Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » Amblyopia
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

Amblyopia

โพสโดย somsak เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2547 00:00

ความหมาย

Amblyopia เป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษากรีกว่า " dullness of vision " อาจเรียกว่าสายตา ขี้เกียจ (lazy eye) เป็นภาวะตามัวเพราะสายตาถูกบดบังด้วยเหตุใดๆ (เช่น เป็นต้อกระจกแต่กำเนิด) ในขณะที่ยังมีการพัฒนาการของการมองเห็นยังไม่สมบูรณ์ จึงเกิดภาวะนี้ในเด็ก. โดยทั่วไปมักเกิดก่อนอายุ 8-9 ปี และถ้าไม่ได้รับการแก้ไขก่อนที่การพัฒนาการมองเห็นจะสมบูรณ์ จะทำให้มีการมองเห็นลดลงอย่างถาวรแม้ว่าจะมีการแก้ไขสาเหตุที่ทำให้ตามัวแล้วก็ตาม (เช่น ได้รับการผ่าตัดแก้ไขต้อกระจกแต่กำเนิดเมื่อเด็กอายุมากแล้ว ผู้ป่วยก็ยังมองเห็นไม่ชัดเนื่องจากเกิดภาวะ amblyopia) ยิ่ง amblyopia เกิดขณะอายุน้อย จะทำให้เกิดภาวะตามัวได้มากกว่าและรักษายากกว่า amblyopia ที่ เกิดเมื่อเด็กโตแล้ว.

             


การพัฒนาการมองเห็น (ตารางที่ 1)

เมื่อแรกเกิดการมองเห็นยังไม่ดี visual acuity ประมาณ 20/200 เกิดจาก visual center ในสมองยังเจริญไม่เต็มที่ทำให้การแปลสัญญาณการรับภาพจากตายังไม่ดีนัก. ต่อมาใน 3-4 เดือนหลังคลอดจะมีการพัฒนา visual acuity ดีขึ้นอย่างมาก (ภาพที่ 1)
 

        

ซึ่งเกิดจากสัญญาณภาพจากตากระตุ้นการพัฒนาทั้ง structural และ function ของสมองส่วน visual  center เช่น lateral geniculate nucleus และ striate cortex อายุประมาณ 8-9 ปี สมองส่วนรับภาพนี้จึงจะพัฒนาเต็มที่. ในสัตว์ทดลองที่ทำให้เกิด amblyopia พบว่ามีความผิดปกติของ lateral geniculate  nucleus (ภาพที่ 2) และ striate cortex (ภาพที่ 3).

 

     
               

     

 

อุบัติการณ์
พบประมาณร้อยละ 1-2 ของเด็ก.1

 
ชนิดของ amblyopia

1. Unilateral amblyopia  คือ amblyopia ที่เป็นที่ตาข้างเดียว พบมากกว่าชนิดที่เป็นที่ตาทั้ง 2 ข้างมาก ซึ่งจำแนกย่อยได้ดังนี้

1.1  Strabismic amblyopia  พบบ่อยที่สุดของ amblyopia ที่เป็นที่ตาข้างเดียว เกิดจากการมีตาเหล่ข้างใดข้างหนึ่งเป็นประจำในเด็ก ทำให้สมองรับภาพจากตาข้างที่ไม่เหล่ข้างเดียว. ตาข้างที่เหล่จะมีสายตาลดลง (ในผู้ที่ตาเหล่สลับข้างไปมาไม่มีตาข้างไหนเด่นเป็นพิเศษจะไม่เกิด amblyopia เพราะตาทั้ง 2 ข้างยังมีโอกาสใช้เท่าๆกัน). Amblyopia ชนิดนี้มักพบในตาเหล่ชนิดเขเข้าใน (esotropia)(ภาพที่ 4) มากกว่าชนิดเขออกนอก (exotropia) (ภาพที่ 5 ) อาจเนื่องจากว่าตาเหล่ชนิดเขออกนอก (exotropia) มัก  เหล่ไม่คงที่ (intermittent strabismus) (ภาพที่ 6 ) ทำให้ยังมีโอกาสใช้ตาข้างที่
เหล่บ้าง.  

 



 

 

 

 

 

 

  


1.2  Anisometropic amblyopia  
พบบ่อยเป็นที่สองของ amblyopia ที่เป็นที่ตาข้างเดียวเกิดจากการที่ตา 2 ข้างมีสายตา (refractive error) ต่างกันมาก ทำให้มีการใช้ตาที่เห็นชัดเพียงตาเดียว. ชนิดนี้ยังแยกย่อยได้อีก 3 กลุ่มคือ

1.2.1  Hypermetropic anisometropic amblyopia  เกิดจากการที่สายตายาวต่างกันมากกว่า 1 diopter (diopter เป็นหน่วยวัดกำลังหักเหของเลนส์ โดยคิดเป็นส่วนกลับของความยาวโฟกัสที่มี  หน่วยเป็นเมตร เช่น เลนส์ที่มีความยาวโฟกัส 1/2  เมตร จะมีกำลังเลนส์เท่ากับ 2 diopter หรือเลนส์ที่มีความยาวโฟกัส 1/3 เมตร จะมีกำลังเลนส์เท่ากับ 3 diopter).

1.2.2 Myopic anisometropic amblyopia  เกิดจากการที่สายตาสั้นต่างกันมากกว่า 3 diopter. การที่สายตาสั้นต้องมีสายตาแตกต่างกัน มากกว่าสายตายาวเนื่องจากว่าสายตาสั้นมีโอกาส ที่จะสลับกันใช้ตาทั้ง 2 ข้างได้ เช่น ใช้ตาข้างที่สั้นมากกว่ามองใกล้ ตาข้างที่สั้นน้อยกว่ามองไกล.

1.2.3  Astigmatic amblyopia พบน้อยมาก เกิดจากการที่มีสายตาเอียงมากกว่า 1-2 diopter ภาพที่ชัดจะเกิดในแกนที่สายตาปกติ ภาพที่ไม่ชัดจะเกิดในแกนที่สายตาเอียง จึงเกิดอาการตามัวเพียงบางแกน (meridional amblyopia).
 

1.3 Deprivational amblyopia เกิดจากการมีภาวะหรือโรคอะไรก็ตามที่ทำให้ตามัวหรือแสงไม่สามารถผ่านเข้าไปในตาได้เพียงตาเดียว เช่น หนังตาตก (ภาพที่ 7 ) ต้อกระจก (ภาพที่ 8 ) กระจกตาขุ่น (ภาพที่ 9 )เลือดออกในช่องหน้าลูกตา (ภาพที่ 10 ) เลือดออกในน้ำวุ้นตา (ภาพที่ 11 ) หรือแม้แต่การปิดตาข้างที่ดี (เป็นวิธีการรักษา amblyopia อย่างหนึ่ง เพื่อกระตุ้นการมองเห็นของตาข้างที่เป็น amblyopia) ก็มีโอกาสทำให้เกิด amblyopia (occlusion amblyopia) ได้.
 

                


               

              

 

 

 

 

 

 

    

 

 

 

 

 

 

 

2. Bilateral amblyopia  คือ amblyopia ที่เป็นที่ตาทั้ง 2 ข้างพบน้อยมาก.

2.1 Isoametropic bilateral amblyopia เกิดจากการที่มีสายตาผิดปกติ (refractive  error) มากทั้ง 2 ข้าง ทำให้เกิดภาพไม่ชัดเจนในตาทั้ง 2 ข้าง ถ้าเป็นสายตายาวมักยาวกว่า 6 diopter2  ซึ่งไม่สามารถแก้ให้เห็นชัดได้ด้วยการเพ่ง (accommodation) ถ้าเป็นสายตาสั้นมักสั้นเกิน 8-12 diopter.

2.2  Deprivational bilateral amblyopia เกิดจากมีโรคที่ทำให้มีความผิดปกติของการเห็นของตาทั้ง 2 ข้าง เช่น ต้อกระจกในตาทั้ง 2 ข้าง.
 

ลักษณะที่ตรวจพบ
สายตาลดลง (decrease central visual  acuity) ตรวจด้วย neutral density filter (เป็น  filter ที่ทำให้แสงเข้าตาลดลง) สายตาจะเท่าเดิมหรือลดลงเล็กน้อย (ถ้าสายตาลดลงจากสาเหตุอื่น เช่น macular scar เมื่อผู้ป่วยสวม neutral density  filter สายตาจะลดลงมาก).3  Crowding phenomenon ความสามารถในการอ่านหนังสือที่เรียงอยู่เป็นแถวหลายๆ ตัวได้ไม่ดีเท่าตัวหนังสือที่เขียนเดี่ยวๆ ตัวเดียว.4  Visual evoked potential (VEP) ผิดปกติ  VEP เป็นการบันทึกสัญญาณไฟฟ้าที่เกิดขึ้นที่สมองส่วน occipital cortex สามารถจะวิเคราะห์ความผิดปกติตั้งแต่บริเวณ macular ของจอประสาท ตา เส้นประสาทตา ทางเดินของเส้นประสาทตาในสมองจนไปถึงสมองส่วนบริเวณแปลผลการรับภาพ (area 17 occipital cortex). อาจพบมี RAPD positive (relative afferent pupillary deflect) (Marcusgun pupil) (RAPD เป็นการเปรียบเทียบปฏิกิริยาการหดตัวของรูม่านตา (pupillary reflex) ระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง).

 

ความสำคัญ
ผู้ที่เป็น amblyopia การมองเห็นที่ลดลงในตาข้างเดียวมักไม่มีผลต่อชีวิตประจำวันมากก็จริง แต่ก็อาจเป็นปัญหาได้ในบางอาชีพ เช่น นักบิน พนักงานขับรถเนื่องจากการเห็นภาพ 3 มิติลดลง. การพยายามรักษาตาที่เป็น amblyopia ก็เพื่อให้เป็นตาสำรองไว้ทดแทนถ้าสูญเสียตาที่ดีในภายหลัง. มีรายงานว่ามีโอกาสตาบอดในตาข้างที่ดีเพิ่มขึ้นถ้าตาอีกข้างมี amblyopia.5

 

การรักษา
การรักษามักได้ผลถ้ารักษาก่อนเด็กอายุ 8-9 ปี แต่ก็มีรายงานว่าอายุเด็กมากกว่านี้ถ้าลองรักษาดูก็อาจได้ผล.6,7  หลักการรักษาคือ ไม่ใช้ตาข้างที่ดี (อาจปิดตา (ภาพที่ 12 )


                       


หรือหยอดยา atropine เพื่อทำให้ตาข้างที่ดีมัว ผลคือมีการกระตุ้นการใช้ตาข้างที่เป็น amblyopia)8 และรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิด amblyopia เช่น ผ่าตัดต้อกระจก แก้ไขหนังตาตก ใส่แว่นสายตาแก้ภาวะสายตาผิดปกติ (refractive error) ผ่าตัดแก้ไขตาเหล่. การปิดตา มักปิดตา 1 สัปดาห์ต่ออายุเด็ก 1 ปี เช่น เด็กอายุ 2 ปี ปิดตาดี 2 สัปดาห์ แต่รวมแล้วไม่เกิน 4 สัปดาห์. ระหว่างที่ปิดตาก็ต้องคอยตรวจสายตาในตาข้างที่ปิดไว้เนื่อง จากมีโอกาสเกิด amblyopia ได้ (occlusion amblyopia). การปิดตาจะต้องได้รับความร่วมมือจาก ผู้ปกครองมากเนื่องจากเด็กมักไม่ค่อยยอมให้ปิดตา.9,10

 

บทสรุป
Amblyopia เป็นภาวะที่ป้องกันและรักษาได้ถ้าได้รับการแก้ไขตั้งแต่เด็กอายุน้อย. แพทย์พึงตระหนักว่าเมื่อพบเด็กที่มีโรคใดก็ตามที่ทำให้ตามัวถ้าไม่รีบรักษา ถึงแม้จะมาแก้ไขภายหลัง สายตาเด็กก็จะไม่กลับคืนสู่ปกติ. เนื่องจากเกิดภาวะ amblyopia แล้ว ควรมีการตรวจคัดกรองเด็กเล็ก เพื่อหาว่ามีโรคที่ทำให้มีการมองเห็นลดลงหรือไม่โดยเฉพาะตรวจหาภาวะสายตาผิดปกติ (refractive error) ที่ซ่อนอยู่โดยที่เด็กไม่ได้มีอาการแสดงให้เห็นง่ายๆ เหมือนโรคอื่น เช่น ตาเหล่ หนังตาตก.

 

เอกสารอ้างอิง

 1. Flom MC, Neumaier RW. Prevalence of amblyopia. Public Health Rep 1966;81:329-41. 

 2. Schoenleber DB, Crouch ER. Bilateral hypermetropic amblyopia. J Pediatr Ophthalmol Strabismus 1987;75: 77-9.

 3. Von Noorden GK, Burian HM. Visual acuity in normal and amblyopic patients under reduce illumination. Behavior of visual acuity with and without neutral density filter. Arch Ophthalmol 1959;61:53.

 4. Cibis L, Hurtt J, Rasicovich A. A clinical study of separation difficulty in organic and in functional amblyopia. Am Orthopt J 1968;18:66.

 5. Tommila V, Tarkkanen A. Incidence of loss of vision in the healthy eye in amblyopia. Br J Ophthalmol 1981; 65:575-7.

 6. Park KH, Hwang JM, Ahn JK. Efficacy of amblyopia therapy initiated after 9 years of age. Eye 2004;18(6):571-4.

 7. Mohan K, Saroha V, Sharma A. Successful occlusion therapy for amblyopia in 11-to15-year-old children. J Pediatr Ophthalmol Strabismus 2004;41(2):89-95.

 8. Repka M, Ray J. The efficacy of optical and pharmacological penalization. Ophthalmology 1993;100:769-75.

 9. Choong YF, Lukman H, Martin S, Laws DE. Childhood amblyopia treatment : psychosocial implications for patients and primary carers. Eye 2004;18(4):369-75. 

 10. Chua BE, Johnson K, Martin F. A retrospective review of the associations between amblyopia type, patient age, treatment compliance and referral patterns. Clin Experiment Ophthalmol 2004;32(2):175.
 

โกศล คำพิทักษ์ พ.บ., รองศาสตราจารย์, สาขาจักษุวิทยา, สถานวิทยาศาสตร์คลินิก, คณะแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

 

 

ป้ายคำ:
  • โรคตามระบบ
  • โรคหู ตา คอ จมูก
  • เวชปฏิบัติปริทัศน์
  • สายตาขี้เกียจ
  • รศ.นพ.โกศล คำพิทักษ์
  • อ่าน 8,095 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

239-003
วารสารคลินิก 239
พฤศจิกายน 2547
เวชปฏิบัติปริทัศน์
รศ.นพ.โกศล คำพิทักษ์
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa