Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในคลินิก
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในคลินิก

โพสโดย somsak เมื่อ 1 มิถุนายน 2549 00:00

คำนำ
โรคสมองเสื่อม โดยเฉพาะโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่รู้จักดีจนเอามาพูดหยอกล้อกันเล่น ถ้าคนไหนความจำไม่ดี หลงลืมบ่อยๆ จะกระซิบกับพรรคพวกว่า " สงสัยเป็นอัลไซเมอร์ " แต่ถ้าย้อนถามกลับว่าโรคอัลไซเมอร์ตัวจริงเป็นอย่างไรจะไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้.

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่รู้จักกันดี เพราะในอดีตโรคนี้ไปเกี่ยวข้องพาดพิงกับนักการเมืองที่สำคัญของประเทศไทย เลยเกิดเป็นข่าวทั้งในโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ต่อมามีการทำร้ายแพทย์ที่สงสัยและให้ข่าวว่านักการเมืองคนสำคัญท่านนั้นอาจเป็นโรคนี้มีการฟ้องร้องขึ้นศาลกลายเป็นข่าวขึ้นมาอีก ทำให้โรคอัลไซเมอร์ดังอยู่นานจนติดใจและติดปากชาวไทย.

โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ไม่ได้เป็นโรคที่ติดปากเฉพาะคนไทยเท่านั้น แต่เป็นกับประชากรทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาวงการแพทย์และประชาชนชาวโลกตกตะลึงและงงไปชั่วขณะเมื่อคณะแพทย์ประจำตัวท่านประธานาธิบดีเรแกน ประกาศเป็นทางการว่าท่านเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ที่ตะลึงเพราะทุกคนไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าท่านจะเป็นโรคนี้. ประธานาธิบดีเป็นดาราภาพยนต์ที่รูปหล่อและโด่งดังมากคนหนึ่งของโลกก่อนที่จะได้รับเลือกให้เป็นผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย และประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาถึง 2 สมัยติดต่อกัน ท่านเป็นคนที่มีเงิน มีอำนาจ มีความฉลาดมากที่สุดคนหนึ่งของสหรัฐอเมริกาและของโลก แต่ในช่วงระยะเวลาประมาณ 10 ปีกว่าที่ท่านเป็นโรคนี้ ท่านกลายเป็นคนอีกคนหนึ่งชนิดตรงกันข้ามแบบหน้ามือกับหลังมือ ก่อนที่ท่านจะจบชีวิตในปี พ.ศ. 2547. ประธานาธิบดีเรแกนได้มีส่วนที่ทำให้โรคนี้อยู่ในความสนใจของชาวโลกและวงการแพทย์ทุ่มเทงบประมาณในการวิจัยโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์มากขึ้น.

โรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่มาพร้อมกับอายุ ปัจจุบันคนไทยอายุยืนยาวขี้นทั้งในสังคมเมืองและชนบท ปัญหาเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมก็ต้องเพิ่มขี้นเป็นเงาตามตัว.ปัญหาเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมในชนบทจะหนักหน่วงมากกว่าในเมืองหลายเท่าเพราะจำนวนผู้ป่วยสมองเสื่อมมีมากแต่จำนวนแพทย์ที่มีหน้าที่ดูแลโรคนี้กลับมีน้อยไม่ใช่น้อยแบบธรรมดาน้อยมากจนถึงระดับขาดแคลนมากเมื่อเทียบภาระงานที่มีอยู่จริงโดยเฉพาะแพทย์ที่มีหน้าที่ดูแลรักษาโรคนี้โดยตรงคือประสาทแพทย์และจิตแพทย์.

การดูแลรักษาโรคสมองเสื่อมเป็นเรื่องละเอียดอ่อนคล้ายการดูแลเด็กเล็ก ถ้าจะทำให้ดีที่สุดควรใช้แพทย์เฉพาะทางกุมารแพทย์จะดูแลเด็กได้ดีกว่าแพทย์ทั่วไป การดูแลโรคสมองเสื่อมก็เช่นเดียวกัน จริงๆ แล้วการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมเป็นงานที่หนักกว่าและมากกว่าการดูแลเด็กเล็กหลายเท่าการดูแล เด็กเล็กยิ่งนานภารกิจยิ่งน้อยลงและมีวันที่จะจบสิ้นเมื่อเด็กเจริญเติบโตขึ้น เดินได้ พูดได้ ช่วยตัวเองได้ แต่การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมไม่มีวันที่จะจบสิ้นจนกว่าผู้ป่วยจะจบชีวิตหรือตาย. ความจริงตัวผู้ป่วย  สมองเสื่อมไม่ได้เดือดเนื้อร้อนใจหรือทนทุกข์ทรมานในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเพราะภายในสมองของเขามีความจำเหลืออยู่น้อยมาก จำอะไรแทบจะไม่ได้ จำได้ก็ในช่วงเวลาที่สั้นมากๆ ยิ่งในระยะสุดท้าย ภายในสมองไม่มีหน่วยความจำเหลืออยู่เลย ผู้ป่วยไม่สามารถจำอะไรได้ แม้แต่ญาติที่ใกล้ชิดที่สุดหรือตัวผู้ป่วยเอง คนที่ต้องเดือดร้อนทนทุกข์ทรมานมากคือคนที่ต้องรับภารกิจการดูแลทั้งหมด ซึ่งอาจเป็น ลูก ญาติ เพื่อน หรือ caregivers.

ปัจจุบันผู้ป่วยสมองเสื่อมไทยส่วนใหญ่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและอายุรแพทย์ เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนเฉพาะทางสำหรับโรคนี้สำหรับประเทศไทยยังรุนแรง โดยเฉพาะในสังคมชนบท. ชมรมโรคสมองเสื่อมไทยได้มองเห็นปัญหาในการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม โดยเฉพาะในสังคมชนบทจึงได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สร้าง CPG หรือ Clinical Practice Guideline for Dementia ในปี พ.ศ. 2546 แจกจ่ายให้แพทย์ในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ เพื่อให้การวินิจฉัยและการดูแลรักษาโรคสมองทำได้ง่ายขึ้น เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศไทย และเป็นมาตรฐานสากลแต่เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรมของชาวไทย.

จากการที่ได้ไปบรรยายและให้ความรู้ความเข้าใจโรคสมองเสื่อมในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลประจำจังหวัด รวมทั้งการพูดคุยซักถามแพทย์ที่ต้องรับภารกิจการดูแลจนโรคสมองเสื่อมในโรงพยาบาลเหล่านั้นบ่อยๆ ทำให้เห็นความจำเป็นต้องมีตำรามาตรฐานเกี่ยวกับการดูแลรักษาโรคสมองเสื่อมอีกเล่มหนึ่ง สำหรับเป็นคู่มือที่คู่ขนานและใช้ร่วมกับ CPG เป็นความรู้ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม. บทสรุปหรือหลักการสำคัญเกี่ยวกับการดูแลโรคสมองเสื่อมจะคล้ายกับที่ปรากฏอยู่ใน CPG แต่รายละเอียด  หรือ content ของแต่ละเรื่องจะมีมากกว่าใน CPG เมื่ออ่าน CPG แล้วยังไม่เข้าใจ หรือเกิดมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ มากขึ้น ก็มาศึกษาเพิ่มเติมหรือหาความเข้าใจจากตำราเล่มนี้.

จริงๆ แล้วตัว CPG ก็ยังทันสมัยและใช้ได้ เพราะหลักการสำคัญในการวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคสมองเสื่อมก็ยังเหมือนเดิม ที่เปลี่ยนก็มีเฉพาะยาขนานใหม่ที่ใช้ได้ผลและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลในช่วง  2-3 ปีที่ผ่านมา ในกรณี severe หรือ moderately  severe dementia คือ NMDA receptor antagonist ยาขนานนี้จะไป block abnormal glutamate  activity ที่นำไปสู่ neuronal cell death ยานี้ใช้  เป็น add-on therapy ร่วมกับ cholinesterase inhibitors ทั้ง 3 ขนาน ซึ่งยังเป็นยาหลักในการรักษาผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม.

ชมรมโรคสมองเสื่อมได้มีมติให้จัดสร้างตำราคู่มือการดูแลโรคสมองเสื่อม เมื่อ 2-3 ปีก่อนแต่ไม่สามารถผลิตออกมาเป็นรูปเล่มได้ เนื่องจากคณะกรรมการแต่ละท่านมีภารกิจการงานล้นมือ. อย่างไรก็ตาม ความตั้งใจที่จะสร้างตำราดังกล่าวก็ยังมีอยู่ไม่ได้หายไปไหน คราวนี้ได้ปรับกลยุทธ์ใหม่ คือเขียนเป็นตอนๆ ให้จบภายในกรอบเวลาที่ได้กำหนดไว้และไปลงใน " วารสารคลินิก" ก่อน เมื่อได้ครบทุกบทในช่วงเวลาประมาณปีครึ่ง ก็จะมีคณะบรรณาธิการ มาช่วยกันทบทวน กลั่นกรองหรือ edit ให้เป็นตำรามาตรฐาน ชื่อ " การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในคลินิก".

ขอขอบคุณกรรมการทุกท่านที่ได้สละเวลาร่วมกันเขียนบทความเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมเป็นตอนๆ นำไปลงใน " วารสารคลินิก" เพื่อให้แพทย์ทั่วไปมีความรู้และความเข้าใจเรื่องโรคสมองเสื่อมดีขึ้นและมากขึ้น คิดว่ากิจกรรมร่วมกันครั้งนี้เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมตามมาตรฐานสากลในภาพรวมของประเทศไทยดีขึ้น และขอขอบคุณคณะกรรมการบริหารวารสารคลินิก สำหรับการร่วมกันทำงานเพื่อผู้ป่วยสมองเสื่อมไทย.
 

 

ประเสริฐ  บุญเกิด พ.บ.,ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ประธานชมรมโรคสมองเสื่อมไทย

 

ป้ายคำ:
  • การดูแลผู้สูงอายุ
  • โรคตามระบบ
  • โรคระบบประสาทและสมอง
  • ดูแลสุขภาพ
  • เวชปฏิบัติปริทัศน์
  • อัลไซเมอร์
  • ศ.นพ.ประเสริฐ บุญเกิด
  • อ่าน 3,950 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

258-003
วารสารคลินิก 258
มิถุนายน 2549
เวชปฏิบัติปริทัศน์
ศ.นพ.ประเสริฐ บุญเกิด
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa