Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » Update : วิธีกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

Update : วิธีกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

โพสโดย somsak เมื่อ 1 เมษายน 2549 00:00

ยากินคุมกำเนิดฉุกเฉินชนิดที่ใช้กันแพร่หลาย เป็นยาที่มีเฉพาะโปรเจสตินอย่างเดียว คือยา Levonorgestrel (LNG) ขนาด  750 มคก.ต่อเม็ด วิธีใช้ให้กินทันทีหลังร่วมเพศ 1 เม็ดอย่างช้าภายใน 72 ชั่วโมง และกินอีก 1 เม็ดใน 12 ชั่วโมงต่อมา จะป้องกันการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 85-88 ซึ่งหมายความว่าในสตรี 100 รายที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันในช่วงที่อาจตั้งครรภ์ได้ (fertile period) คือในช่วงกลางรอบเดือน จะมีประมาณ 8 รายที่มีโอกาสตั้งครรภ์ และใน 8 รายนี้ ถ้าได้รับยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน LNG อย่างถูกวิธี จะมีเพียง 1 รายที่จะตั้งครรภ์ ซึ่งเท่ากับว่าป้องกันการตั้งครรภ์ได้คิดเป็นประมาณร้อยละ 88 1  ซึ่งสูงกว่ายากินสูตร Yuzpe (ร้อยละ 60-75)2  ที่เคยใช้กันมาก่อน ซึ่งเป็นยากินชนิดฮอร์โมนผสม 1 เม็ดประกอบด้วย ethinyl estradiol 50 มคก. และ norgestrel 500 มคก. โดยกินครั้งละ 2 เม็ด ด้วยวิธีเดียวกัน.

ยา LNG 750 มคก. ยังมีประโยชน์หรือไม่ถ้าเลย 72 ชั่วโมงไปแล้ว
การกินยาระหว่าง 72-120 ชั่วโมง ยังคงลดความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ได้ดี (ร้อยละ 60-63)แม้ว่าจะด้อยกว่าเมื่อให้ภายใน 72 ชั่วโมง (ร้อยละ 79-84)3  ในกรณีที่ยาไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ยังไม่มีหลักฐานว่ายาคุมกำเนิดดังกล่าวทำให้ตัวอ่อนเป็นอันตราย.4


กินยา LNG 750 มคก. พร้อมกันทั้ง 2 เม็ดได้หรือไม่? 
สามารถกินครั้งเดียว 2 เม็ดได้เลยภายในไม่เกิน 120 ชั่วโมง ถ้าให้ดีที่สุดก็ไม่เกิน 72 ชั่วโมงจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 82-93 โดยผลข้างเคียงไม่ต่างจากกินครั้งละเม็ด.3,5
 

เอกสารอ้างอิง
 1. Task Force on Postovulatory Methods of Fertility Regulation. Randomised controlled trial of levonorgestrel versus the Yuzpe regimen of combined oral contraceptive for emergency contraception. Lancet 1998;352:428-33.

 2. Cullins V. Emergency contraception : an update. The Contraception report 2003;14:9-12. Available from : http://www.contraceptiononline.org/contrareport. Accessed August 7, 2005.

 3. Von Hertzen H, Piaggio G, Ding J, Chen J, Song S, Bartfai G, et al. Low dose mifepristone and two regimens of levonorgestrel for emergency contraception : a WHO multicenter randomised trial. Lancet 2002;360:1803-10.

 4. Turner AN, Ellertson C. How safe is emergency contraception? Drug Safety 2002;25:695-706.

 5. Arowojolu AO, Okewole IA, Adekunle AO. Comparative evaluation of the effectiveness and safety of two regimens of levonorgestrel for emergency contraception in Nigerians. Contraception 2002;66:269-73.
  

จุราพร พงศ์เวชรักษ์ ภ.บ., Ph.D.,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก,คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

ป้ายคำ:
  • ยาและวิธีใช้
  • ดูแลสุขภาพ
  • เวชปฏิบัติปริทัศน์
  • ยาคุมกำเนิด
  • ผศ.ภก.จุราพร พงศ์เวชรักษ์
  • อ่าน 6,747 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

256-003
วารสารคลินิก 256
เมษายน 2549
เวชปฏิบัติปริทัศน์
ผศ.ภก.จุราพร พงศ์เวชรักษ์
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa