Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » การประเมินอายุครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การประเมินอายุครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์

โพสโดย somsak เมื่อ 1 ตุลาคม 2547 00:00

ถาม  :  อยากทราบว่าการประเมินอายุครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์จะสามารถทำได้อย่างไรบ้าง.

 

                                                                                                                                     หมอใหม่

 

ตอบ  :  ในการดูแลการตั้งครรภ์ สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการประเมินอายุครรภ์ของการตั้งครรภ์นั้น ซึ่งในทางปฏิบัติอายุครรภ์จะนับตั้งแต่วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย ซึ่งอย่างไรก็ตามบางครั้งหญิงตั้งครรภ์อาจจำประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้.การจะบอกว่าขณะนี้อายุครรภ์เท่าใดมีวิธีง่ายๆ ดังนี้คือ

1. การคะเนอายุครรภ์จากประวัติเด็กดิ้น
โดยทั่วไปในการตั้งครรภ์ครั้งแรกเด็กจะเริ่มดิ้นขณะอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ สำหรับครรภ์หลังจะเริ่มดิ้นขณะอายุครรภ์ได้ 16-18 สัปดาห์.ถ้าได้ประวัติวันเริ่มดิ้นก็สามารถคาดคะเนอายุครรภ์ได้ว่าเท่าใด เช่น เด็กเริ่มดิ้นมา 4 สัปดาห์ในการตั้งครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์จะประมาณ 22-24 สัปดาห์ เป็นต้น.
 

2. การคะเนอายุครรภ์จากขนาดของมดลูก

ในทางปฏิบัติที่นิยมใช้มีอยู่ 2 วิธีได้แก่

2.1 การใช้สัดส่วนของยอดมดลูกกับหน้าท้องหญิงตั้งครรภ์ โดยแบ่งระยะระหว่างสะดือกับกระดูกหัวหน่าวเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กันและแบ่งระยะระหว่างสะดือกับกระดูกลิ้นปี่เป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน จะพบว่ามีความสัมพันธ์กับอายุครรภ์ดังนี้คือ

อายุครรภ์ 12 สัปดาห์  ยอดมดลูกจะสูงประมาณ  1/3 เหนือกระดูกหัวหน่าว

                16 สัปดาห์  ยอดมดลูกจะสูงประมาณ  2/3 เหนือกระดูกหัวหน่าว

                20 สัปดาห์  ยอดมดลูกอยู่ระดับสะดือ

                24 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูงกว่าระดับสะดือเล็กน้อย

                28 สัปดาห์  ยอดมดลูกอยู่ 1/4 เหนือระดับสะดือ

                32 สัปดาห์  ยอดมดลูกอยู่ 2/4 เหนือระดับสะดือ

                36 สัปดาห์  ยอดมดลูกอยู่ 3/4 เหนือระดับสะดือ

2.2  การวัดระดับยอดมดลูกโดยใช้สายวัด คือวัดระยะจากรอยต่อของกระดูกหัวหน่าวจนถึงยอดมดลูกแนบตามส่วนโค้งของมดลูก.มีการศึกษาของ  Jimenez และคณะ พบว่า ในระหว่างอายุครรภ์ 18-30 สัปดาห์ ระยะที่วัดได้เป็นเซนติเมตรจะเท่ากับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ เช่น วัดได้ 27 เซนติเมตร จะเท่ากับอายุครรภ์ 27  สัปดาห์ เป็นต้น.

ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างใช้ได้ดี และความคลาดเคลื่อนน้อย คือ 2-3 สัปดาห์ในระหว่างอายุครรภ์ 18-30 สัปดาห์ ซึ่งโดยส่วนตัวผู้เขียนนิยมใช้มากกว่าวิธีข้อ 2.1.
 

3. คะเนอายุครรภ์โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound)
ซึ่งในปัจจุบันจะมีเกือบทุกโรงพยาบาลและให้ความแม่นยำในการบอกอายุครรภ์ได้ค่อนข้างดีกว่าวิธีอื่น โดยเฉพาะถ้าทำก่อน 26 สัปดาห์ แต่ก็มีข้อเสียที่ต้องอาศัยทักษะและความรู้ของผู้ตรวจรายละเอียดค่อนข้างมากจะไม่ขอกล่าวใน ที่นี้.

จากความรู้ข้างต้นเรายังสามารถใช้ในการติดตามว่า การตั้งครรภ์นั้นมีการโตของมดลูกที่ผิดไปจากอายุครรภ์ที่ควรจะเป็นหรือไม่ เช่นอายุครรภ์นับจากวันแรกของรอบเดือนครั้งสุดท้ายได้ 20 สัปดาห์ แต่วัดยอดมดลูกได้ 28 เซนติเมตร แสดงว่าขนาดไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ซึ่งอาจเกิดจากการจำประจำเดือนคลาดเคลื่อน หรือครรภ์แฝด หรือสาเหตุอื่นๆ ก็ควรจะพิสูจน์โดยใช้วิธีตรวจสอบที่ให้ความแม่นยำสูงกว่าเป็นตัวตัดสิน เช่น การใช้อัลตราซาวนด์มาช่วย เป็นต้น. 

นอกจากอายุครรภ์แล้ว สตรีตั้งครรภ์มักนิยมถามวันกำหนดคลอด ซึ่งในทางเวชปฏิบัติจะกำหนดเป็นวันที่อายุครรภ์ครบ 40 สัปดาห์เป็นหลัก ซึ่งอาจใช้สูตรในการคำนวณของ Naegele 's rule มาใช้  คือ วันกำหนดคลอด  =  วันแรกของรอบเดือนครั้งสุดท้าย + 7  วัน  - 3 เดือน เช่น 14 มกราคม 2547 เป็นวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย   ดังนั้นวันกำหนดคลอด  =   14 มกราคม 2547 + 7 วัน-3 เดือน =  21 ตุลาคม 2547.    

  
วิธีดังกล่าวค่อนข้างคำนวณง่ายและมีความคลาดเคลื่อนจากวันที่อายุครรภ์ครบ 40 สัปดาห์น้อย คือ ไม่เกิน 7 วัน จึงเป็นที่นิยมใช้ในทางเวชปฏิบัติ.

 

ฤชา ตั้งจิตธรรม พ.บ. สูตินรีแพทย์, โรงพยาบาลสระบุรี

ป้ายคำ:
  • แม่และเด็ก
  • การตั้งครรภ์
  • ถาม-ตอบผ่าน website
  • นพ.ฤชา ตั้งจิตธรรม
  • นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
  • อ่าน 84,128 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

238-019
วารสารคลินิก 238
ตุลาคม 2547
ถาม-ตอบผ่าน website
นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
นพ.ฤชา ตั้งจิตธรรม
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa