักตัวเฉลี่ยประมาณ 3-5 วัน.
อาการของโรคนี้มีได้หลากหลาย เช่น ไข้เฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อ ท้องร่วง อ่อนเพลีย ปวดข้อและไอมีหรือไม่มีเสมหะ เจ็บคอ แผลในปากและต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น. การวินิจฉัยต้องมีประวัติสัมผัสกับสัตว์ดังกล่าว และตรวจเลือด น้ำเหลืองยืนยัน วิธีการรักษาใช้ยา doxycycline หรือ ciprofloxacin การพยากรณ์โรคพบว่า อัตราตายน้อยมากขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยโรคเร็วและสภาวะภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย. สำหรับการป้องกันได้แก่การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแหล่งรังโรค การกินอาหารและน้ำที่ปลอดภัย ส่วน vaccine ของโรคนี้ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา.
ซำแก้ว หวานวารี พ.บ., รองศาสตราจารย์ ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- อ่าน 2,833 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้