Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » Didanosine induced myopathy in HIV infected patient
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

Didanosine induced myopathy in HIV infected patient

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 สิงหาคม 2550 00:00

ผู้ป่วยหญิงไทยหม้ายอายุ 35 ปี น้ำหนัก 68 กิโลกรัม ส่วนสูง 163 เซนติเมตร. เมื่อ 9 ปีก่อนได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวี ไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง จนเมื่อ 2 ปีก่อนได้รับการวินิจฉัยเป็นเอชไอวีร่วมกับวัณโรคปอด ได้รับยาต้านไวรัสร่วมกับยารักษาวัณโรค. ต่อมาตรวจพบว่าเริ่มมี partial resistance ต่อ AZT, ddI, 3TC และ high level resistance ต่อ NVP รวมทั้งพบว่ามีผลข้างเคียงจาก AZT (พบภาวะโลหิตจางและเม็ดเลือดขาวต่ำ) และ d4T (พบผื่นคัน). แพทย์จึงได้ปรับสูตรยาเป็น ddI + 3TC + indinavir/ritonavir ซึ่งได้กินติดต่อกันมาเป็นเวลาประมาณ 1 ปี 2 เดือน.

1 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการร้อนภายใน เหงื่อออก ตัวเย็น ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ เหนื่อย ปั่นป่วนในท้อง และถ่ายอุจจาระโดยควบคุมไม่ได้ 1 ครั้ง ยืนทรงตัวไม่ได้ ล้มลง ปากเขียว. ญาตินำส่งโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัยมีภาวะช็อก โดยตรวจพบสัญญาณชีพดังนี้

T 36๐ซ., BP 110/70 มม.ปรอท, P 128 ครั้ง/นาที, R 28 ครั้ง/นาที.
ผล CBC มี hemoconcentration (ฮีโมโกลบิน 20.2 กรัม/ดล., ฮีมาโตคริต 58.7%).

ผลเอนไซม์ตับสูงเล็กน้อย (ALP 107 U/L, AST 68 U/L), BUN 32 มก./ดล. และ Cr 1.6 มก./ดล.
การตรวจอีเล็กโตรไลต์พบ Na 135 มิลลิโมล/ลิตร, K 29 มิลลิโมล/ลิตร, Cl 99 มิลลิโมล/ลิตร, HCO3- 21.5 มิลลิโมล/ลิตร, anion gap 14.5 มิลลิโมล/ลิตร.

2 วันแรกที่นอนในโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนบ่อย กินอาหารไม่ได้.

12 วันของการนอนโรงพยาบาล มีอาการปวดต้นขาขวามาก ขาซ้ายชา ท้องเสียประมาณ 10 ครั้ง แพทย์สงสัยอาการไม่พึงประสงค์จากยา แจ้งเภสัชกร.

13 วันของการนอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยปวดขาทั้ง 2 ข้าง ไม่สามารถลุกเดินได้ ยังคงท้องเสียประมาณ 10 ครั้ง ปัสสาวะเป็นสีส้ม ซึ่งอาจเนื่องมาจาก myoglobinuria หรือนิ่วจาก indinavir ก็ได้. ในกรณีที่เกิดจาก myoglobin ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการแสดงค่า CK ≥ 10 เท่า ของ upper limit (ซึ่งมีนัยสำคัญทางคลินิกแสดงว่ามีการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ) และมักจะตรวจไม่พบ hematuria. สำหรับค่าอีเล็กโตรไลต์ส่วนมากระดับ bicarbonate และ anion gap (Na+ - [HCO3- + Cl -]) มักอยู่ในค่าปกติ แต่เอนไซม์ตับจะสูงขึ้นเล็กน้อย.1 ผลทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยรายนี้เข้าได้กับภาวะ myoglobinuria.

ในผู้ป่วยรายนี้อาการที่นำให้มาโรงพยาบาล คือ ภาวะช็อก ซึ่งผู้ป่วยกินอาหารได้ตามปกติ ไม่มีบาดแผล. ดังนั้น อาจเนื่องมาจากการใช้ยากลุ่ม NRTI ในระยะเวลานานซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิด mitochondria toxicity เกิด anaerobic pathway โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการใช้ยา zalcitabine, didanosine หรือ stavudine. สำหรับผู้ป่วยรายนี้ได้รับยา 2NRTI + PI เป็นเวลา 1 ปี 3 เดือน โดยที่ 2NRTI ที่ได้รับระยะแรกได้แก่ AZT (d4T) + 3TC หลังจากนั้น เปลี่ยนมาใช้ ddI + 3TC. สรุปผู้ป่วยได้รับยาสูตรปัจจุบันได้แก่ ddI + 3TC + PI (IDV/RTV) ประมาณ 1 ปี 2 เดือน.

สำหรับยาในกลุ่ม NRTI เมื่อจัดลำดับความสามารถยับยั้ง gamma-polymerase ซึ่งใช้ในการ สร้าง mitochondria DNA ดังนี้ zalcitabine > didanosine > stavudine > lamivudine ≥ abacavir ≥ tenofovir ≥ emtricitabine.1 จากการเกิด mitochondria toxicity (mtDNA depletion) มีผลทำให้ oxygen hypoperfusion เซลล์กล้ามเนื้อถูกทำลาย ทำให้เพิ่มการสะสมน้ำในเซลล์กล้ามเนื้อลายที่บาดเจ็บ เกิด hypovolemia (ภาพที่ 1) นอกจากนี้ ร่างกายจะปรับเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมอง ทำให้ renal perfusion ลดลง จึงมีการปรับตัวให้ afferent ขยาย efferent หดเพื่อให้ GFR ปกติ. กลไกอีกอย่างหนึ่งก็ คือ เกิดการกระตุ้น renin-angiotensin aldosterone ทำให้ร่างกายเก็บ Na เพิ่ม osmolarity สูงขึ้น มีผลกระตุ้น antidiuretic hormone เพื่อทำให้เก็บน้ำได้มากขึ้น เลือดไหลเวียนมากขึ้น urea สูงขึ้น ทำให้ BUN และ Cr สูงขึ้น. กลไกปรับตัวนี้ใช้ได้เพียงระยะหนึ่ง ถ้าปล่อยนานขึ้น จะเกิด ischemic tubular necrosis ไตเสียหน้าที่ขับของเสีย เสียสมดุลน้ำ เกลือแร่ กรด-ด่าง เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน.

ภาพที่ 1. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยากลุ่ม NRTI.





ในผู้ป่วยรายนี้พบมีค่า Cr และ BUN สูงขึ้นและการประเมิน ADR probablity score ของ ddI ทำให้เกิด myopathy= +5 (probable).


อาการแสดงที่มักพบในผู้ป่วย
♦ Fatigue, weakness
♦ Dehydration
♦ Gastrointestinal (nausea, vomiting, diarrhoea, anorexia, abdominal pain, hepa tomegally)
♦ Tachypnoea, dyspnoea

14 วันของการนอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยได้รับการส่งตรวจ CTA lower extremities และหยุดยา didanosine. ผล CTA lower extremities ไม่พบ vascular occlusion.

17 วันของการนอนโรงพยาบาล CK = 4,248 U/L, ตรวจปัสสาวะไม่พบ hematuria และ Cr ในเลือด 1.0 มก./ดล.

18 วันของการนอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ได้รับอนุญาตจากแพทย์ให้กลับบ้านได้. ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ CK = 436 U/L, ALP 136 U/L, AST 55 U/L และ ALT 58 U/L. แพทย์และเภสัชกรอธิบายสาเหตุและการแก้ไขอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย นัดติดตามผู้ป่วย 2 สัปดาห์.

2 สัปดาห์ หลังจากออกจากโรงพยาบาล มา พบแพทย์ตามนัด มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนี้ BUN 17 มก./ดล., Cr 0.9 มก./ดล., AST 25 U/L และผล CBC อยู่ในเกณฑ์ปกติ.
แพทย์สั่งจ่ายยา AZT, 3TC, indinavir และ ritonavir.

กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบพระคุณ นายแพทย์ธนพัฒน์ พวงเพชร อายุรแพทย์ ที่กรุณาตรวจทานต้นฉบับ และผู้ป่วยที่ได้อนุญาตและส่งเสริมการนำเสนอบทความนี้.

HRZE = Isoniazid Rifampicin Pyrazinamide Ethambutol
S = Streptomycin
CTA = Computed tomography Angiography

เอกสารอ้างอิง
1. Walker UA, McComsey GA. Mitochondrial Toxicity of Nucleoside Analogs, in HIV Medicine. In : Kamps BS, ed. Paris : Flying publisher, 2006:317-26.

ปราณี ลัคนาจันทโชติ ภ.บ., ภ.ม.
โรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

 

ป้ายคำ:
  • กรณีศึกษา
  • โรคตามระบบ
  • โรคติดเชื้อ
  • คุยสุขภาพ
  • แพทย์เวร
  • HIV
  • ภก.ปราณี ลัคนาจันทโชติ
  • อ่าน 4,146 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

272-009
วารสารคลินิก 272
สิงหาคม 2550
แพทย์เวร
ภก.ปราณี ลัคนาจันทโชติ
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)< และสถาบัน ChangeFusion< พัฒนาระบบโดย Opendream< สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa <