Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » " จะฟ้องก็ได้นะหมอโรงพยาบาลแรกน่ะตรวจซี้ซั้ว "
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

" จะฟ้องก็ได้นะหมอโรงพยาบาลแรกน่ะตรวจซี้ซั้ว "

โพสโดย somsak เมื่อ 1 สิงหาคม 2549 00:00

กรณีศึกษา
หญิงอายุ 24 ปี ตั้งครรภ์แรก อายุครรภ์ 35 สัปดาห์ (คำนวณด้วย LMP และอัลตราซาวนด์) มาตรวจช่วงหัวค่ำที่โรงพยาบาลชุมชนเพราะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด.

แพทย์เวรประเมินแล้วพบว่ามดลูกบีบตัวถี่อาจจะคลอดก่อนกำหนดได้ จึงให้ terbutaline (Bricanyl ® ) หยอดเข้าเส้น เพื่อระงับการเจ็บครรภ์คลอด (ผลอัลตราซาวนด์ในช่วงฝากครรภ์เคยพบว่ามีภาวะรกเกาะต่ำแบบ placenta previa partialis). หลังจากให้ยาได้ประมาณ 2 ชั่วโมง ผู้ป่วยกลับมีอาการเจ็บครรภ์ถี่ขึ้นและมีเลือดออกทางช่องคลอด แพทย์เวรตรวจภายในพบปากมดลูกเริ่มเปิด 1 นิ้วมือและเห็นว่าไม่สามารถระงับการคลอดได้ จึงรีบส่งต่อโรงพยาบาลศูนย์.

เมื่อไปถึงโรงพยาบาลศูนย์เป็นช่วงต่อเวร แพทย์เวรดึกตรวจอัลตราซาวนด์แล้วพบว่าไม่มีเสียงหัวใจเด็กจึงตัดสินใจให้รอคลอดทางช่องคลอด. ต่อมาแพทย์เวรเช้า เห็นผลอัลตราซาวนด์ว่าเด็กเป็นท่าก้น จึงตัดสินใจผ่าคลอดแทนการรอคลอดปกติ.ในระหว่างการผ่าตัดแม่มีอาการช็อกมีภาวะแทรกซ้อนเป็น DIC ต้องให้เลือดจำนวนมาก. จากการผ่าตัดพบว่า ทารกตายในครรภ์ สายสะดือเปื่อย สันนิษฐานว่าน่าจะตายมานานกว่า 24 ชั่วโมง แม่ต้องนอนรักษาตัวใน ICU  ต่ออีก 5 วันจึงจะกลับบ้านได้.


พยาบาลโรงพยาบาลชุมชนที่ไปส่งผู้ป่วยที่ โรงพยาบาลจังหวัดถูกตำหนิกลับมาตั้งแต่แรกว่า "drip Bricanyl ® มาได้ยังไง ไม่รู้หรือไงว่าห้ามทำใน case placenta previa อย่างนี้ " หลังจากผู้ป่วยกลับมาบ้าน เสียงเซ็งแซ่ในชุมชนถึงเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นว่า ทีมหมอโรงพยาบาลศูนย์พูดมาว่า" เนี่ย เด็กตายมาตั้งนานแล้ว ถ้าจะฟ้องก็ฟ้องได้ นะหมอที่โน่นไม่รู้ตรวจได้ยังไง ฟังเสียงหัวใจเด็กเป็นหรือเปล่าก็ไม่รู้ "ญาติจึงกลับมาถามว่า เหตุการณ์ตอนแรกเป็นอย่างไรกันแน่ โรงพยาบาลทำผิดหรือเปล่า และต่างรู้สึกไม่พอใจว่าโรงพยาบาลชุมชนรักษาไม่ดี.


ประเด็นน่ารู้

1. แพทย์โรงพยาบาลแรกมีความผิดฐานส่งต่อล่าช้ จึงทำให้ทารกถึงแก่ความตายและผู้ป่วยบาดเจ็บสาหัสหรือไม่ ถ้ามีเป็นความผิดลักษณะใด

ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าแพทย์ทั่วไปส่วนใหญ่ที่อยู่ในสถานะเดียวกับแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนนี้มีความเห็นต่อกรณีดังกล่าวว่าควรต้องส่งต่อแต่เนิ่นๆ เพราะเกินขีดความสามารถของแพทย์โรงพยาบาลชุมชนจะจัดการได้. การส่งต่อที่ล่าช้าแล้วทำให้ทารกหรือผู้ป่วยได้รับอันตรายหรือตาย อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ซึ่งแพทย์ต้องรับผิดทางกฎหมายทั้งทางคดีแพ่งและอาญา.

แต่ในกรณีผู้ป่วยรายนี้ เนื่องจากร้อยละ 80 ของภาวะรกบางส่วนเกาะต่ำที่ตรวจพบจากการฝากครรภ์มักจะหายเองเมื่อครรภ์ใกล้คลอด ดังนั้นหากไม่มีภาวะของน้ำคร่ำเดินก่อนกำหนดก็ไม่ใช่ข้อห้ามในการให้ยาระงับการเจ็บครรภ์. ส่วนสาเหตุที่ทารกตายอาจเป็นได้หลายสาเหตุ เช่น อาจมีภาวะรกลอกตัวร่วมอยู่ด้วย เด็กจึงเสียชีวิตเมื่อใดก็ได้ เวชปฏิบัติของแพทย์โรงพยาบาลชุมชนจึงไม่น่าจะมีปัญหา.

ในทางตรงข้ามเมื่อโรงพยาบาลจังหวัดรับต่อผู้ป่วยและพบว่าไม่มีเสียงหัวใจทารกแล้ว ต้องรีบให้คำปรึกษาและปลอบโยนความเสียใจดังกล่าวให้ทันท่วงที. การตัดสินใจให้รอคลอดทางช่องคลอดต้อง  ดูแลความรู้สึกของแม่และญาติในคืนนั้นด้วย ที่ต้องอยู่กับความรู้สึกว่าเด็กตายอยู่ในครรภ์ตนเอง ทั้งนี้ไม่มีความจำเป็นที่ต้องผ่าคลอดทางหน้าท้อง ถึงแม้ จะเป็นท่าก้นก็ตาม. ความคลาดเคลื่อนในการสื่อสารและการไม่ได้ดูแลความเสียใจของแม่และญาติ ซ้ำเติมด้วยอาการตกเลือดวิกฤติในการผ่าตัด น่าจะเป็นที่มาของการฟ้องร้องมากกว่าการส่งต่อที่ล่าช้า.

 

2. ในกรณีที่โรงพยาบาลใหญ่ยุให้ฟ้องร้องโรงพยาบาลเล็กที่ส่งต่อผู้ป่วยหนักเข้ามารับการรักษาแล้วปรากฏว่าผลการรักษาไม่ดี โรงพยาบาลใหญ่มีความผิดหรือไม่อย่างไร
โดยทั่วไป แพทย์ไม่ควรยุให้ผู้ป่วยฟ้องแพทย์ด้วยกัน เพราะอาจมีความผิดเข้าข่ายเป็นการให้ร้ายเพื่อนร่วมวิชาชีพ ซึ่งอาจเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม หมวด 4 ดังนี้

ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาเวชกรรม หมวด 4 การปฎิบัติต่อผู้ร่วมวิชาชีพ

ข้อ 1. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมพึงยกย่องให้เกียรติในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน

ข้อ 2. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตัองไม่ทับถมให้ร้ายหรือกลั่นแกล้งกัน

ข้อ 3.ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ชักจูงผู้ป่วยของผู้อื่นมาเป็นของตน

นอกจากนี้หากแพทย์ยุให้ผู้ป่วยหรือญาติฟ้องแพทย์โรงพยาบาลเล็กที่ส่งผู้ป่วยมารักษาต่อ หรือได้พูดหรือกล่าวข้อความต่อผู้ป่วยหรือญาติในทำนองที่ว่าแพทย์ผู้ส่งต่อไม่มีความรู้หรือบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจเข้าข่ายความผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาทใส่ความต่อบุคคลที่ 3 ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้

ม. 326 ผู้ใดใส่ความต่อผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

แต่ความผิดตามมาตรานี้ เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งหมายความว่าผู้เสียหาย (แพทย์โรงพยาบาลเล็กที่ส่งผู้ป่วยมารักษาต่อ) ต้องแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนก่อนพนักงานสอบสวนจึงจะดำเนินคดีได้.

ถ้ามีการดำเนินคดี ผู้ต้องหา (แพทย์โรงพยาบาลใหญ่) ก็อาจจะแก้ตัวได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 330 ที่บัญญัติว่า

ม. 330 ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่า กระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อหาที่หมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้น เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัวและการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

กฎหมายมาตราข้างต้น เป็นข้อยกเว้นโทษสำหรับผู้กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท และผู้ถูกกล่าวหา (แพทย์ที่ยุผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยว่าแพทย์ที่ส่งต่อนั้นไม่มีความรู้หรือปฏิบัติบกพร่อง) ต้องมีหน้าที่พิสูจน์ว่าคำกล่าวของตนเป็นความจริงและการพิสูจน์นั้นจะต้องเป็นประโยชน์แก่ประชาชน เพื่อที่ประชาชนจะได้ทราบว่าแพทย์นั้นมีความสามารถที่จะรักษาผู้ป่วยได้มากน้อยเพียงใด.


ในการขอพิสูจน์ของจำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหา (แพทย์โรงพยาบาลใหญ่) ว่าคำกล่าวของตนเป็นความจริง (คือแพทย์โรงพยาบาลเล็กไม่มีความรู้) และการขอพิสูจน์นั้นจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ต้องให้ศาลพิจารณาอนุญาตให้ทำได้เสียก่อน หากศาลไม่อนุญาตก็พิสูจน์ไม่ได้ จำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหา (แพทย์โรงพยาบาลใหญ่ที่ให้ร้ายและหมิ่นประมาทเพื่อนร่วมวิชาชีพที่โรงพยาบาลเล็ก) จึงมีความเสี่ยงที่จะต้องรับผิดและรับโทษเช่นกัน. ศาลอาจตัดสินให้แพ้คดีอาญา หากพบว่าก่อให้เกิดความเสียหายต่อแพทย์โรงพยาบาลเล็กจริง ซึ่งในความเป็นจริงการตัดสินใจทางคลินิก ณ เวลาหนึ่งๆ อาจพิสูจน์ไม่ได้ว่าถูกต้องที่สุด (คือแพทย์โรงพยาบาลเล็กไม่มีความรู้) เพราะขึ้นกับสถานการณ์ในขณะนั้นๆ.

ความผิดฐานหมิ่นประมาทนี้ใช้สำหรับการทับถมให้ร้ายบุคคลซึ่งเป็นใครก็ได้ ไม่เฉพาะระหว่างแพทย์และผู้กระทำผิด อาจเป็นใครก็ได้ในหมู่บุคลากร ทางการแพทย์ทุกประเภท.

 

3. หากถูกฟ้องร้อง แพทย์โรงพยาบาลชุมชนควรทำอย่างไรจะกลายเป็นบรรทัดฐานแก่การส่งต่อครั้งหน้าหรือไม่

ทันทีที่รับทราบว่ามีเหตุขัดแย้งหรือถึงขั้นฟ้องร้อง อาจให้แพทย์ผู้ถูกฟ้องร้องหรือผู้อำนวยการหรือทีมโรงพยาบาลชุมชนซึ่งเป็นคนในพื้นที่ (ให้พิจารณาตามความรุนแรงของสถานการณ์) รีบเข้าไปพบปะผู้ป่วย ญาติ และผู้นำชุมชนทันที ร่วมรับฟังสถานการณ์และแสดงความเสียใจกับทุกข์ของเขา พร้อมรับปากว่าจะกลับไปตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งที่โรงพยาบาล ชุมชนและโรงพยาบาลจังหวัด ก่อนที่จะกลับไปอธิบายความจริงให้ผู้ป่วย ญาติ และผู้นำชุมชนทราบโดยเร็ว.

ในขณะเดียวกันก็รีบประสานไปยังโรงพยาบาลจังหวัด อาจคุยโทรศัพท์สายตรงกับแพทย์ที่เกี่ยวข้องฉันท์พี่น้องเพื่อไต่ถามว่าเกิดเหตุการณ์อะไรบ้างที่จังหวัด อาจเกริ่นให้ทราบถึงปัญหาที่กำลังเกิดความขัดแย้งในชุมชนสืบเนื่องจากคำพูดที่ญาติเข้าใจผิดมาจากทางจังหวัด เสร็จแล้วอาจนัดให้ผู้ป่วยและญาติไปพบทีมแพทย์ที่จังหวัดเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดนั้นเสียใหม่ ใครเป็นผู้ผูกปมปัญหาใดก็สมควร จะเป็นผู้แก้ปมปัญหานั้น ในสถานการณ์นี้แพทย์โรงพยาบาลเล็กคงแก้ข้อหาให้ตนเองได้ลำบากเพราะตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาเสียแล้ว.

แพทย์ไม่ควรหนีหน้าหรือให้คนอื่นไปรับหน้าแทน ยกเว้นติดภารกิจด่วนที่อื่น ความเป็นแพทย์จะทำให้คนส่วนใหญ่เกรงใจและนับถืออยู่แล้ว ความขัดแย้งก็จะเบาบางลงหากแพทย์ไปปรากฏตัวเองแต่แรก เสียงซุบซิบในชุมชนก็จะหายไป แต่หากแพทย์ไม่อยู่ ควรเตรียมทีมรับวิกฤติดังกล่าวแทน อย่างไรก็ตาม ระวังอย่านำหลักกฎหมายหรือนักกฎหมายเข้าร่วมพูดคุยเพื่อรับฟังทุกข์ของเขา เพราะกลับจะยิ่งทำให้ความขัดแย้งเพิ่มขึ้น.

ในกรณีที่ถูกฟ้องร้องเป็นคดีขึ้นมาจริงๆ แพทย์ของทางราชการที่ถูกฟ้องคดีหรือถูกผู้เสียหายแจ้งความคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ มีสิทธิขอร้องให้พนักงานอัยการเป็นทนายแก้ต่างให้ได้.

ในการพิจารณาคดีทางกฎหมาย ความผิดในการส่งต่อไป รักษาไม่มีบรรทัดฐานใดๆ ขึ้นกับข้อเท็จจริงเป็นรายกรณี. ดังนั้น หากเป็นกรณีสุดวิสัยเช่นนี้ แพทย์โรงพยาบาลชุมชนไม่ควรเสียกำลังใจหรือกลัวจนกระทั่งไม่กล้าดูแลหญิงตั้งครรภ์อีก. อย่าปล่อยให้เหตุการณ์เรื่องความเข้าใจผิดเพียงเรื่องเดียวเช่นนี้ทำให้สัมพันธภาพของโรงพยาบาลกับชุมชนหรือสัมพันธภาพระหว่างโรงพยาบาลเล็กกับโรงพยาบาลใหญ่ต้องเสียไป ต้องรีบหาโอกาสฟื้นฟูความสัมพันธ์ทั้งสองด้านโดยเร็ว.

 

4. ถ้าแพทย์โรงพยาบาลชุมชนถูกฟ้องร้องในกรณีดังกล่าวควรจะทำอย่างไรจะมีอะไรไปยืนยัน
หากคำฟ้องเรื่องประมาทเลินเล่อ ก็ต้องเตรียมเอกสารในการต่อสู้คดีว่าทำดีที่สุดแล้ว เอกสารที่จะใช้ในการต่อสู้คดี คือบัตรตรวจโรคและเวชระเบียน ซึ่งสามารถขอให้ศาลออกหมายเรียกและขอให้โรงพยาบาลศูนย์ส่งให้ศาลได้ ดังนั้นการบันทึกเวชระเบียนอย่างถูกต้องครบถ้วนจึงเป็นสิ่งสนับสนุนในการดำเนินคดี.


5. แพทย์ พยาบาล ผู้ปฏิบั ติงานในสถานพยาบาลขนาดเล็ก ที่เครื่องไม้เครื่องมือไม่พร้อม ต้องตัดสินใจเป็นด่านหน้า มีสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายอย่างไรบ้าง
ท่ามกลางความจำกัดของทรัพยากร การตัดสินใจทำหน้าที่ให้ดีที่สุดโดยสุจริตเป็นเกราะคุ้มครองที่ดีที่สุด และความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยที่ดีย่อมจะทำให้แพทย์ได้รับความเห็นใจจากผู้ป่วย. ในการส่งต่อผู้ป่วยจึงควรอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงข้อจำกัดในการให้บริการจริงๆ อย่าทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเป็นการปัดความรับผิดชอบตามหน้าที่.

ศาลจะพิจารณาจากการกระทำที่ดีที่สุดตามวิสัยและพฤติการณ์ หากเกิดความผิดพลาดหรือความเสียหายจากการปฏิบัติงานในราชการ บุคลากรทุกคนจะได้รับความคุ้มครองโดย " พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่  พ.ศ. 2539 ซึ่งหน่วยงานที่สังกัดจะรับหน้าก่อน.


6. กรณีศึกษานี้มีประเด็นความผิดพลาดที่ใดบ้าง
การตรวจพบในระหว่างฝากครรภ์ว่ามีภาวะรกเกาะต่ำ แพทย์ควรอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการคลอดทั้งที่ครบกำหนดและคลอดก่อนกำหนด ถ้าไม่แน่ใจว่าจะทำ คลอดได้อย่างปลอดภัย ควรแนะนำให้ผู้ป่วยไปคลอดหรือฝากคลอดที่โรงพยาบาลใหญ่โดยรีบส่งต่อแต่เนิ่นๆ.

อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ขึ้นอยู่กับผลอัลตราซาวนด์ที่ทำแล้วพบว่ารกเกาะต่ำนั้นทำไปเมื่อใดห่างจากการเจ็บครรภ์คราวนี้มากเพียงใด ความรุนแรงของภาวะรกเกาะต่ำที่พบจากการตรวจครั้งก่อนมีมากเพียงใด เพราะหลายรายที่ภาวะดังกล่าวดีขึ้นเมื่อใกล้คลอด.

ส่วนจะมีภาวะแทรกตัวซ้อนร่วมด้วยหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลจริงที่ตรวจพบในผู้ป่วย เช่น แพทย์  โรงพยาบาลชุมชนบันทึกว่าตรวจพบเสียงหัวใจเด็กและอัลตราซาวนด์ไม่พบภาวะรกลอกตัว หรือขณะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดไม่มีภาวะน้ำเดินก่อนให้ยาระงับการคลอด เป็นต้น.

ในกรณีเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดอย่างฉุกเฉินเช่น ในรายนี้แพทย์โรงพยาบาลชุมชนอาจประเมินแล้ว คิดว่าภาวะรกเกาะต่ำรุนแรงน้อย จึงได้พยายามระงับคลอดก่อน และติดตามจนพบว่าระงับไม่ได้จึงรีบส่งต่อซึ่งก็น่าจะถูกต้อง.

แต่ถ้าพบว่าแพทย์โรงพยาบาลชุมชนรายนี้ทำผิดซ้ำบ่อยๆ ในกรณีคลอดบุตรแสดงว่าอาจจะขาดความรู้ทางสูตินรีเวช ทางทีมแพทย์โรงพยาบาลจังหวัดต้องประสานเพื่อช่วยเหลือเพิ่มเติมความรู้และทักษะให้เพื่อนแพทย์รายนี้ ควรจะตักเตือนกันในหมู่แพทย์ ไม่ใช่ฝากต่อว่าผ่านประชาชนไปถึงแพทย์ต้นทาง

การฝากต่อว่าดังกล่าว นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆแล้วยังเกิดโทษหลายด้าน.ทั้งบั่นทอนขวัญกำลังใจของหมู่เพื่อนแพทย์ในโรงพยาบาลเล็กอาจเกิดความกลัว หรือน้อยใจแล้วประชดด้วยการส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ทุกรายไปที่โรงพยาบาลใหญ่ ทุกข์ก็จะย้ายไปอยู่ที่ทีมแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แทน คุณภาพการบริการจะต่ำลงเพราะมีจำนวนผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นมากขึ้น

ระชาชนก็ได้รับความเดือดร้อนจากความขัดแย้งระหว่างโรงพยาบาล ศรัทธาของประชาชนโดยรวมที่มีต่อทีมแพทย์ทั้งจังหวัดก็จะตกต่ำ การฟ้องร้องก็จะไม่ยุติเพียงรายเดียวหรือเรื่องเดียว แต่จะแผ่กระจายต่อไป.

ส่วนเรื่องการวินิจฉัยอาจจะผิดพลาดว่าเด็กตายในครรภ์มานานแล้วนั้น เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังในการบอกข่าวร้ายแก่แม่และญาติๆ เพราะลำพังข่าวว่าเด็กตายก็ร้ายแรงเพียงพอแล้ว.
การบอกข่าวร้าย ไม่จำเป็นต้องบอกข้อมูลทางการแพทย์ทั้งหมด ขึ้นกับผู้ป่วยและญาติจะรับทุกข์ได้มากน้อยขนาดไหน รวมทั้งข้อมูลที่จะบอกมีประโยชน์กับผู้ป่วยและญาติมากน้อยเพียงใด เช่น ในกรณีนี้อาจไม่จำเป็นต้องบอกว่าตายมาแล้วกี่ชั่วโมงเพราะเป็นข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยและญาติรวมทั้งในกรณีเช่นนี้ แม่และญาติก็อาจจะทำใจมาบ้างแล้วกับความผิดปกติของครรภ์ที่เจ็บคลอดก่อนกำหนด.เขายังไม่ได้กล่าวโทษใคร เพราะอาการมันเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เด็กก็ตายตามธรรมชาติได้โดยไม่ต้องมีคนรับผิด

กรณีนี้จึงอาจบ่งบอกว่าบุคลากรที่จังหวัดน่าจะขาดทักษะในการแจ้งข่าวร้าย เช่นไม่รู้จะแจ้งอย่างไร กลัวแม่และญาติจะตำหนิต่อว่า จึงรีบปัดความรับผิดชอบ ด้วยการบอกทำนองว่า " เด็กไม่ได้มาตายที่ฉันนะ เด็กตายมาตั้งนานแล้ว ฉันช่วยไม่ได้จริงๆ ไม่ใช่ความผิดของฉันนะ"โรงพยาบาลจังหวัดจึงสมควรฝึกอบรมบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยให้เข้าใจเรื่องการแจ้งข่าวร้ายและการดูแลผู้ป่วยและญาติที่กำลังตกใจไม่เช่นนั้นจะเกิดกรณีซ้ำๆ แบบนี้  โดยต้นเหตุอยู่ที่บุคลากรของโรงพยาบาลจังหวัดเองที่ขาดความรู้และทักษะในการแจ้งข่าวร้าย การฟ้องร้องและความขัดแย้งระหว่างโรงพยาบาลเล็กและโรงพยาบาลใหญ่ก็จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ เครือข่ายการส่งต่อผู้ป่วยก็จะได้รับความเสียหายทั้งจังหวัด.

 

7. จะมีแนวทางการป้องกันการถูกฟ้องร้องจากกรณีศึกษานี้ได้อย่างไร
แพทย์โรงพยาบาลชุมชนอาจเพิ่มความสัมพันธ์กับโรงพยาบาลใหญ่ด้วยการโทรศัพท์แจ้งการส่งต่อผู้ป่วยด้วยตนเองและฝากฝังให้ช่วยดูแลผู้ป่วย พร้อมโทรศัพท์ติดตามผลการส่งต่อเป็นระยะๆ เป็นการเพิ่มการสื่อสารระหว่างทีมแพทย์ด้วยกัน รวมทั้งอาจขอพูดคุยปลอบโยนญาติเป็นระยะๆในขณะที่ป่วยหนักอยู่ในโรงพยาบาลจังหวัดหากความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์โรงพยาบาลชุมชนกับผู้ป่วยและญาติเป็นไปโดยราบรื่นเสมอมาการฟ้องร้องคงไม่เกิดขึ้น.

นอกจากนี้ การติดตามไปดูแลทุกข์สุขของผู้ป่วยวิกฤติและญาติที่เพิ่งกลับมาจากจังหวัดจะช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้ผู้ป่วยและญาติ หากพบว่าผู้ป่วยเกิดความเสียหายจากการรักษาพยาบาลจริงและมีความเดือดร้อนด้านการเงิน ควรแนะนำผู้ป่วยเรื่องการขอรับเงินช่วยเหลือตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ตามข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล.

ส่วนการป้องกันการฟ้องร้องในระดับจังหวัดได้กล่าวถึงแล้วเรื่องการฝึกอบรมบุคลากรโรงพยาบาลจังหวัดในการแจ้งข่าวร้ายและดูแลญาติในกรณีผู้ป่วยถึงแก่ความตายหรือป่วยหนัก.

 

สายพิณ หัตถีรัตน์ พ.บ. ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว,คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ป้ายคำ:
  • กรณีศึกษา
  • คุยสุขภาพ
  • อื่น ๆ
  • กฎหมายการแพทย์น่ารู้
  • ผศ.พญ.สายพิณ หัตถีรัตน์
  • อ่าน 9,412 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

260-006
วารสารคลินิก 260
สิงหาคม 2549
กฎหมายการแพทย์น่ารู้
ผศ.พญ.สายพิณ หัตถีรัตน์
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa