Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » เภสัชกรกับการพัฒนาระบบสุขภาพ
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

เภสัชกรกับการพัฒนาระบบสุขภาพ

โพสโดย somsak เมื่อ 1 เมษายน 2549 00:00

ปัจจุบันมีเภสัชกรกระจายอยู่ตามสถานบริการสุขภาพระดับต่างๆ รวมทั้งระดับอำเภอ (โรงพยาบาลชุมชน) และชุมชน (ร้านยาเภสัชกรชุมชน). ภาระหน้าที่หลักของเภสัชกรคือ การจัดหา และการกระจายยา แก่ผู้ป่วยและประชาชนอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยส่วนใหญ่จะทำงานร่วมกับแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข.

ภาพที่คนส่วนใหญ่เห็นก็คือ เภสัชกรวุ่นวายอยู่กับการจัดจ่ายยาแก่ผู้ป่วยที่ห้องยาของโรงพยาบาล. บางแห่งก็อาจเห็นเภสัชกรให้ความรู้และคำปรึกษาเรื่องการใช้ยาแก่ผู้ป่วย.

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ภายหลังการเปิด PCU ในชุมชนตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เภสัชกรบางส่วนก็ได้ร่วมอยู่ในทีมสุขภาพที่เคลื่อนที่ไปให้บริการผู้ป่วยที่ PCU เป็นครั้งคราวโดยทำหน้าที่จ่ายยาแบบเดียวกับโรงพยาบาล.

ส่วนบทบาทต่อชุมชน ก็อาจมีอยู่ในบางพื้นที่  เช่น การรณรงค์เรื่องการใช้ยาที่ถูกต้อง การจัดกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน การวิจัยปัญหาการใช้ยาในชุมชน การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน การพัฒนาการใช้สมุนไพร เป็นต้น.

จริงๆ แล้วเภสัชกรถือเป็นนักวิชาชีพที่มีศักยภาพสูงสาขาหนึ่ง ซึ่งสามารถแสดงบทบาทต่อการพัฒนาระบบสุขภาพได้อย่างกว้างขวางเลยทีเดียว หากมีการส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ในเรื่องระบบสุขภาพ และพัฒนาปัจจัยที่เอื้อต่อการแสดงบทบาทของเภสัชกร.

นอกจากภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาและกระจายยาแก่ผู้ป่วยและประชาชนแล้ว เภสัชกรน่าจะแสดงบทบาทดังต่อไปนี้

1. เป็นแหล่งความรู้ด้านยา ทำการศึกษารวบรวมองค์ความรู้ด้านยา พัฒนาสื่อและช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านยา แก่ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และประชาชนทั่วไป.

ในส่วนกลาง คณะเภสัชศาสตร์หลายแห่งได้จัดทำศูนย์ข้อมูลยา และสมุนไพร เปิดกว้างให้ผู้สนใจเข้ามาใช้ประโยชน์.

ส่วนในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลระดับจังหวัด และอำเภอ ควรพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (เช่น ห้องสมุด สื่ออิเล็กทรอนิกส์สื่อการศึกษาอื่นๆ) จัดทำโครงการฝึกอบรม รวมทั้งให้คำปรึกษาด้านการใช้ยาแก่บุคลากรต่างๆ. ยกตัวอย่างพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่  PCU (รวมทั้งศูนย์บริการสาธารณสุข และสถานีอนามัย) ซึ่งยังขาดความรู้เรื่องการใช้ยา ควรจะได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากเภสัชกรของโรงพยาบาลในเขตอำเภอเดียวกัน เช่น การฝึกอบรมความรู้ด้านยา การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ เป็นต้น. หากออกไปปฏิบัติงานที่ PCU แทนที่เภสัชกรจะทำหน้าที่จ่ายยาเอง ควรไปทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง พัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ PCU ในการจ่ายยาให้ผู้ป่วย.

2. พัฒนาระบบการจัดจ่ายยาที่ปลอดภัยแก่ผู้ป่วยโรงพยาบาลหลายแห่งได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการสั่งยาให้ผู้ป่วยโดยสามารถตรวจสอบและเตือนให้ผู้สั่งยา สั่งยาได้ถูกต้อง หลีกเลี่ยงผลไม่พึงประสงค์ (เช่น ผลข้างเคียง การแพ้ยา) และปฏิกิริยาระหว่างยา ซึ่งบางครั้งอาจเกิดขึ้นโดยความเผอเรอหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้สั่งยา.

3. ร่วมทีมในการดูผู้ป่วยในหอผู้ป่วย
หลายแห่งได้ส่งเสริมให้เภสัชกรเข้าร่วมทีมในการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยในหอผู้ป่วย โดยช่วยประเมินถึงความเหมาะสมการใช้ยาของผู้ป่วย. เงื่อนไขคือ  ทีมงานโดยเฉพาะแพทย์จะต้องให้คุณค่าในบทบาทอันนี้ของเภสัชกร.

4. ร่วมทีมในการเยี่ยมบ้านและดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เภสัชกรควรเลือกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยบางรายเพื่อเรียนรู้ปัญหาของผู้ป่วยแบบองค์รวม รวมทั้งปัญหาด้านการใช้ยาของผู้ป่วย (เช่น การแอบปรับยารักษาเบาหวาน ความดันเลือดสูง). นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว พัฒนาให้เกิดการมองปัญหาแบบองค์รวม และการเอื้ออาทรต่อผู้อื่น.

5. ร่วมทีมในการทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพ เภสัชกรสามารถเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริม สุขภาพตามความสนใจและความถนัดของตนเอง เช่น เป็นผู้นำในการเต้นแอโรบิก ฝึกโยคะ รำ มวยจีน ส่งเสริมให้ชุมชนรวมตัวกันพัฒนาอาชีพ กองทุนชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนปลูกและใช้สมุนไพร เป็นต้น.

6. เรียนรู้ปัญหาของชุมชนและระบบสุขภาพ โรงพยาบาลควรจัดเวที หรือกิจกรรมการเรียนรู้ (เช่น การสำรวจชุมชน การวิจัยปัญหาในชุมชน  การประชุมวิชาการ การอภิปรายปัญหาผู้ป่วย เป็นต้น) ให้แก่เภสัชกรและทีมสุขภาพ. การเรียนรู้ทำให้เปิดโลกทรรศน์หรือมุมมองที่กว้างขึ้น เข้าใจและเข้าถึงปัญหา พัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาจริง.

7. รณรงค์การใช้ยาที่เหมาะสมในชุมชน ประชาชนในพื้นที่อาจมีปัญหาการใช้ยาไม่เหมาะสม เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะเกินจำเป็น การใช้ยา NSAIDs และสตีรอยด์อย่างผิดๆ การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพเกินจำเป็น เป็นต้น. เภสัชกรควรเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยการศึกษาให้เข้าใจปัญหาและหามาตรการในการแก้ไขให้เหมาะสม. นอกจากนี้ควรเผยแพร่ความรู้เรื่องการใช้ยาที่เหมาะสมแก่ประชาชน รวมทั้งเยาวชนในโรงเรียน.

8. สำหรับเภสัชกรที่เปิดร้านยาในชุมชน นอกจากจ่ายยาให้ผู้บริโภคแล้ว ควรมีความรู้ในการให้คำปรึกษาแนะแนวปัญหาสุขภาพ ติดตามประเมินผลการรักษาโรคเรื้อรัง (วัดความดัน น้ำตาลในเลือด, และรณรงค์ให้ความรู้และสร้างเสริมสุขภาพแก่ชุมชนโดยรอบ.
 

(รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ)

 

 

ป้ายคำ:
  • ยาและวิธีใช้
  • ดูแลสุขภาพ
  • บทบรรณาธิการ
  • รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
  • อ่าน 12,002 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

256-001
วารสารคลินิก 256
เมษายน 2549
บทบรรณาธิการ
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa