Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » พญ. วัชรา ริ้วไพบูลย์ ถอดรหัสความจริงผู้พิการ
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

พญ. วัชรา ริ้วไพบูลย์ ถอดรหัสความจริงผู้พิการ

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 กรกฎาคม 2550 00:00

"คนตาบอดบางคนอยากไปดูหนัง คนอื่นได้ยินก็หัวเราะ นี่คือความรู้ของคนในสังคมที่ไม่รู้พอ เพราะเขาไม่มีความรู้พอและไม่มีประสบการณ์"Ž

คงไม่ใช่เรื่องแปลกหากเราท่านได้ยินเรื่องดังกล่าว แล้วแอบยิ้มหรือหัวเราะกับเรื่องราวที่ดูเหมือนชวนหัวนี้ เพราะมันไม่น่าเป็นไปได้ แต่กลับกันในอีกมุมหนึ่ง สิ่งที่เป็นไปไม่ได้อาจจะกลายเป็นเรื่องจริงขึ้นมา เนื่องจากอาจเป็นความจริงอีกด้านที่สังคมยังไม่รับรู้ ดังที่ พญ. วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย แห่งศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ได้พยายามค้นหาความหมายของผู้พิการจากมุมมองที่ต่างไป 


                                               

"หมอเรียนจบจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 13 หลังจากเรียนจบได้ไปใช้ทุนที่โรงพยาบาลบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

ช่วงนั้นกำลังมีการเรียกคืนคุณค่าการแพทย์แผนไทย ว่าทำอย่างไรจะนำเอาภูมิปัญญาดั้งเดิมกลับมาใช้ประโยชน์ในระบบสุขาภาพ เพื่อให้ชาวบ้านสามารถพึ่งพาตนเองได้ จากแนวคิดดังกล่าวได้นำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง 5 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลวังน้ำเย็น โรงพยาบาลพล โรงพยาบาลสูงเนิน โรงพยาบาลทุ่งสง และโรงพยาบาลบางกระทุ่ม โดยให้สาธารณสุขมูลฐาน (สสม.) เป็นแกนนำ

พวกเราได้เลือกทดลองสมุนไพรที่ไม่มีพิษ และมีข้อมูลสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ขมิ้นชัน มะขามแขก ฟ้าทะลายโจร ว่านหางจระเข้ เสลดพังพอน ทดลองทำทุกกระบวนการตั้งแต่การปลูก จนกระทั่งนำมาใช้กับคนไข้จริงๆ ตอนแรกก็ใช้สดๆ ต่อมาพัฒนาบดใส่แคปซูล ถือว่าโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จ เพราะได้แพร่ขยายวงกว้างจนกระทั่งเข้าสู่กระบวนการผลิตขององค์การเภสัชกรรม
จากนั้นย้ายไปทำงานที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยได้มาดูแลผู้ป่วยเบาหวาน การได้มาทำงานตรงนี้ ทำให้เราได้เห็นว่า ระบบการแพทย์เข้าไปจัดการเรื่องของชาวบ้านทั้งหมด โดยไม่ปล่อย ให้พวกเขาเข้ามามีส่วนร่วม ผ่านการบอกเล่าประสบการณ์ของผู้ป่วยรายหนึ่ง ที่เคยไปหาหมอคนอื่นแล้วถูกดุ สาเหตุเนื่องจากไม่ยอมควบคุมน้ำตาล ปล่อยให้ขึ้นสูง แต่คนไข้รายนี้ไม่เคยรู้ระดับน้ำตาล ของตัวเองมาก่อนเลย และยังไปกินยาสมุนไพร

เรื่องดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า การจัดการเรื่องสุขภาพไม่ใช่อำนาจของหมอ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเท่านั้น แต่เป็นบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าตัวเอง ซึ่งวิธีคิดแบบนี้ไม่ได้ผลักภาระให้เขาต้องรับผิดชอบตนเอง แต่หมายความว่าเราต้องเปิดใจกว้าง ความรู้ของหมอเป็นความรู้ส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่จะนำมาเลือกใช้ว่าเหมาะสมหรือไม่อย่างไร และจะใช้ร่วมกับอะไรจึงได้ให้ผลดีที่สุด และคนไข้รับได้มากที่สุด

จากการเป็นแพทย์ในโรงพยาบาล ปัจจุบันหันมาทำงานในตำแหน่งผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย ที่ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ โดยดูแลในเรื่องนโยบาย


สาเหตุที่หันมาสนใจเรื่องคนพิการ เพราะตลอดเวลาที่เป็นหมอมีคำถามคาใจที่เราไม่สามารถตอบคนไข้ได้คือเรื่องความพิการ เราจึงพยายามหาความรู้เพื่อขจัดความสงสัยดังกล่าว

จากประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิชาการ และการทำงานทำให้ทราบว่า แท้จริงแล้วความพิการไม่ได้เป็นปัญหาทางกายภาพ เท่านั้น แต่ถูกกำหนดจากสังคมด้วย คนพิการบางคนอาจไม่มีปัญหาในการดำเนินชีวิต แต่เพราะสังคมมองว่าเขาไม่มีศักยภาพจะทำอะไรได้ จึงลดบทบาทของเขาลง เขาพิการโดยความหมายของสังคม ไม่ใช่โดยเหตุแห่งความพิการ

ฉะนั้นสังคมจึงมองว่าคนพิการคือภาระที่คนปกติต้องคอยสงเคราะห์ เป็นการมองคนพิการในแง่ลบ ทำให้ไม่ได้ช่วยคนพิการให้ตระหนักถึงศักดิ์ศรีของตัวเอง เช่น เวลาทำบุญ คนบางคนอาจอยากไปทำบุญกับคนพิการ เพื่อชาติหน้าจะได้ไม่เกิดมาพิการ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าสังคมได้ลดทอนคุณค่าของคนพิการ แม้แต่องค์กรที่ทำงานเพื่อคนพิการเอง ก็ยังเน้นการสงเคราะห์จนสร้างคนทัศนคติแก่ผู้พิการว่า ตนทำได้เพียงผู้ที่คอยรับความช่วยเหลือเพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีศักยภาพพอจะลุกขึ้นมาทำอะไร
ด้วยเหตุนี้เราจึงได้วางแนวทางการทำงานไว้ 5 ด้านด้วยกัน ด้านแรกการสร้างเครือข่าย โดยการปรับเปลี่ยนเปลี่ยนทัศคติการมองคนพิการใหม่ ด้านที่สองสร้างความรู้ใหม่ที่ไม่ใช่การวิจัยเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการให้ความรู้อีกมุมหนึ่งของคนพิการในด้านที่ประสบความสำเร็จ ด้านที่สามคือการเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวออกไปสู่สังคม ด้านที่สี่ สร้างกระบวนการพัฒนานโยบายที่เฉพาะเจาะจงสำหรับคนพิการ และด้านสุดท้ายสนับสนุนเครือข่ายทำงานเชิงนวัตกรรมและเปิดกว้าง ให้คนพิการเข้ามามีส่วนร่วมด้วย"

สำหรับการทำงานเพื่อผู้พิการ พญ.วัชรา ยอมรับว่าสิ่งที่ยากที่สุดคือการทำให้สังคมเปลี่ยนทัศคติการมองคนพิการใหม่ มองพวกเขาอย่างมนุษย์คนหนึ่งที่มีทั้งศักดิ์ศรีและศักยภาพ

บทสรุปของงานที่ทำนี้จึงยังไม่อาจหาคำตอบได้ว่าสุดท้ายแล้วจะลงเอยเช่นไร เพราะทุกคนล้วนมีส่วนรับผิดชอบในการค้นหาคำตอบ
 

ป้ายคำ:
  • แพทย์แผนไทย
  • การแพทย์ทางเลือก
  • คุยสุขภาพ
  • ดูแลสุขภาพ
  • หมอพันธุ์ใหม่กับการสร้างเสริมสุขภาพ
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส
  • อ่าน 5,198 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

271-017
วารสารคลินิก 271
กรกฎาคม 2550
หมอพันธุ์ใหม่กับการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)< และสถาบัน ChangeFusion< พัฒนาระบบโดย Opendream< สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa <