Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • สมัครสมาชิก
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • แอพลิเคชั่น DoctorMe
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ปอดอักเสบชุมชน (Community-acquired pneumonia)
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ปอดอักเสบชุมชน (Community-acquired pneumonia)

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 ตุลาคม 2551 00:00


                     
                                      ภาพที่ 1. รังสีทรวงอกในท่านอนหงายและตะแคงทับซ้าย.

ผู้หญิงอายุ 23 ปี มาด้วยไข้และไอมีเสมหะสีเขียว 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล ก่อนหน้านี้ได้ไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาแต่อาการไม่ดีขึ้นและเริ่มมีไข้สูง 1 วันจึงมาโรงพยาบาล. ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นกระดูกสันหลังอักเสบชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "spondyloarthropathy" และได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันทั้งเพร็ดนิโซโลน (prednisolone) และ methotrexate ชนิดกิน. การตรวจร่างกายพบอัตราการเต้นของหัวใจประมาณ 130 ครั้ง/นาที หายใจเร็วประมาณ 22 ครั้ง/นาที มีไข้ 37.5 องศาเซลเซียส และความดันเลือดปกติ, ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (O2 saturation at room air) เท่ากับ 95%. นอกจากนี้ก็ตรวจพบมีเสียงกรอบแกรบ (crepitation) ที่ปอดด้านซ้าย ส่วนการตรวจร่างกายอื่นๆ อยู่ในเกณฑ์ปกติ ผลตรวจเลือดพบว่ามีปริมาณเม็ดเลือดขาวในเลือดสูงเล็กน้อย (WBC = 12,300/มม.3) และเป็นนิวโตรฟิลเด่น (N = 86, L = 6, Mo = 7, Eo = 1) ส่วนการทำงานของไตและตับปกติ. ผลตรวจทางรังสีวินิจฉัยของทรวงอกในท่านอนหงาย และตะแคงทับซ้ายพบว่ามีฝ้าขาวที่กลีบปอดด้านซ้ายล่างและกลีบปอดด้านขวาบนดังภาพที่ 1.

จากประวัติ การตรวจร่างกายและผลการสืบค้นบ่งชี้ว่า การรักษาโรคกระดูกสันหลังอักเสบด้วยยาสตีรอยด์ในผู้ป่วยรายนี้ เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อปอดอักเสบที่กลีบปอดทั้ง 2 ข้าง ซ้าย-ขวา จากการประเมินผู้ป่วยตามแนวทางการรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบติดเชื้อของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2550 ควรจัดอยู่ในกลุ่มปอดอักเสบที่จำเป็นต้องรับตัวไว้รักษาต่อเนื่องในโรงพยาบาลร่วมกับให้ยาต้าน เชื้อ ceftriaxone และ clarithromycin แก่ผู้ป่วยในทันที.


ปอดอักเสบชุมชน (Community-acquired pneumonia)
ปอดอักเสบชุมชน หมายถึง ปอดอักเสบอันเนื่องจากการติดเชื้อจุลินทรีย์นอกโรงพยาบาล เกณฑ์การวินิจฉัยปอดอักเสบชุมชนนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องมีรอยหรือปื้นฝ้าขาวเกิดขึ้นใหม่ในภาพรังสีของทรวงอก ร่วมกับอาการบ่งชี้ถึงการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น อาการไอ เป็นต้น. อาการและภาพถ่ายรังสีของทรวงอกที่เปลี่ยนแปลงนี้ควรเกิดค่อนข้างเฉียบพลันหรือไม่เกิน 2 สัปดาห์ เกณฑ์การวินิจฉัยปอดอักเสบชุมชนนี้จะไม่รวมถึงปอดอักเสบในผู้ป่วยที่เพิ่งจำหน่ายจากโรงพยาบาล ภายในเวลาไม่เกิน 3 สัปดาห์ และยังไม่ครอบคลุมผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง (immuno-compromised host) เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยที่มีภาวะเม็ดเลือดนิวโตรฟิลในเลือดต่ำ (neutropenia) ผู้ป่วยที่มีภาวะปราศจากเม็ดเลือดขาว (agranulocytosis) ตลอดจนผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกหรือปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นต้น.4

การพิจารณารับผู้ป่วยเพื่อรักษาตัวในโรงพยาบาล มีดังนี้
1. ปอดอักเสบที่มีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น มีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด หรือมีโพรงฝีในปอด เป็นต้น.
2. พบว่าอาการของโรคประจำตัวเดิมกำเริบมากขึ้น.
3. ไม่สามารถกินยาได้สม่ำเสมอ เช่น อาเจียนอย่างมาก หรือไม่สะดวกที่จะรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล.
4. มีข้อบ่งชี้หลายข้อตามเกณฑ์การประเมิน ของ PSI (pneumonia severity index score) หรือ CURB-65 ดังนี้





ก. ถ้า PSI score > 90 (ตารางที่ 1) ควรรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล. PSI score จะแบ่งผู้ป่วยเป็น 5 ประเภทเพื่อพิจารณาว่าควรรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลหรือไม่ โดยที่ class I และ class II สามารถให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลได้ class III ควรรักษาในห้องสังเกตอาการ หรือหอผู้ป่วยทั่วไป ส่วน class IV และ class V ควรต้องรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล.
ข. CURB-65 เป็นคำย่อของ confusion (สับสน), BUN > 20 มก./ดล., respiratory rate > 30 ครั้ง/นาที, low blood pressure (systolic < 90 มม.ปรอท หรือ diastolic < 60 มม.ปรอท) และอายุ > 65 ปี.

ถ้าผลการประเมินพบปัจจัยเสี่ยง 0-1 ข้อ สามารถให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลได้, 2 ข้อ รับตัวไว้ในหอผู้ป่วยของโรงพยาบาล, 3 ข้อ รับตัวไว้ในห้องไอซียู.

พยากรณ์โรคกรณีผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยง 0, 1, หรือ 2 ข้อ ก็จะมีอัตราการเสียชีวิตภายใน 30 วันเท่ากับร้อยละ 0.7, 2.1 และ 9.2 ตามลำดับ แต่ถ้ามีปัจจัยเสี่ยง 3, 4, หรือ 5 ข้อก็จะยิ่งเพิ่มอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 14.5, 40 และ 57 ตามลำดับ บางสถาบันเลือกใช้ข้อบ่งชี้อย่างย่อคือ CRB-65 ซึ่ง พบว่าสามารถใช้ในการประเมินเพื่อพิจารณาว่าจะให้ การรักษาแบบในหรือนอกโรงพยาบาลได้ดีเท่ากับ CURB-65 ด้วยเช่นกัน.

การใช้ CURB-65 ค่อนข้างจดจำง่ายจึงนิยม ใช้กันมากในห้องฉุกเฉิน Atlas et al. พบว่าการใช้ PSI สามารถลดอัตราการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจากร้อยละ 58 เหลือแค่ร้อยละ 43 ดังนั้น จึงลดอัตราการรับผู้ป่วยเพื่อรักษาตัวในโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็นได้ อันทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอีกด้วย.


การพิจารณารับผู้ป่วยเพื่อรักษาตัวในห้องไอซียู
การพิจารณาให้ยึดตามเกณฑ์หลัก (major criteria) ข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
1. ผู้ป่วยที่มีความดันเลือดต่ำและจำเป็นต้อง ให้ยาเพิ่มความดันเลือด หรือ
2. อยู่ในภาวะหายใจล้มเหลวจนต้องใส่ท่อช่วยหายใจ
และถ้ามี 3 เกณฑ์รอง (minor criteria) ดังในตารางที่ 2 ก็จำเป็นต้องรับตัวไว้รักษาในห้องไอซียูด้วยเช่นกัน.



การตรวจสืบค้น
ผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาลทุกรายควรได้รับการตรวจเพาะเชื้อในเลือด การส่งตรวจย้อมกรัม และเพาะเชื้อจากเสมหะร่วมกัน แต่ถ้าเป็นปอดอักเสบที่มีอาการรุนแรงมาก ควรส่งปัสสาวะเพื่อตรวจหาแอนติเจนของ Legionella pneumophila และ Streptococcus pneumoniae เพิ่มอีกด้วย แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงมากก็อาจเลือกส่งตรวจเป็นบางอย่างก็ได้ การตรวจพบเชื้อจะทำให้สามารถให้ยารักษาตรงกับเชื้อได้ทำให้ลดอัตราตายได้และไม่เกิดภาวะเชื้อดื้อยา.

การรักษา
Streptococcus pneumoniae เป็นเชื้อก่อโรคปอดอักเสบที่พบบ่อย นอกจากนี้ก็อาจมี Haemo philus influenzae และ Moraxella catarrhali ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่มีโรคปอดเรื้อรังอยู่ก่อนแล้ว ผู้ป่วยที่มีการใช้ยาสตีรอยด์บ่อยๆ ดื่มสุราบ่อยหรือใช้ยาฆ่าเชื้อบ่อยจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Enterobacteriaceae species และ P. aeruginosa มากขึ้น แพทย์ควรให้ยาต้านเชื้อแก่ผู้ป่วยปอดอักเสบโดยไม่ต้องรอผลเพาะเชื้อเพราะมักเพาะเชื้อไม่ขึ้นและใช้เวลานานกว่าจะทราบผล แนวทางการเลือกให้ยาต้านเชื้อทันทีระหว่างรอผลเพาะเชื้อต่างๆ เป็นตามตารางที่ 3.




ระยะเวลาการให้ยา

ควรเริ่มให้ยาต้านเชื้อภายใน 4-8 ชั่วโมงแรกในห้องฉุกเฉิน ให้ยาจะช่วยลดระยะเวลาการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลแต่ไม่ลดความรุนแรงของโรค โดยทั่วไประยะเวลาการใช้ยาต้านเชื้อที่เหมาะสมคือ 7-10 วันหรือจนกว่าไข้ลดลงมากกว่า 2-3 วัน.

สรุป
การรักษาผู้ป่วยที่มีโรคปอดอักเสบติดเชื้อ ประกอบด้วยการประเมินความรุนแรงของปอดอักเสบ เพื่อตัดสินใจว่าควรรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลหรือไม่ การให้ยาต้านเชื้อควรเริ่มโดยเร็วที่สุด อันจะทำให้ช่วยลดอัตราตายของผู้ป่วย ลดระยะเวลาการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และลดค่าใช้จ่ายได้.

เอกสารอ้างอิง
1. Lionel A. Mandell, Richard G. Wunderink, Antonio Anzueto,et al. Infectious Diseases Society of America/American Thoracic Society Consensus Guidelines on the Management of Community-Acquired Pneumonia in Adults. Clinical Infectious Diseases 2007;44:S27-72.
2. Fine MJ, Auble TE,Yealy DM, et al. A prediction rule to identify low- risk patients with community-acquire dpneumonia. N Engl J Med 1997; 336:243-50.
3. American Thoracic Society. Guidelines for the Management of Adults with Community-acquired Pneumonia. Diagnosis. Am J Respir Crit Care Med 2001; 63:1730-54.
4. สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคปอดอักเสบชุมชนในประเทศไทย (สำหรับผู้ใหญ่) (Guidelines for the Management of Adults with Community-acquired Pneumonia). (cited 2006 Nov 24) : Available from:URL:http://thaithoracic.or.th/knowledge/download/capUravad.pdf.
 
รพีพร โรจน์แสงเรือง พ.บ., อาจารย์
ยุวเรศ สิทธิชาญบัญชา พ.บ., อาจารย์
ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

ป้ายคำ:
  • โรคตามระบบ
  • การรักษาเบื้องต้น
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • ดูแลสุขภาพ
  • แพทย์เวร
  • ปอดอักเสบ
  • พญ.ยุวเรศ สิทธิชาญบัญชา
  • พญ.รพีพร โรจน์แสงเรือง
  • อ่าน 33,561 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

286-012
วารสารคลินิก 286
ตุลาคม 2551
แพทย์เวร
พญ.ยุวเรศ สิทธิชาญบัญชา, พญ.รพีพร โรจน์แสงเรือง
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa