Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » การแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ภาคราชการ
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ภาคราชการ

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 สิงหาคม 2551 00:00

เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทีมงานจากแพทยสภาประกอบด้วย นายกแพทยสภา เลขาธิการแพทยสภา รองเลขาธิการแพทยสภา ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภาฝ่ายบริหาร และประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ในภาคราชการของแพทยสภา ได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมกับยื่นหนังสือ เพื่อขอให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้เสนอบัญชีอัตราเงินเดือนแพทย์ เพื่อรองรับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งจะมีการปรับระบบเงินเดือนใหม่ โดยจะมีบัญชีเงินเดือนที่เป็นแท่งในแต่ละระดับชั้น และมีการปรับขึ้นไปตามสถานะภาพ ผลงานและความเหมาะสมกับตำแหน่ง.

เนื่องจากแพทย์ต้องทำงานอยู่บนความเสี่ยงของทั้งต่อชีวิตผู้ป่วย และของแพทย์เองก็มีความเสี่ยงทั้งชีวิตและร่างกายจากโรคติดต่อ รวมทั้งความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้องทั้งทางอาญาและทางแพ่ง จึงเป็นวิชาชีพที่ทำงานภายใต้ความกดดันที่สูงมาก อีกทั้งภาระงานในภาคราชการยังหนักมาก เนื่องจากปริมาณแพทย์ไม่เพียงพอกับความต้องการของประเทศ การทำงาน ก็ไม่มีเวลาพักเป็นเวลาเหมือนกับข้าราชการอื่นๆ ทำให้เกิดปัญหาสมองไหล คือ แพทย์จากภาคราชการจะลาออกกันมาก เพราะทนต่องานหนัก บนความเสี่ยงต่อไปไม่ไหว จึงไปอยู่ภาคเอกชนซึ่งจะมีภาระงานที่เหมาะสม โดยมีค่าตอบแทนที่สูงกว่าหลายเท่ามาก.

การแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ภาคราชการ ต้องทำพร้อมๆ กันไปหลายวิธีอันได้แก่ การผลิตแพทย์เพิ่ม (ซึ่งก็ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะต้องผลิตให้ได้คุณภาพด้วย แต่ขณะนี้ก็กำลังดำเนินการกันอยู่) การแก้ปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ ทางอาญาก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่กำลังแก้ไขกันอยู่ และสิ่งสุดท้ายคือการปรับบัญชีอัตราเงินเดือนแพทย์ให้เหมาะสมกับการทำงานและกลไกตลาด. ดังนั้นแพทยสภาจึงได้เสนออัตราเงินเดือนแพทย์จบใหม่ให้เริ่มต้นที่ 30,000 บาท ผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจะเป็น 40,000 บาท และผู้ที่เรียนต่อยอดเป็นผู้เชี่ยวชาญลึกลงไปอีกจะได้ 50,000 บาท โดยต่อไปจะมีการปรับขึ้นไปตามระยะเวลาและผลงาน ซึ่งจะมีเพดานสูงสุดไม่ต่ำกว่า 80,000 บาท. นอกจากนี้ค่าตอบแทนในส่วนอื่นๆ ของวิชาชีพแพทย์ และเงินค่าอยู่เวรนอกเวลาราชการก็ได้เสนอรายละเอียดให้ท่านรัฐมนตรีฯ ไปอย่างครบถ้วนแล้ว.

หลังจากได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางแล้ว ท่านรัฐมนตรีฯได้เห็นด้วยในหลักการที่แพทยสภาเสนอ จึงได้ตั้งคณะทำงานจากแพทยสภาขึ้น เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ร่วมกับ อ.ก.พ. กระทรวงฯ ต่อไป ผมจะรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วนและนำความคืบหน้ามาเสนอต่อไปครับ

อำนาจ กุสลานันท์ พ.บ.
น.บ., น.บ.ท.,
ว.ว. (นิติเวชศาสตร์)
ศาสตราจารย์คลินิก
เลขาธิการแพทยสภา

 

ป้ายคำ:
  • คุยสุขภาพ
  • ข่าวสารจากเลขาธิการแพทยสภา
  • นพ.อำนาจ กุสลานันท์
  • อ่าน 3,814 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

284-017
วารสารคลินิก 284
สิงหาคม 2551
ข่าวสารจากเลขาธิการแพทยสภา
นพ.อำนาจ กุสลานันท์
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa