Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ภาวะเหล็กเกิน Iron overload management
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ภาวะเหล็กเกิน Iron overload management

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 กรกฎาคม 2550 00:00

โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีภาวะซีดแบบเรื้อรังต้องได้รับการถ่ายเลือดต่อเนื่องเป็นระยะ ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการมีภาวะเหล็กเกินในร่างกาย เนื่องจากในร่างกายของคนเราไม่มีกลไกในการขับเหล็กออก เหล็กที่รับเข้าไปเพิ่มจากการรับเลือดจะสะสมอยู่ในร่างกายและเป็นพิษได้.

ภาวะเหล็กเกินคืออะไร?
การถ่ายเลือดช่วยให้ผู้ป่วยเลือดจางแข็งแรงขึ้น ทุกครั้งที่ได้รับการถ่ายเลือดผู้ป่วยจะได้รับเหล็กซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์เม็ดเลือดแดง เหล็กจะเริ่มสะสมภายในร่างกายหลังจากได้รับการถ่ายเลือดประมาณ 10 ครั้ง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถกำจัดเหล็กออกได้ เมื่อเหล็กภายในร่างกายมีระดับสูงมากเกินไป จะเกิดความเป็นพิษขึ้น เรียกภาวะนี้ว่า ภาวะเหล็กเกิน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนอันเป็นผลจากการถ่ายเลือดบ่อยครั้ง.

ทำไมภาวะเหล็กเกินจึงเป็นอันตราย?
ภาวะเหล็กเกินจะเกิดการสะสมของเหล็กภายในอวัยวะที่สำคัญภายในร่างกายผู้ป่วย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ ภาวะเหล็กเกินอาจไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บป่วย แต่มีอันตรายต่อร่างกายผู้ป่วยเมื่อเวลาผ่านไป.

ผู้ใหญ่และเด็กประมาณ 100,000 รายทั่วโลก ที่ได้รับการถ่ายเลือดอย่างเพียงพอจะเกิดภาวะเหล็กเกินขึ้น.

ผู้ป่วยต้องได้รับการถ่ายเลือดกี่ครั้ง จึงจะทำให้เกิดภาวะเหล็กเกิน?
ในการถ่ายเลือด 1 ครั้ง ผู้ป่วยจะได้รับเลือด 2 ยูนิต และผู้ป่วยอาจเกิดภาวะเหล็กเกินได้ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะเว้นช่วงระยะเวลาของการถ่ายเลือดนานเป็นปีก็ตาม.

การติดตามการถ่ายเลือดของผู้ป่วย
การติดตามจำนวนยูนิตที่ผู้ป่วยได้รับการถ่ายเลือดทั้งในอดีตและปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าผู้ป่วยต้องได้รับการถ่ายเลือดใกล้เคียงหรือมากกว่า 20 ยูนิต ตลอดช่วงชีวิต การตรวจวัดระดับเหล็ก (ตรวจระดับเฟอร์ริทินในเลือด) จะช่วยประเมินความเสี่ยงต่อภาวะเหล็กเกิน.

การรักษาภาวะเหล็กเกิน
หากปล่อยภาวะเหล็กเกินไว้โดยไม่ได้รับการรักษา เหล็กที่มีมากเกินไปจะทำลายตับ หัวใจ และต่อมไร้ท่อ.

ยาขับเหล็ก (iron chelator) เป็นยาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเหล็กส่วนเกินและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากภาวะเหล็กเกินได้ ซึ่งยาดังกล่าวจะจับเหล็กภายในร่างกาย และช่วยกำจัดเหล็กออกจากร่างกายทางปัสสาวะและอุจจาระ. เป้าหมายของการขับเหล็กคือ กำจัดเหล็กส่วนเกิน. ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการถ่ายเลือด และใช้ยาขับเหล็กไปตลอดชีวิต.

เดิมที desferoxamine เป็นยามาตรฐานที่ใช้ในการขับเหล็ก ช่วยยืดชีวิตผู้ป่วยและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น การบริหารยานี้อาศัยการหยดยาเข้าไต้ผิวหนังโดยใช้เข็มและเครื่องปั๊มยานาน 8-12 ชั่วโมงต่อคืน เป็นเวลา 5-7 คืนต่อสัปดาห์. ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการขับเหล็กมากกว่า 250 ครั้งต่อปี หลายรายหยุดหรือหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ ผลคือ ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีความเสี่ยงจากภาวะเหล็กเกิน.

แต่ด้วยความก้าวหน้าล่าสุดทางวิทยาศาสตร์ ได้มีการคิดค้นยาขับเหล็กชนิดใหม่เป็นยาเม็ดชนิดละลายทันทีในน้ำหรือน้ำส้ม 1 แก้ว กินวันละครั้ง ทุกวัน. ยานี้มีประสิทธิภาพในการขับเหล็กที่มากเกินไปได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง จึงจัดเป็นทางเลือกใหม่แทนการใช้ยาแบบเดิม.

นพดล ศิริธนารัตนกุล พ.บ.,
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร. วิปร วิประกษิต พ.บ.
รองศาสตราจารย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา ภาควิชากุมารเวชกรรม
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ป้ายคำ:
  • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
  • โรคเรื้อรัง
  • การรักษาเบื้องต้น
  • ดูแลสุขภาพ
  • นานาสาระ
  • ภาวะเหล็กเกิน
  • นพ.นพดล ศิริธนารัตนกุล
  • นพ.วิปร วิประกษิต
  • อ่าน 15,188 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

271-007
วารสารคลินิก 271
กรกฎาคม 2550
นานาสาระ
นพ.นพดล ศิริธนารัตนกุล, นพ.วิปร วิประกษิต
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa