Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » วิชาชีพแพทย์กับพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

วิชาชีพแพทย์กับพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 กันยายน 2551 00:00

พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 23 สิงหาคม 2551 เป็นกฎหมายที่มีหลักการคุ้มครองผู้บริโภคจากการซื้อสินค้า หรือการรับบริการทุกชนิด ซึ่งจะรวมการให้บริการทางการแพทย์ด้วยหรือไม่นั้นยัง ไม่ได้ข้อยุติ เพราะยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ ซึ่งถ้ามีผลใช้บังคับด้วย ก็จะกระทบต่อโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน รวมถึงคลินิกต่างๆ ทุกประเภทอย่างรุนแรง เพราะ มีรายละเอียดที่เข้มข้นเกินกว่าการฟ้องคดีแพ่งมาก ตัวอย่างเช่น

มาตรา 13 บัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย โดยผลของสารที่สะสมอยู่ในร่างกายผู้บริโภค หรือเป็นกรณีที่ต้องใช้เวลาในการแสดงอาการ ผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องแทนผู้บริโภค ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในสามปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องรับผิด แต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย" จะเห็นได้ว่า เป็นการขยายอายุความที่ยาวนานมาก คือ ไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย ซึ่งปกติคดีแพ่งทั่วๆไป กฎหมายจะกำหนดอายุความให้เป็นหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ และไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่ได้กระทำการรักษา

มาตรา 18
เป็นเรื่องที่บัญญัติให้ได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง ซึ่งปกติต้องเสียค่าขึ้นศาลร้อยละสองบาทห้าสิบสตางค์แต่ไม่เกินสองแสนบาท

มาตรา 20
บัญญัติให้ฟ้องด้วยวาจาได้ ซึ่งโดยปกติในการฟ้องคดีแพ่ง เพื่อเรียกค่าเสียหายต่างๆ จะต้องทำเป็นเอกสารคำฟ้อง

มาตรา 29
กำหนดให้ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่างๆ เป็นหน้าที่ของฝ่ายผู้ถูกฟ้อง ซึ่งการฟ้องคดีแพ่งทั่วไป ภาระการพิสูจน์ส่วนใหญ่จะต้องเป็นของฝ่ายผู้ฟ้องคดี

มาตรา 39
บัญญัติให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้สูงเกินกว่าที่โจทก์ฟ้องได้ ซึ่งตามปกติแล้วในการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้เกินกว่าที่โจทก์ฟ้องไม่ได้

มาตรา 40
กำหนดให้ศาลอาจสงวนสิทธิ์ ที่จะแก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งได้อีก ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่เกินสิบปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งในการฟ้องคดีทั่วไป ศาลจะแก้ไขคำพิพากษาไม่ได้

มาตรา 42 ในกรณีที่ศาลเห็นว่าได้มีการกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภค โดยไม่เป็นธรรมหรือโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงศาลมีอำนาจลงโทษโดยการเพิ่มจำนวนค่าเสียหายได้ตามที่ศาลเห็นสมควรได้ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง แต่ถ้าวงเงินไม่เกินห้าหมื่นบาทเพิ่มได้ถึงห้าเท่า ซึ่งปกติการฟ้องร้องทั่วไปศาลจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้เกินกว่าค่าเสียหายจริงไม่ได้

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า หากพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับกับโรงพยาบาลต่างๆทั้งของรัฐ และเอกชนรวมทั้งคลินิกประเภทต่างๆ โดยถือว่าเป็นการบริการประเภทหนึ่ง ก็จะทำให้มีผลกระทบต่อวิชาชีพด้านสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งผมไม่เห็นด้วย เพราะการประกอบวิชาชีพแพทย์นั้น เป็นการกระทำที่ต้องมีคุณธรรมจริยธรรมไม่ใช่เป็นการให้บริการที่มุ่งหวังกำไร โดยเราจะปฏิเสธการรักษาไม่ได้.

ขณะนี้แพทยสภากำลังดำเนินการเพื่อให้การประกอบวิชาชีพแพทย์และวิชาชีพด้านสุขภาพไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ จะสำเร็จหรือไม่ผมจะรายงานให้ทราบต่อไป.

อำนาจ กุสลานันท์ พ.บ.
น.บ., น.บ.ท.,
ว.ว. (นิติเวชศาสตร์)
ศาสตราจารย์คลินิก
เลขาธิการแพทยสภา

 

ป้ายคำ:
  • คุยสุขภาพ
  • ข่าวสารจากเลขาธิการแพทยสภา
  • นพ.อำนาจ กุสลานันท์
  • อ่าน 4,134 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

285-018
วารสารคลินิก 285
กันยายน 2551
ข่าวสารจากเลขาธิการแพทยสภา
นพ.อำนาจ กุสลานันท์
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa