Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » รศ.นพ. รณชัย คงสกนธ์ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่ไม่ใช่เรื่องผัวเมีย
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

รศ.นพ. รณชัย คงสกนธ์ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่ไม่ใช่เรื่องผัวเมีย

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 สิงหาคม 2550 00:00

"สังคมยังมีเจตคติที่ว่า ความรุนแรงในครอบครัวถือเป็นเรื่องส่วนตัวภายในของครอบครัว บุคคลภายนอก ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว บางคนยังมองด้วยซ้ำไปว่า สามีมีสิทธิตบตีภรรยาได้ เพราะถือภรรยาเป็นทรัพย์ ที่ปรนเปรอความสุขทางเพศ ซึ่งเจตคติเหล่านี้ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดความไม่ความเท่าเทียมกันทางสิทธิ ชายหญิง"
 

                                                      
Ž
คำกล่าวของ รศ.นพ. รณชัย คงสกนธ์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี และกรรมการสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ชีวิตอีกด้านหนึ่งได้เข้าไปช่วยแก้ปัญหาสังคมส่วนของความรุนแรงในครอบครัว เป็นข้อความที่สะท้อนให้เห็นความห่วงใยต่อผู้ที่กำลังเผชิญกับปัญหาดังกล่าว ที่สังคมปล่อยปละละเลย ให้ผู้ถูกกระทำความรุนแรง ต้องเผชิญกับความทุกข์นี้เพียงลำพัง

คุณหมอสำเร็จการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ปี พ.ศ. 2528 ระหว่างเรียนแพทย์อยู่นั้นได้ลงเรียนที่คณะนิติศาสตร์ ม.รามคำแหง ควบคู่ไปด้วย เพราะสนใจงานทางด้านกฎหมายและการเมือง
หลังจากเรียนจบแล้ว คุณหมอมาทำงานเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามัน จังหวัดยะลา จากนั้นได้ตัดสินใจมาเรียนต่อในสาขาจิตเวชศาสตร์ ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ

ต่อมาได้มาทำงานที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ช่วงนี้คุณหมอได้มีโอกาสทำงานร่วมกับแพทยสภาเพื่อแก้ไขข้อกฎหมายเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ ตามประมวญกฎหมายอาญามาตรา 305 โดยได้เพิ่มเติมความหมายของคำว่า "สุขภาพของหญิง" ให้รวมเรื่องสุขภาพใจเข้าไปด้วย สาเหตุที่คณะทำงานพยายามเพิ่มเติมคำอธิบายข้อกฎหมายดังกล่าว ก็เพื่อแก้ไขปัญหาการทำแท้ง เถื่อนที่มีจำนวนมากถึง 300,000 รายต่อปี

การได้เข้าไปทำงานดังกล่าว ทำให้คุณหมอมองเห็นปัญหาสังคมในเรื่องความรุนแรงชัดเจนขึ้น นอกเหนือจากการได้สัมผัสในฐานะจิตแพทย์ คุณหมอพบว่าสาเหตุปัญหาทางจิตใจของคนไข้ทางจิตเวช หลายส่วนมาจากปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เช่น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบางคน เติบโตมาในครอบครัวที่พ่อแม่ใช้ความรุนแรง ส่งผลให้รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า แล้วพยายามฆ่าตัวตาย หรือคนไข้บางคนถูกสามีทำร้ายจนเป็นโรคจิต ปัญหานี้แทบไม่มีทางออก เพราะไม่มีแนวทางการแก้ไขที่ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าภรรยาถูกสามีทำร้าย แล้วไปแจ้งตำรวจ ตำรวจก็จะผลักไสไล่ส่งให้กลับไปแก้ปัญหากันเอง โดยอ้างว่าเป็นเรื่องในครอบครัว ซึ่งเรามักได้ยินข้ออ้างนี้เป็นประจำ แต่สุดท้ายก็ขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์กลายเป็นศพอยู่ในบ้าน

คุณหมอจึงลุกขึ้นมาทำงานเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว เพื่อบอกสังคมว่าความรุนแรงในครอบครัวไม่ใช่ความรุนแรงในครอบครัว แต่เป็นเรื่องที่สังคมต้องหันมามองแล้วช่วยกันแก้ไข

คุณหมอทำงานนี้มา 7-8 ปีแล้ว โดยทำ 3 ด้านด้วยกัน ด้านแรกคือ การศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับลักษณะความรุนแรง รูปแบบ ขนาด สาเหตุ และวิธีแก้ปัญหา โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลจากการศึกษาทำให้พบว่าสาเหตุที่สัมพันธ์อันหนึ่งกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวคือ การดื่มสุราของบุคคลในครอบครัว ครอบครัวที่มีสมาชิกในบ้านดื่มสุรามีโอกาสใช้ความรุนแรงเมื่อเทียบกับครอบครัวที่ไม่ดื่มถึง 4 เท่า หากปัญหาการดื่มสุราหมดไป นอกจากแก้จนแล้ว ยังช่วยสร้างสังคมไทยให้มั่นคงยิ่งขึ้น ในแง่จิตใจภรรยาและลูกไม่ต้องหวาดกลัวถูกหัวหน้าครอบครัวทำร้าย ลูกก็เติบโตอย่างมั่นคงทางจิตใจ

ด้านที่สองคือ การสร้างเครือข่าย เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือในการแก้ปัญหา เช่น ได้ร่วมมือกับมูลนิธิเพื่อนหญิง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศูนย์พึ่งได้ของกระทรวงสาธารณสุข สำนักพัฒนาสังคม ของกทม. ศูนย์บ้านพักฉุกเฉิน เป็นต้น

และด้านสุดท้ายคือ การผลักดันในเชิงนโยบาย โดยที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับกระทรวงยุติธรรมจัดทำโครงการครอบครัวสมานฉันท์ เมื่อภรรยามาขอความช่วยเหลือที่โรงพัก เราจะมีทีมสหวิชาชีพ เช่น เจ้าหน้าที่กรมคุมประพฤติ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ จิตแพทย์ มาช่วยแก้ปัญหา และจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายบังคับสามีที่กระทำความรุนแรง ผิดกฎหมายอาญาต่อภรรยาที่มาร้องทุกข์เข้าสู่โรงซ่อมสามี เพื่อบำบัดพฤติกรรมรุนแรง

นอกจากนี้ยังได้ผลักดัน พ.ร.บ. คุ้มครองป้องกันความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และเข้าสู่สภาผ่านวาระที่ 1 แล้ว และกำลังจะเข้าสู่วาระที่ 2,3 ต่อไป และในขณะนี้ยังได้กำลังทำงานร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สร้างศูนย์ข้อมูลความรุนแรงแห่งชาติขึ้น เพื่อรวบรวมวิเคราะห์ สถิติในการจัดวางยุทธศาสตร์สำหรับแก้ปัญหานี้ต่อไป

รศ.นพ.รณชัย กล่าวทิ้งท้ายที่สะท้อนถึงผลลัพธ์ หากสังคมไทยสามารถแก้ปัญหาความรุนแรงให้หมดสิ้นไปว่า "ถ้าเราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ อาจไม่ต้องมียุทธการต่อสู้ยาเสพติด ที่ปราบเท่าไหร่ก็ไม่หมด เพราะเด็กที่เติบโตมาในครัวครัวอบอุ่น จะมีโอกาสติดยาเสพติดน้อยลง หากสังคมไทยมีครอบครัวที่อบอุ่นไร้ความรุนแรง เราจะสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับเด็กของเราต่อไปในอนาคต ลดซึ่งปัญหาความรุนแรงในสังคมปัญหายกพวกตีกันของวัยรุ่น ปัญหาทางเพศ รวมทั้งปัญหาการทำแท้ง ที่เป็นปัญหาสังคมในปัจจุบันนี้"Ž
 

ป้ายคำ:
  • แม่และเด็ก
  • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • คุยสุขภาพ
  • หมอพันธุ์ใหม่กับการสร้างเสริมสุขภาพ
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส
  • อ่าน 5,864 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

271-016
วารสารคลินิก 272
สิงหาคม 2550
หมอพันธุ์ใหม่กับการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa