Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ต้องยุติการตัดไข่ในเด็กให้ได้
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ต้องยุติการตัดไข่ในเด็กให้ได้

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 พฤษภาคม 2551 00:00

ตามที่เป็นข่าวในสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่องตลอดมาหลังจากที่ผู้อำนวยการ กลุ่มเกย์การเมืองไทย และผู้ประสานงานกลุ่มองค์กรเครือข่ายอัตลักษณ์ทางเพศ ได้มายื่นหนังสือถึงแพทยสภาว่าได้มีการผ่าตัดลูกอัณฑะในเด็กตามสถานพยาบาลต่างๆในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใหญ่ๆเช่น เชียงใหม่ จำนวนไม่น้อย.

สำนักงานเลขาธิการแพทยสภาได้รับเรื่องดังกล่าวไว้เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2551 และได้รีบทำการตรวจสอบหาแพทย์ที่ทำการผ่าตัดอัณฑะโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ในทันที ขณะเดียวกันทางกองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขก็ได้ทำการตรวจสอบสถานพยาบาลต่างๆ และได้เข้าตรวจค้นคลินิก ที่สงสัยว่าจะมีการกระทำดังกล่าว และต่อมาได้ส่งข้อมูลผู้ป่วยรายหนึ่งมาให้แพทยสภาทราบ ซึ่งแพทยสภาก็ได้ดำเนินการให้เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบจริยธรรมของแพทย์ ผู้นั้นโดยทันที ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหาข้อมูลว่ามีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่เหมาะสมหรือไม่ และได้กระทำตามขั้นตอนของหลักวิชาการทางการแพทย์หรือไม่ ซึ่งถ้าหากพบว่ามีความผิดทางจริยธรรม (ซึ่งเป็นการพิจารณาที่มีระดับสูงกว่ากฎหมาย แม้บางครั้งไม่ผิดกฎหมาย ก็ผิดจริยธรรมได้) แพทย์ผู้นั้นก็จะต้องถูกลงโทษ ซึ่งมีตั้งแต่ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม และเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม.

การตัดอัณฑะโดยปกติมีการทำผ่าตัดในโรงพยาบาลต่างๆ อยู่แล้ว ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งของอัณฑะเอง หรือเป็นการผ่าตัดในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งของต่อมลูกหมาก เพื่อลดฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีวิธีหนึ่ง.

ส่วนการผ่าตัดอัณฑะในผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคทางกายนั้น จะต้องมีการพิจารณากันอย่างละเอียดรอบคอบที่สุด เพราะจะมีผลกระทบอย่างมากตามมา เนื่องจากจะทำให้ขาดฮอร์โมนเพศชายอย่างกะทันหัน (ฮอร์โมนเพศชายร้อยละ 95 สร้างจากอัณฑะ) เช่น สูญเสียความรู้สึกทางเพศ จิตใจและร่างกายมีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะของคนวัยทอง และถ้าหากยังเป็นผู้เยาว์อายุไม่เกิน 18 ปี ก็จะมีผลกระทบมากเพราะร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เช่น กระดูกจะลดหรือหยุดความยาวทำให้ตัวไม่สูง กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ไม่มีอารมณ์เพศ และมีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์มากกว่าคนปกติ.

เนื่องจากการตัดอัณฑะเป็นการทำให้สูญเสียความเป็นชาย ตัดไปแล้วไม่มีโอกาสนำมาใส่ใหม่ได้ ดังนั้นเกณฑ์การพิจารณาควรใช้หลักเดียวกับการผ่าตัดแปลงเพศ ซึ่งแพทยสภากำลังร่างข้อบังคับอยู่อย่างเร่งด่วน ซึ่งในความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่า ควรจะทำในผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ซึ่งควรจะต้องมีการประเมินจากจิตแพทย์ 2 คนขึ้นไป ว่ามีสภาพจิตใจที่เหมาะสมจริงๆ และมีการทดลองใช้ชีวิตเป็นเพศหญิงอย่างเต็มรูปแบบ ระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี แล้วมาประเมินใหม่ ถ้าเห็นสมควรจึงจะทำได้ ส่วนในกรณี ที่อายุระหว่าง 18-20 ปี อาจอนุโลมให้ทำได้ในกรณีที่จำเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น โดยบิดา มารดา เป็นผู้ให้ความยินยอม และควรมีการประเมินจากจิตแพทย์ 3 คน ส่วนในอายุที่ต่ำกว่านั้น ยังไม่สมควรทำ.

ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการประชาสัมพันธ์ในวงกว้างให้สังคมได้ทราบถึง ความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ถูกตัดอัณฑะออก อย่าปล่อยให้มีการชักนำไปสู่การเป็นแฟชั่นอย่างผิดๆเช่นนี้อีกต่อไป ขณะนี้แพทยสภา กำลังเดินหน้าร่างกรอบให้แพทย์ได้ปฏิบัติอย่างเหมาะสม ส่วนการหาทางให้ประชาชนทั้งประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กๆ ได้ทราบถึงอันตรายของการตัดอัณฑะ โดยไม่มีหลักการทางการแพทย์ที่เหมาะสมนั้น เป็นหน้าที่ของทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน.

อำนาจ กุสลานันท์ พ.บ.
น.บ., น.บ.ท.,
ว.ว. (นิติเวชศาสตร์)
ศาสตราจารย์คลินิก
เลขาธิการแพทยสภา

 

ป้ายคำ:
  • คุยสุขภาพ
  • ข่าวสารจากเลขาธิการแพทยสภา
  • นพ.อำนาจ กุสลานันท์
  • อ่าน 2,077 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

281-019
วารสารคลินิก 281
พฤษภาคม 2551
ข่าวสารจากเลขาธิการแพทยสภา
นพ.อำนาจ กุสลานันท์
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa