Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » หมอเป็นคน
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

หมอเป็นคน

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 กันยายน 2550 00:00

"เพราะงานที่ทำด้วยหัวใจที่อ่อนโยนต่อความเป็นมนุษย์นั้น เป็นมากกว่าภารกิจ ตามหน้าที่ แต่เป็นความดีที่หล่อเลี้ยงชีวิต"

ข้อความดังกล่าว เป็นประโยคสุดท้าย ของคำนำในหนังสืองานคือความดีที่หล่อเลี้ยง ที่สะท้อนถึงหลักการทำงานของผู้เขียน ในฐานะแพทย์ที่ทุ่มเทชีวิตให้กับงานในชนบท และในฐานะผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ ที่คอยตั้งคำถามกับมิติความสัมพันธ์ของมนุษย์ บนพื้นฐานความอ่อนโยนต่อความเป็นคน

"ผมจบจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 33 ระหว่างเรียนถือเป็นเด็กกิจกรรม โดยทำงานในฝ่ายต่างๆ ของสโมสรนิสิตแพทย์ จุฬาฯ จนกระทั่งขึ้นปี 6 ก็ได้รับเลือกเป็นนายกสโมสร ฯ

หลังเรียนจบ ผมเลือกไปฝึกงานที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เพราะเป็นที่ร่ำลือว่ารุ่นพี่ที่อีสานมีความเป็นครูที่สามารถฝึกฝนเราให้เป็นแพทย์ที่ดี และประกอบกับพื้นเพของผมเป็นคนอีสาน

ช่วงชีวิตที่โคราชถือเป็นช่วงสำคัญของผม เพราะได้ซึมซับการทำงานเพื่อชนบท จากพี่ๆ ที่เขาทุ่มเทกันอย่างจริงจัง อันทำเป็นแรงบันดาลใจให้ผมเลือกทำงานเพื่อชนบทต่อมาเรื่อยๆ 

                                               

โดยเฉพาะตอนที่ฝึกงานในฝ่ายเวชกรรมสังคมที่ต้องลงพื้นที่เรียนรู้สาธารณสุขชุมชม ผมเลือกไปฝึกงานที่โรงพยาบาลสูงเนิน กับนายแพทย์สำเริง แหยงกระโทกทำให้ได้เรียนรู้งานการพัฒนาชนบทขององค์กรพัฒนาต่างๆ เยอะมาก ได้สัมผัสบทบาทของหมอ พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำงานเชิงรุกเข้าไปถึงหมู่บ้าน โดยไปช่วยเหลือชาวบ้านเรื่องสุขาภิบาล ด้านน้ำสะอาด การอนามัยแม่และ เด็ก การขาดแคลนยาในชนบทที่ห่างไกล

สิ่งที่ผมเห็นจากการลงพื้นที่ คือชาวบ้านอยู่ในสภาพขาดแคลน บริการทางการแพทย์ไปไม่ถึง ส่วนใหญ่รักษาตามมีตามเกิด เมื่อเจ็บป่วยก็ซื้อยามากินเอง ในแง่หนึ่งเขาสามารถแก้ปัญหาไปได้ แต่อีกแง่หนึ่งก็อันตราย เพราะยาที่ขายให้ชาวบ้าน มักเป็นยาชุดที่มียาอันตรายโดยเฉพาะยาจำพวกสตีรอยด์ หรือยาปฏิชีวนะ ตอนนั้นพวกเราเข้าไปแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการตั้งกองทุนยา เพื่อให้ชาวบ้านมียาที่ปลอดภัย อบรมอาสาสมัครสาธารณสุข และสนับสนุนการแพทย์พื้นบ้านและการใช้สมุนไพร

นอกเหนือจากปัญหาการขาดแคลนบริการสาธารณสุขที่ผมได้พบเห็นแล้ว ผมยังได้พบเห็นการรักษาอาการเจ็บป่วยตามแบบของชาวบ้านเอง ซึ่งบางครั้งก็ได้ผลอย่างน่าประหลาดใจ เช่น ครั้งหนึ่ง มีคนไข้ถูกงูกัด แผลบวมมาก จนต้องกรีดผิวหนังเพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายอื่นๆ ได้สะดวก ญาติผู้ป่วยมาขออนุญาตผมให้ทายาสมุนไพรตัวหนึ่ง ผมก็อนุญาตให้ทาได้ โดยให้ระวังอย่าทาตรงแผลสด เพราะจะทำให้ติดเชื้อ ปรากฏว่าหลังทายาสมุนไพรตัวดังกล่าวแผลของผู้ป่วยยุบเร็วมาก ประสบการณ์นี้ทำให้ตระหนักว่า ยาหรือเภสัชสารอาจไม่ได้มีอยู่เฉพาะในห้องยาของโรงพยาบาลก็ได้
การที่ผมอนุญาตให้ชาวบ้านรักษาตามแบบของเขา ส่วนตัวยอมรับได้ถ้าการรักษานั้นไม่ส่งผลเสียต่อการรักษาแบบแผนปัจจุบันที่เราคิดกันว่าดี เพราะเป็นการส่งเสริมให้ชาวบ้านพึ่งตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเข้าไปขัดขวางความพยายามของมนุษย์ที่จะช่วยเหลือกัน ผมมองว่ามันแปลก เพียงแต่เราต้องช่วยดูแลให้ปลอดภัย

การทำงานในชนบทนั้นต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งว่า ชาวบ้านกับแพทย์นั้นบางครั้งมีความคิดที่แตกต่างกัน ชาวบ้านมีวัฒนธรรม มีวิถีชีวิตของเขา โดยเขาจะคิดแบบที่อาจเรียกว่าเป็นองค์รวมมากกว่าเรา เพราะชีวิตของเขาเชื่อมโยงสัมพันธ์กันหลายมิติ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความสัมพันธ์ที่รู้จักกัน ต้องพึ่งพาอาศัยกัน เป็นการคิดบนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ที่ต่างเกื้อหนุนกัน ซึ่งตรงจุดนี้โรงเรียนแพทย์ไม่มีสอน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเราเรียนจากคนตาย หรือเวลาเราเรียนเรื่องโรคต่างๆ เราก็มักไม่มีโอกาสรู้เลยว่าคนที่ป่วยหรือผู้บริจาคศพเคยมีความฝันอะไรในชีวิต แล้วทำไมถึงบริจาคร่างกายให้เรา ทำให้เราไม่ได้เรียนรู้เรื่องความลึกซึ้งของความเป็นมนุษย์ ความละเอียดอ่อนในเรื่องสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงให้มนุษย์อยู่ร่วมกัน

ผมทำงานในชนบทได้สักระยะหนึ่ง ก็ย้ายเข้ามาช่วยงานที่กระทรวงสาธารณสุข ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายนโยบายและแผน สังกัดกองแผนงาน จากนั้นได้ทุนจากองค์การอนามัยโลกไปเรียนต่อระดับปริญญาเอกด้านมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พอเรียนจบก็กลับมาทำงานที่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ โดยรับผิดชอบในส่วนนโยบายสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับสุขภาพ ต่อมาได้เกิดแผนงานวิจัยสังคมและสุขภาพขึ้นโดยการสนับสนุนของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและพัฒนาต่อมาจนยกระดับเป็นสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพอย่างที่เป็นอยู่

งานที่นี่หลากหลายมาก แบ่งออกได้เป็น 5 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์ทางการแพทย์ ด้านปรัชญาวิทยาศาสตร์กับกระบวนทัศน์สุขภาพ ด้านสุขภาพชุมชน ด้านประชาสังคมกับสุขภาพ และด้านระบบสุขภาพพื้นบ้าน"

เมื่อมองย้อนกลับไปในชีวิตการทำงาน นพ.โกมาตร ให้บทสรุปว่า "ผมคิดว่าคนเราจะถือว่าโชคดีในชีวิตการทำงานคือ หนึ่งค้นพบตนเอง คือรู้ว่าชีวิตที่มีอยู่อยากจะได้ทุ่มเทไปทำอะไร สองคือเมื่อรู้ว่าอยากทำแล้วได้ทำตามที่ใจใฝ่ฝัน สามได้ทำตามที่อยากทำแล้วยังประสบความสำเร็จอีกด้วย ถ้าจะโชคดีกว่านั้นอีกคือทำแล้วร่ำรวยด้วย ซึ่งบางคนอาจเอาตรงนี้มาก่อน แต่ผมคิดว่ามันเป็นของแถม หลังจากได้ใช้ชีวิตคุ้มแล้ว ชีวิตของผมก็อยากให้เป็นอย่างนี้และที่ผ่านมาก็คิดว่าเป็นชีวิตที่ดี"
 

ป้ายคำ:
  • คุยสุขภาพ
  • อื่น ๆ
  • หมอพันธุ์ใหม่กับการสร้างเสริมสุขภาพ
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส
  • อ่าน 2,558 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

273-015
วารสารคลินิก 273
กันยายน 2550
หมอพันธุ์ใหม่กับการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)< และสถาบัน ChangeFusion< พัฒนาระบบโดย Opendream< สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa <