Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » รักษา Helicobacter pylori ป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

รักษา Helicobacter pylori ป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร

โพสโดย somsak เมื่อ 1 กันยายน 2552 00:00

Fuccio L, et al. Meta-analysis: Can Helicobacter pylori Eradication treatment reduce the risk o for gastric cancer? Ann Intern Med 2009; 151:121-8.


เชื้อ Helicobacter pylori เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร องค์กร International Agency for Research on Cancer จัดให้ H. pylori เป็นตัวก่อมะเร็งกระเพาะอาหารกลุ่มที่ 1 คำถามต่อมาคือว่าการรักษาเพื่อกำจัดเชื้อนี้จะช่วยลดความเสี่ยง ต่อมะเร็งได้หรือไม่ เป็นคำถามที่งานวิจัยเชิงทดลองหลายงานที่ผ่านมาได้พยายามแต่ยังไม่มีข้อสรุปชัด. การศึกษา meta-analysis นี้ผู้วิจัยได้ศึกษาทบทวนงานวิจัย randomized controlled trial ที่เปรียบเทียบอุบัติการณŒของมะเร็งกระเพาะอาหารในผู้ป่วยที่มี  H. pylori จากฐานข้อมูล Medline, EMBASE ฯลฯ และนำมาวิเคราะห์แบบ meta-analysis การทดลองรักษาผู้ป่วยที่มีเชื้อ H. pylori.

ผลการศึกษา พบว่ามีงานวิจัย 7 งาน ที่เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ให้ยากำจัดเชื้อกับกลุ่มที่ไม่ให้ยากำจัดเชื้อ. การติดตามผู้ป่วยมีระยะเวลา 4-10 ปี โดยสรุปพบว่า กลุ่มที่รักษา H. pylori เกิดเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ร้อยละ 1.1(37/3388) ในขณะที่กลุ่มไม่ได้รักษามีร้อยละ 1.7 (56/3307) คิดเป็นอัตราเสี่ยง 0.65 ( RR 0.65 95% CI 0.43, 0.98).

ในจำนวนการศึกษา 6 งาน เป็นการวิจัยในประชากรชาวเอเชียซึ่งมีอุบัติการณ์ของมะเร็งกระเพาะอาหารค่อนข้างสูง. ยาที่ใช้ในการรักษา H. pyroli  ได้แก่ยา amoxicillin, proton pump inhibitor, และ clarithromycin หรือ metronidazole ผลการรักษาสามารถกำจัดเชื้อได้ร้อยละ 73-89 ในกลุ่มรักษา และได้ร้อยละ 5-15 ในกลุ่มควบคุม.

สรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการรักษากำจัดเชื้อ H. pyroli น่าจะลดความเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหาร การศึกษานี้ทำในคนเอเชีย ผู้วิจัยเอง คิดว่ามีข้อจำกัดในการนำไปใช้กับประชากรอื่น จึงอาจต้องมีการศึกษาเพิ่ม แต่เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากเพราะจะมีปัญหาด้านจริยธรรมในกลุ่มควบคุมที่ไม่รักษาการติดเชื้อ ประเด็นการศึกษาเพิ่มเติมที่น่าสนใจ อาจค้นหาว่าผู้ป่วยกลุ่มใดและปัจจัยใดที่จะทำให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์จากการรักษาเพื่อป้องกันมากที่สุด.
 

วิชัย เอกพลากร พ.บ., Ph.D.
รองศาสตราจารย์, ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน, 
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี,
มหาวิทยาลัยมหิดล
‍

 

ป้ายคำ:
  • โรคเรื้อรัง
  • มะเร็ง
  • เก็บสาระจากวารสารต่างประเทศ
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
  • อ่าน 7,289 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

297-013
วารสารคลินิก 297
กันยายน 2552
เก็บสาระจากวารสารต่างประเทศ
รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa