Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » Medical Dilemma : ความลับผู้ป่วย สิทธิผู้ป่วย และจรรยาบรรณทางการแพทย์
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

Medical Dilemma : ความลับผู้ป่วย สิทธิผู้ป่วย และจรรยาบรรณทางการแพทย์

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 กันยายน 2550 00:00

สถานการณ์ตัวอย่าง 
► นายชาติชาย อายุ 37 ปี สมรสแล้วมีบุตร 2 คน ตรวจเลือดไวรัสเอดส์เป็นผลบวก CD 4=180
ร้องขอให้แพทย์เก็บข้อมูลนี้ไว้เป็นความลับไม่บอกแม้แต่ภรรยาของเขา.
ท่านเป็นแพทย์ผู้ดูแลรักษา มีแนวทางปฏิบัติตนอย่างไร?

► นายชนะ อายุ 62 ปี เกิดอาการ anaphylactic shock หลังได้รับการฉีดยา ceftriaxone เพื่อ รักษาภาวะปอดบวม เวชระเบียนระบุไว้แน่ชัดว่าผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยากลุ่ม penicillins อย่างรุนแรง เมื่อ 1 ปีก่อน. ท่านเป็นผู้สั่งการรักษา กระทำพลาดครั้งนี้ด้วยเลินเล่อมิได้ตรวจสอบประวัติดังกล่าว มีแนวทางปฏิบัติตนอย่างไร?

► นางสมใจ อายุ 59 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น breast cancer stage 4 รับไว้ในโรงพยาบาล ครั้งนี้ด้วยภาวะไข้สูงและความดันเลือดต่ำ สภาพร่างกายของผู้ป่วยเปราะบางมากและการพยากรณ์โรคไม่ดี ท่านเคยพูดคุยกับผู้ป่วยทราบว่า ผู้ป่วยเข้าใจและทำใจได้หากต้องเสียชีวิต แต่ไม่ได้บันทึกไว้ในเวชระเบียน. สามีซึ่งอยู่ดูแลผู้ป่วยในระยะ 10 ปีหลัง แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส บอกแพทย์ถึงความปรารถนาของผู้ป่วยที่ต้องการเสียชิวิตโดยสงบ ไม่ขอรับการใส่ท่อช่วยหายใจ และการนวดหัวใจในกรณีหัวใจหยุดเต้น. ในขณะที่ความดันเลือดของผู้ป่วยตกไปที่ 70/40 มิลลิเมตรปรอท บุตรชายของผู้ป่วยซึ่งปัจจุบันย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย เดินทางมาถึง ขัดแย้งกับสามีผู้ป่วยอย่างรุนแรงและร้องขอให้แพทย์ทำปฏิบัติการกู้ชีวิต.
ท่านเป็นแพทย์ผู้ดูแลรักษา มีแนวทางปฏิบัติตนอย่างไร

► เด็กชายวินัย อายุ 14 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น ALL แพทย์แนะนำให้เข้ารับยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาล. ผู้ปกครองของเด็กไม่เชื่อถือในวิทยาการแพทย์และกลัวบุตรเสียชีวิตจากการรับยาเคมี แสดงความจำนงขอนำบุตรชายไปรักษากับหมอพระที่จังหวัดตาก โดยไม่ฟังคำทัดทานของทีมแพทย์ผู้รักษา.
ท่านเป็นแพทย์ผู้ดูแลรักษา มีแนวทางปฏิบัติตนอย่างไร?



ในเวชปฏิบัติแพทย์หลายท่านอาจเคยได้รับรู้ถึงความกระอักกระอ่วนใจจากเหตุการณ์ลักษณะนี้ และเป็นที่คาดหมายว่า เรื่องราวดังกล่าวจะเกิดบ่อยมากขึ้น ตามสภาพสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในสังคมเมือง ต้องยอมรับว่าเวชปฏบัติในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังอาศัยวีธีประนีประนอม พลิกแพลงตามสถานการณ์เหตุการณ์นั้นๆ แต่ยังขาดหลักคิดที่เป็นมาตรฐาน. เมื่อเป็นดังนี้แพทย์มีแนวทางรับมือกับปัญหาดังกล่าวอย่างไร มีหลักปฏิบัติหรือกฎเกณฑ์ใดๆ หรือไม่ที่ต้องยึดถือ.

ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการกำหนดการสอนเนื้อหาเหล่านี้เข้าในหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์อย่างชัดเจน เพื่อให้มีแนวปฏิบัติที่เป็นสากล ทั้งบรรจุคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤตที่ต้องตัดสินใจเหล่านี้ในการสอบตามหลักสูตร American Board of Internal Medicine คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของข้อสอบทั้งหมด. แนวคิดแก้ปัญหาของแพทย์ จึงค่อนข้างสอดคล้องและมีบรรทัดฐานเดียวกัน นอก จากนี้ ในการปฏิบัติงานจริงยังมีหน่วยงานสนับสนุนแพทย์ครบวงจร ซึ่งปฏิบัติงานแข็งขันเต็มที่ ทำให้การ ทำงานเป็นไปอย่างเป็นมืออาชีพ และไม่เลือกปฏิบัติ.

จากการสำรวจโดยให้แพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรกรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ประจำปี การศึกษา 2550 จำนวน 70 คน ได้ทดลองตอบคำถามข้างต้นโดยใช้แบบสอบถามลักษณะปรนัย และให้ระบุระดับความมั่นใจในการตอบ เป็นมาตรวัด 5 ระดับ (ตามตารางที่ 1) ที่มีต่อแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว

ข้อมูลที่ได้น่าสนใจอย่างยิ่ง ยืนยันถึงความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน และความสับสนในแนวทางการแก้ปัญหาที่พบได้ในเวชปฏิบัติประจำวันของประเทศไทย จึงขอนำเสนอผลสรุปในรูปแบบแผนภูมิแสดงความถี่เป็นเปอร์เซ็นต์ที่แพทย์ประจำบ้านเลือกตอบ และความถี่เป็นเปอร์เซ็นต์ของระดับความมั่นใจ ที่แพทย์ประจำบ้านเลือกให้น้ำหนัก โดยในแต่ละข้อจะได้เทียบแนวคิดตามระบบปฏิบัติของสหรัฐอมเริกา และยกประเด็นปัญหาของประเทศไทยควบคู่ไปด้วย ดังต่อไปนี้

1. นายชาติชาย อายุ 37 ปี สมรสแล้วมีบุตร 2 คน ตรวจเลือดไวรัสเอดส์ เป็นผลบวก CD 4 = 180 ร้องขอให้แพทย์เก็บข้อมูลนี้ไว้เป็นความลับไม่บอกแม้แต่ภรรยาของเขา. ท่านเป็นแพทย์ผู้ดูแลรักษามีแนวทางปฏิบัติตนอย่างไร

1. เป็นความลับผู้ป่วย รับปากและปิดเป็นความลับ.
2. ต้องบอกภรรยาผู้ป่วย และคู่นอนของผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงจากการติดโรคทุกคน.
3. โน้มน้าวให้ผู้ป่วยเป็นผู้บอกผลตรวจกับภรรยาด้วยตนเอง.
4. ส่งจดหมายแนะนำให้ภรรยาและบุตรของผู้ป่วยมารับการตรวจเลือด.

                                                                     ตอบตัวเลือก
                       
               
                                                                   ระดับความมั่นใจ
                        

คำตอบที่ถูกต้องตามเวชปฏิบัติสหรัฐอเมริกา : 3
หลักคิด : "
แพทย์มีหน้าที่รักษาความลับของผู้ป่วยโดยเคร่งครัด แต่ขณะเดียวกันย่อมมีหน้าที่ให้ ความปกป้องประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบด้วย".
แพทย์ทำได้เพียงโน้มน้าวให้ผู้ป่วยบอกความจริงนี้ด้วยตนเอง ไม่สามารถบอกข้อมูลนี้แก่ภรรยาผู้ป่วยได้ จึงมีหน้าที่รายงานให้หน่วยงานของรัฐทราบ และหน่วยงานดังกล่าวจะได้ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิพลเมืองต่อไป โดยแจ้งให้ภรรยาหรือบุคคลอื่นๆ ทราบว่าตนมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรค สมควรเข้ารับการตรวจรักษาโดยเร็วที่สุด.

ปัญหา : ประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานของรัฐปฏิบัติงานในส่วนนี้ ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระแพทย์.

2. นายชนะ อายุ 62 ปี เกิดอาการ anaphy-lactic shock หลังได้รับการฉีดยา ceftriaxone เพื่อรักษาภาวะปอดบวม เวชระเบียนระบุไว้แน่ชัดว่าผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยากลุ่ม penicillins อย่างรุนแรงเมื่อ 1 ปีก่อน. ท่านเป็นผู้สั่งการรักษา กระทำพลาดครั้งนี้ด้วยเลินเล่อมิได้ตรวจสอบประวัติดังกล่าว มีแนวทางปฏิบัติตนอย่างไร.

1. บอกกับญาติผู้ป่วยว่า ที่อาการผู้ป่วยแย่ลงเพราะภาวะติดเชื้อในปอด.
2. ลบข้อมูลเรื่องผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยาในเวชระเบียนตามที่ผู้บังคับบัญชาแนะนำ.
3. ปรึกษาทนายและเตรียมพร้อมสู้คดี.
4. ขอโทษและบอกข้อผิดพลาดทั้งหมดกับญาติผู้ป่วยตามความเป็นจริง.

                                                                      ตอบตัวเลือก
                        

                                                                    ระดับความมั่นใจ
                       

คำตอบที่ถูกต้องตามเวชปฏิบัติสหรัฐอเมริกา : 4
หลักคิด
: "การขอโทษเมื่อกระทำผิดเป็นวิถีทางที่ดีที่สุดเดียวที่จะลดปัญหาการฟ้องร้อง"
การยกสถานการณ์ที่น่าลำบากใจนี้ขึ้นอภิปรายในระหว่างฝึกอบรมแพทย์ จะมีส่วนช่วยกระตุ้นเตือนสำนึก และสร้างเสริมจริยธรรมให้แพทย์ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้การระบุโดยชัดเจนว่า การเลือกที่จะโกหกหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเวชระเบียน เป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำ ยอมรับไม่ได้ และผิดมหันต์. อย่างไรก็ดี ควรมีทีมที่ปรึกษาบริหารความเสี่ยง (risk management) ที่จะช่วยแพทย์รองรับปัญหาสุดวิสัยเหล่านี้.

ปัญหา : โรงพยาบาลส่วนน้อยเท่านั้นที่มีทีมบริหารความเสี่ยงปฏิบัติงานอย่างจริงจัง

3. นางสมใจ อายุ 59 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น breast cancer stage 4 รับไว้ในโรงพยาบาลครั้งนี้ด้วยภาวะไข้สูงและความดันเลือดต่ำ ต่อมามี cardiac arrest ในภาวะฉุกเฉินท่านได้ทำการใส่ท่อช่วยหายใจ และนวดหัวใจผู้ป่วย ได้สัญญาณชีพกลับมาภายใน 3 นาที จึงย้ายเข้า ICU และเริ่มใช้เครื่องช่วยหายใจ และยากระตุ้นหัวใจ. บุตรชายของผู้ป่วยซึ่งขณะนี้มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียเดินทางมาถึงที่โรงพยาบาลพร้อมๆ กับสามีซึ่งอยู่ดูแลผู้ป่วยมาตลอด 10 ปีหลัง (แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน) เกิดขัดแย้งกันอย่างรุนแรงเมื่อบุตรชายต้องการให้ทำทุกอย่างเพื่อรักษาชีวิตมารดาไว้ในขณะที่สามีผู้ป่วยยืนกรานว่า นางสมใจ เคยได้ปรึกษากับเขาแล้ว เข้าใจสถานภาพโรคของตน และต้องการเสียชีวิตอย่างสงบโดยไม่มีสายใดๆ ระโยงระยาง. ท่านเป็นแพทย์ผู้ดูแลรักษา มีแนวทางปฏิบัติตนอย่างไร

1. ตรวจสอบเอกสารทางกฎหมาย และเลือกปฏิบัติตามบุตรชายของผู้ป่วย.
2. ตรวจสอบว่าผู้ป่วยเคยได้ทำเอกสารมอบอำนาจการตัดสินใจในภาวะฉุกเฉินแก่บุคคลใดหรือไม่. ถ้า ไม่มี เลือกปฏิบัติตามสามีของผู้ป่วย ถอดเครื่องช่วยหายใจโดยเร็วที่สุด.
3. ยังไม่สามารถตัดสินใจได้ จนกว่าบุตรทุกคนจะเดินทางมาถึงที่โรงพยาบาล.
4. ดำเนินการรักษาเพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วยต่อไป เพราะได้สัญญาณชีพกลับมาหลัง CPR เพียง 3 นาที.

                                                                      ตอบตัวเลือก
                        

                                                                    ระดับความมั่นใจ

                        

คำตอบที่ถูกต้องตามเวชปฏิบัติสหรัฐอเมริกา : 2
หลักคิด :
"สิทธิที่จะเลือกไม่รับการรักษา แม้ไม่สมเหตุสมผล เป็นของผู้ป่วยโดยสมบูรณ์"
"เมื่อผู้ป่วยไม่อยู่ในสถานะที่จะบอกความต้องการได้ เอกสารระบุผู้ตัดสินใจแทนเป็นลำดับถัดมาที่แพทย์ต้องปฏิบัติตาม. หากไม่ได้ทำเอกสารไว้ ผู้ใกล้ชิดซึ่งได้เคยทราบถึงเจตนารมณ์ของผู้ป่วยย่อมเป็นลำดับถัดไป ที่จะมีหน้าที่ปกป้องสิทธิผู้ป่วยแม้เป็นเพียงสามีในพฤตินัย แต่เป็นที่รับรู้ในสังคม".

ปัญหา : ในประเทศไทยแนวคิดเรื่องสิทธิผู้ป่วยในลักษณะนี้ ยังไม่แพร่หลาย แต่เค้าความขัดแย้ง เห็นได้ดังกรณีมรณภาพของท่านพุทธทาส ทั้งนี้คำศัพท์ในเรื่อง Living will, Next of Kin, หรือ Health care proxy ยังไม่เป็นที่เข้าใจในสังคมไทย.

แพทย์ประจำบ้านส่วนใหญ่ตอบผิด เพราะใช้วิจารณญาณตนเองเป็นที่ตั้ง โดยไม่พิจารณาเรื่องสิทธิผู้ป่วย.

4. เด็กชายวินัย อายุ 18 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น ALL แพทย์แนะนำให้เข้ารับยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาล. ผู้ปกครองของเด็กไม่เชื่อถือในวิทยาการแพทย์และกลัวบุตรเสียชีวิตจากการรับยาเคมี แสดงความจำนงขอนำบุตรชายไปรักษากับหมอพระที่จังหวัดตาก โดยไม่ฟังคำทัดทานของทีมแพทย์ผู้รักษา. ท่านเป็นแพทย์ผู้ดูแลรักษา มีแนวทางปฏิบัติตนอย่างไร

1. เป็นสิทธิของผู้ปกครองเด็กที่จะเลือกการรักษาแบบใดก็ได้ให้บุตรของตน.
2. รั้งตัวเด็กไว้โดยไม่สนใจในคำร้องที่ไม่มีเหตุผลสมควรของผู้ปกครอง.
3. แจ้งผู้บังคับบัญชาเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งตัดสินตามอำนาจรัฐ.
4. โน้มน้าวผู้ป่วยให้ตัดสินใจด้วยตนเอง และปฏิบัติตามความต้องการของผู้ป่วย.

                                                                     ตอบตัวเลือก
                        

                                                                   ระดับความมั่นใจ

                       

คำตอบที่ถูกต้องตามเวชปฏิบัติสหรัฐอเมริกา : 3
หลักคิด :
"รัฐมีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะปกป้องผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ"
การศึกษาทางการแพทย์ยันยันชัดเจน และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า ALL เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้และมีผลการรักษาดีในผู้ป่วยอายุน้อย รัฐจึงมีหน้าที่ปกป้องเยาวชนผู้นี้ซึ่งยังไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเองจากแนวคิดที่ไม่สมเหตุสมผลของผู้ปกครองของผู้ป่วย. แต่หากเปลี่ยนอายุของผู้ป่วยให้เป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว จะเป็นสิทธิของผู้ป่วยเท่านั้นที่จะเลือกรับการรักษาหรือไม่.

ปัญหา : ในประเทศไทยแพทย์ยังมีข้อมูลน้อยในคดีลักษณะดังกล่าว หน่วยงานสนับสนุน รวมทั้งศาล เข้าถึงยาก และยังไม่มีคดีตัวอย่างปรากฏให้สาธารณชนรับรู้

แม้ว่าลักษณะสังคมวัฒนธรรมไทยจะแตกต่างจากสหรัฐอเมริกาอย่างสิ้นเชิง ปัญหาที่ยกมาเป็นเพียงตัวอย่าง ยังมีสถานการณ์น่าลำบากใจลักษณะนี้อีกมากมายที่กำลังกระชั้นเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ น่าจะถึงเวลาแล้วที่ควรเร่งริเริ่มสะสางให้มีหลักคิดปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียว กระจ่างชัด ปรับปรุงเพิ่มเติมให้ทันสมัย และเป็นที่ยอมรับเป็นสากลสำหรับสถานการณ์ในบ้านเรา. นอกจากนี้การสอดแทรกเนื้อหาดังกล่าวไว้ในหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ทุกสาขาน่าจะก่อประโยชน์อย่างสูง เพื่อแพทย์จะสามารถแสดงได้ซึ่ง แบบแผนที่พร้อมด้วยเหตุผล อธิบายให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ ซึ่งในที่สุดแล้วจะยังประโยชน์ปกป้องความศักดิ์สิทธิของวงการแพทย์ในอนาคตต่อไป.

เอกสารอ้างอิง
1. Catherine AG. Sparkman : legislating apology in the context of medical mistakes, AORN, August 2005.
2. Courtney J. Wusthoff, Medical mistakes and disclosure : the role of the medical student. JAMA 2001;286:1080-1.

เด่นหล้า ปาลเดชพงศ์ พ.บ.
สาขาการบริบาลผู้ป่วยนอก ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ป้ายคำ:
  • กรณีศึกษา
  • คุยสุขภาพ
  • อื่น ๆ
  • นานาสาระ
  • พญ.เด่นหล้า ปาลเดชพงศ์
  • อ่าน 11,529 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

273-009
วารสารคลินิก 273
กันยายน 2550
นานาสาระ
พญ.เด่นหล้า ปาลเดชพงศ์
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa