บทนำ
ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (hypercalcemia) เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อยประมาณร้อยละ 10-20 โดยทั่วไปพบว่า หลังจากภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตในเวลาไม่เกิน 6 เดือน. การรักษาส่วนใหญ่จึงเป็น แบบประคับประคอง เพราะเมื่อผู้ป่วยมีภาวะแคลเซียมในเลือดสูงนั้นโรคมะเร็งมักอยู่ในระยะแพร่กระจายแล้ว. ปัจจุบันมียาหลายกลุ่มที่ใช้รักษาภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกันออกไปได้แก่ ยาที่ยับยั้งการสลายของกระดูก (bone resorption), ยาที่เพิ่มการขับแคลเซียมออกทางไต (renal calcium excretion) และยากลุ่ม bisphosphonates เป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง มีพิษน้อย และออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ osteoclast.1 ตลอดเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน pamidonic acid (PAM) เป็นยาที่นิยมใช้มาก แต่มีข้อจำกัดโดยต้องใช้ระยะเวลาให้ยานานกว่า 2 ชั่วโมง นักวิจัยได้ค้นพบยาใหม่ ได้แก่ zoledronic acid ซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิภาพที่สูงกว่า PAM และสะดวกในการให้.2
ข้อบ่งใช้
ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดสูงอันเนื่องจากเนื้องอก (hypercalcaemia of malignancy) และใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งที่มี bone metastases ที่เกิด osteolytic, osteoblastic หรือเกิดทั้ง 2 อย่างร่วมกันและใช้รักษาผู้ป่วย multiple myeloma ที่เกิด osteolytic lesions ร่วมกับยาเคมีบำบัดสูตรมาตรฐาน.
สรุป
ยา zoledronic acid มีประสิทธิภาพดีในการรักษาภาวะแคลเซียมในเลือดสูงในผู้ป่วยมะเร็ง ขนาดที่นิยมใช้ คือ 4 มก. หยดทางหลอดเลือดดำ 15 นาที ซึ่งเป็นขนาดเดียวกับการรักษาผู้ป่วยระยะที่ 2 ที่เกิด bone metastases ของมะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมากหรือมะเร็งชนิดอื่นๆ โดยออกฤทธิ์ไปยับยั้งการทำงาน ของ osteoclast ลดการทำลายกระดูกในปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่า ยา zoledronic acid ทำปฏิกิริยากับยาขนานใดที่ใช้ในภาวะแคลเซียมในเลือดสูงเนื่องจากเนื้องอก.
เอกสารอ้างอิง
1. วรชัย รัตนธราธร. ตำราการรักษาโรคมะเร็ง (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : โฮลิสติก พับลิชชิ่ง, 2538.
2. Brown JE, Neville-Webbe H, Coleman RE. Zoledronic acid : a review of its use in patients with advanced cancer drugs. 2004;64(11):1197-211.
ธีระ ฤทธิรอด ภ.บ., Ph.D., รองศาสตราจารย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
สุภัสร์ สุบงกช ภ.บ., Pharm.D., อาจารย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
ผันสุ ชุมวรฐายี, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
วิทวัส ศรีสวาสดิ์, นักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- อ่าน 19,255 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้