Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • สมัครสมาชิก
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • แอพลิเคชั่น DoctorMe
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » คนเลี้ยงแพะ
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

คนเลี้ยงแพะ

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 มกราคม 2550 00:00

        

นอกจาก พังงา จะมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะ เมืองท่องเที่ยว และเป้าหมายการถล่มของคลื่นยักษ์ พังงายังเป็นเบ้าหลอมเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ.

อาชีพเลี้ยงแพะเป็นหนึ่งในหลายอาชีพทางเกษตรกรรมที่ได้รับผลกระทบทางลบจากการพัฒนา จังหวัดท่องเที่ยวอย่างพังงาจึงมีราคาที่ดินสูงขึ้น (ปัจจุบันที่ดินในจังหวัดพังงาราคาไร่ละ 8 แสนบาทเป็นอย่างต่ำ) นั่นคือ ทำให้ต้นทุนการผลิตของอาชีพเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น. การเลี้ยงแพะชนิดปล่อยให้หากินหญ้าตามทุ่งจึงขัดแย้งกับแนวโน้มของราคาที่ดิน เช่นเดียวกันการลงทุนซื้อที่มาปลูกหญ้าเลี้ยงแพะก็ไม่คุ้มค่า ชาวบ้านที่อยู่กับอาชีพเลี้ยงแพะเช่นนี้มาหลายชั่วอายุคน ก็ถึงทางตัน การหันเหชีวิตโดยไม่ได้เตรียมพร้อมให้ดีพอจะเกิดอะไรขึ้น. รูปธรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นมานานคือ การอพยพเข้าเมืองขายแรงงาน ถ้าเป็นแรงงานราคาถูก ถิ่นที่อยู่ในเมืองที่เป็นไปได้มากที่สุดสำหรับพวกเขาก็คือ "สลัม". งานวิจัยในอดีตชี้ให้เห็นว่า เบาหวานและความดันเลือดสูงของคนสลัมชุกชุมมากกว่าคนเมืองทั่วไปและมากกว่าคนชนบท.

การป้องกันไม่ให้คนชนบทอพยพเข้าเมือง โดยขาดการเตรียมพร้อม จึงแก้ทั้งปัญหาเมืองและชนบท เป็นหลักการที่รู้ทั่วกัน และแน่นอนมีทางเลือกมากมายในการป้องกัน.

ทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจคือ การสอนตัวเอง ให้รู้จักปรับตัว โดยเรียนรู้จากการกระทำของตนเอง.
กลับไปที่กรณีทางตันของคนเลี้ยงแพะที่พังงา การสอนตัวเอง ทำให้เกิดคำถามว่า นอกจากหญ้า แพะกินอะไรอีก. จากการสังเกตเกษตรกรพบว่า มันกินอาหารหลายชนิด บางชนิดต้องซื้อ บางชนิดไม่ต้องซื้อ ที่ไม่ต้องซื้อและหาได้ง่ายคือ ทางใบปาล์ม ซึ่งถูกทิ้งขว้างเสมือนไร้คุณค่า. เลยเกิดสมมติฐานว่า ถ้าเลี้ยงแพะด้วยทางใบปาล์มจะได้ผลอย่างไร นำไปสู่การทดลองให้แพะกินทางใบปาล์ม และพบว่าแพะก็กินได้. ต่อมาทดลองเติมผลปาล์มที่ขายไม่ได้ราคาเป็นอาหารเสริมเพิ่มโปรตีนให้แพะก็ได้ผลดี ฯลฯ สรุปว่าที่เกษตรกรลองผิดลองถูกโดยมีวิธีคิดที่เป็นระบบดังที่กล่าวมาทำให้สามารถลดหนี้สินครัวเรือน (ค่าเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับปีละ 1 แสนบาท) ลดต้นทุนการผลิต ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก นี่เองคือตัวอย่างของการพึ่งตนเอง ซึ่งในที่สุดทำให้นายสงวน มงคลศรีพันเลิศ ได้รับการยกย่องเป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาปศุสัตว์ ปี พ.ศ.2548 เขาถ่ายทอด บทเรียนไว้อย่างน่าฟังว่า

"เศรษฐกิจพอเพียงจะบรรลุผลก็ต่อเมื่อ เราต้องคิดเองเป็น ทำเองได้ และพึ่งพาตัวเองได้มากที่สุด......อย่างค่อยเป็นค่อยไป".

ได้ยินเช่นนี้ แล้ว พวกศรีธนญชัยอาจตีความต่อไปว่า ต่อไปนี้รัฐก็ควรปล่อยให้ชาวบ้านอยู่ไปตามมีตามเกิดของเขาดีกว่า โชคดีที่ความจริงหลายส่วนของกลไกรัฐไทยไม่ได้ทำเช่นนั้น เช่นเดียวกับรัฐบาลไต้หวัน ที่เขาเข้าใจนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยให้ชาวบ้านเรียนรู้ได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น กว้างไกลขึ้น โดยพัฒนาระบบไอทีที่ชาวนาสามารถตั้งคำถามในชีวิตประจำวัน เช่น แมลงตัวดำ กระโดดได้ ทำลายต้นข้าว คือตัวอะไร จะปราบอย่างไร วิธีการนั้นได้ผลคุ้มค่าแค่ไหน จะไปหาได้ที่ใด ฯลฯ แล้วระบบก็จะหาคำตอบให้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกนานเกินจำเป็น.
 

ป้ายคำ:
  • อื่น ๆ
  • ปัจฉิมพากย์
  • อ่าน 1 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

265-020
วารสารคลินิก 265
มกราคม 2550
ปัจฉิมพากย์
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa