Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » เห็ดหลินจือช่วยรักษาผู้ป่วยไตเรื้อรังชนิดเนฟโฟรสิส
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

เห็ดหลินจือช่วยรักษาผู้ป่วยไตเรื้อรังชนิดเนฟโฟรสิส

โพสโดย somsak เมื่อ 1 พฤษภาคม 2549 00:00

นักวิจัยพบสมุนไพรเห็ดหลินจือช่วยลดอาการไข่ขาวรั่วในปัสสาวะของผู้ป่วยโรคไตได้ หนทางใหม่ในการเยียวยารักษาป้องกันผู้ป่วย เข้าสู่ภาวะไตวาย เชื่อไม่เพียงช่วยให้ผู้ป่วยไม่ทุกข์ทรมาน ยังเป็นการลดภาระการรักษา.

โรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิสชนิด focal segmental sclerosis คือกลุ่มผู้ป่วยโรคไตที่มีอาการบวมโดยพบมีภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะออกมามากเกินปริมาณที่มีการกำหนดไว้คือมากกว่าประมาณ 3.5 กรัม/วัน เป็นภาวะที่ร่างกายสูญเสียโปรตีน. เมื่อไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะมากๆ ก็จะทำให้โปรตีนในเลือดต่ำ ปริมาณการหมุนเวียนในเลือดไม่เพียงพอ เลือดในร่างกายจะพร่อง ข้นหนืด ก่อให้เกิดการอุดตัน และยังมีภาวะเมตาบอลิกของไขมันผิดปกติ ไขมันในเลือดสูง ภาวะต่างๆนี้ทำให้ไตมีการอักเสบ เสื่อมและถูกทำลายเข้าสู่ภาวะไตวายในที่สุด.

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ดร.นริสา ฟูตระกูล ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงวิธีการรักษาว่าจากอดีตจนถึงทุกวันนี้หนทางการรักษาที่ดีที่สุดทำได้แค่ชะลอการตายของเนื้อไตให้ช้าลง ด้วยการให้ยาประเภทกดภูมิคุ้มกัน เช่น สตีรอยด์ เนื่องจากมีความเชื่อมาแต่เดิมว่าอาการที่พบนี้เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ. ทว่าการใช้ยากดภูมิคุ้มกันสามารถลดภาวะอาการไข่ขาวรั่วในปัสสาวะของผู้ป่วยไตเรื้อรังชนิดเนฟโฟรสิสได้เพียงกลุ่มหนึ่งเท่านั้น. ขณะที่ผู้ป่วยอีกลุ่มหนึ่งไม่มีการตอบสนองต่อยาและพยาธิสภาพของไตก็ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ.

แม้ขณะนี้จะยังไม่มีรายงานวิจัยใดที่จะสามารถอธิบายถึงกลไกการเกิดโรคที่แท้จริงได้ว่ามีลักษณะเป็นเช่นไร แต่เราก็เชื่อว่าเหตุผลสำคัญที่ทำให้การรักษาที่ไม่ได้ผล สืบเนื่องมาจากความไม่เข้าใจในกลไกการทำลายไตอย่างถ่องแท้ ฉะนั้นจึงต้องศึกษาว่ากลไกที่ทำให้ไตถูกทำลายมีอะไรเกี่ยว ข้องอยู่บ้าง เพื่อจะนำไปสู่การรักษาที่ดีขึ้น.

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยไตที่มีพยาธิสภาพไม่รุนแรง เลือดที่ไปหล่อเลี้ยงไตอยู่ในเกณฑ์ดีแต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง พบว่าเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงไตพร่องและลดลงซึ่งมีความสัมพันธ์กัน.กลุ่มวิจัยจึงได้มุ่งเป้าการศึกษาไปที่ตัวเซลล์บุผิวในหลอดเลือดจุลภาคของไตซึ่งทำหน้าที่สร้างสารต้านการแข็งตัวของเลือด สร้างสารเสริมการขยายตัวของหลอดเลือดและควบคุมกำกับการไหลของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงไต.

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ดร.นริสา กล่าวว่า สิ่งที่จะมีผลกระทบและก่อให้เกิดอาการอักเสบของเซลล์บุผิวในหลอดเลือดน่าจะมาจากสารพิษที่อยู่ในกระแสเลือดนั่นเอง เพราะฉะนั้นการศึกษาขั้นแรกเราจึงทำการทดลองนำเอาเซลล์บุผิวในหลอดเลือดของผู้ป่วยมาใส่ไว้ในหลอดทดลอง จากนั้นนำเอาซีรั่มของผู้ป่วยมาใส่เปรียบเทียบกับหลอดควบคุมซึ่งใส่เซลล์บุผิวหลอดเลือดกับซีรั่มของคนปกติ เพื่อดูกลไกการทำลาย.
 

      

ผลการทดลองเมื่อเอาซีรั่มของผู้ป่วยใส่หลอดทดลองพบว่า เซลล์บุผิวหลอดเลือดเกิดการตาย แต่เมื่อนำเอาซีรั่มของคนปกติมาใส่ในหลอดทดลอง กลับไม่พบว่าเซลล์บุผิวหลอดเลือดถูกทำลาย หรือตายในจำนวนที่น้อยมาก. ผลการทดลองดังกล่าวจึงบ่งชี้  ได้ว่าในกระแสเลือดน่าจะมีสารพิษซึ่งมีผลทำลายเซลล์บุผิวหลอดเลือด ดังนั้นการทดลองในขั้นต่อมาจึงเป็นการค้นหาว่าสารพิษที่ว่านี้คือสารพิษชนิดใด.
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า ความผิดปกติที่เกิดขึ้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน เราจึงหันไปมองความผิดปกติของสมดุลภูมิคุ้มกัน สารไซโตคายน์ที่เสริมการอักเสบ (tumor necrosis factor alpha : TNFa)ร่วมกับสารไซโตคายน์ที่ต้านการอักเสบ (interleukin- 10 : IL-10) เนื่องจากมีหลักฐานชี้บ่งว่า TNFa สามารถทำให้เกิดการอักเสบในโรคอื่นได้.

ผลการศึกษาพบว่าซีรั่มของผู้ป่วยโรคไตมี TNFa สูงผิดปกติในขณะที่ IL-10 ไม่เปลี่ยนแปลงความผิดปกติดังกล่าวทำให้เกิดการเสริมฤทธิ์ของ TNFa ในเลือด ผู้ป่วยจะเกิดภาวะสมดุลทางภูมิคุ้มกันผิดปกติไปร่วมกับสารอนุมูลอิสระ ทำให้เกิดภาวะเป็นพิษในหลอดเลือดทำให้เซลล์บุผิวหลอดเลือดถูกทำลาย เกิดภาวะหลอดเลือดหล่อเลี้ยงไตพร่องจากการหดรัดตัวของหลอดเลือดจุลภาคของไตที่ผิดปกติ เป็นสาเหตุการตายของเนื้อไตอย่างต่อเนื่อง เป็นสาเหตุให้เกิดอาการผิดปกติหลายอย่าง รวมทั้งภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะด้วย.

องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยนี้ ได้นำมาประยุกต์แก้ปัญหาดังกล่าวในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเนฟโฟรซิส (FSGS) ซึ่งแต่เดิมนั้นจะให้ยากดภูมิคุ้มกัน โดยที่ยังมีข้อเสียอยู่ที่ยังไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน จึงได้ค้นคว้าหาตัวยาที่จะมาเป็นทางเลือกอื่น เป็นทางเลือกที่ปลอดภัย ซึ่งจากการค้นคว้าตำรับยาโบราณและเอกสารข้อมูลการวิจัยที่ได้มีการอ้างอิงเอาไว้ พบว่า เห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) มีบทบาทเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน จึงเลือกนำมาวิจัย.

โดยให้ตัวยาสกัดจากเห็ดหลินจือใช้ร่วมกับยาขยายหลอดเลือด กับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการไข่ขาวรั่วในปัสสาวะต่อเนื่องมานาน 5-10 ปี ซึ่งกำลังอยู่ในภาวะไตเสื่อมถอยลงอย่างช้าๆ ผลที่ได้หลังจากทดลองให้ยาขยายหลอดเลือดกับเห็ดหลินจือประมาณ 1 ปี พบว่า ผู้ป่วยหลังจากได้รับสมุนไพรร่วมกับยาขยายหลอดเลือด มีการทำงานของไตดีขึ้น ปริมาณเลือดที่มาหล่อเลี้ยงไตเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือมีภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งนับว่าการรักษาในรูปแบบนี้สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพของไตให้ดีขึ้นกว่าเดิม แตกต่างไปจากการรักษาทั่วไป ที่ทำได้ดีที่สุดแค่ชะลอการตายของเนื้อไตให้ช้าลงเท่านั้น.

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ดร.นริสา กล่าวในตอนท้ายว่า " งานวิจัยที่กำลังศึกษาต่อไป คือการศึกษากลไกการทำลายไตในโรคไตเรื้อรังชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มไตอักเสบจากเบาหวานที่เป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งของภาวะไตวายเรื้อรังขั้นสุดท้ายในขณะเดียวกันก็พยายามศึกษาหาตัวดัชนีวินิจฉัยความผิดปกติของโรคแต่เนิ่น (early detection) จะ   ช่วยให้เริ่มการรักษาได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ".

 

นริสา ฟูตระกูล พ.บ.,รองศาสตราจารย์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

 

ป้ายคำ:
  • โรคเรื้อรัง
  • โรคติดเชื้อ
  • ไตวาย
  • นานาสาระ
  • เห็ดหลินจือ
  • รศ.พญ.นริสา ฟูตระกูล
  • อ่าน 5,582 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

257-004
วารสารคลินิก 257
พฤษภาคม 2549
นานาสาระ
รศ.พญ.นริสา ฟูตระกูล
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa