Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » สู่แนวทางตรวจไข้เลือดออกด้วย โปรตีนจากไวรัส
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

สู่แนวทางตรวจไข้เลือดออกด้วย โปรตีนจากไวรัส

โพสโดย somsak เมื่อ 1 มีนาคม 2549 00:00

แพทย์ไทยเร่งศึกษาโปรตีนที่ถูกสร้างจากไวรัสไข้เลือดออก พบความเกี่ยวข้องกันระหว่างปริมาณของโปรตีนชนิดนี้กับความรุนแรงของโรคและผลพลอยได้ ยังนำไปสู่การพัฒนาชุดตรวจวัดโปรตีนชนิดนี้เพื่อค้นหาเชื้อไข้เลือดออกภายในเลือดได้อีกด้วย.

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ดังที่จะเห็นได้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโรคไข้เลือดออกอยู่เป็นจำนวนไม่น้อยทุกปี โดยที่ผู้ป่วยและเสียชีวิตส่วนหนึ่งนั้นเป็นเด็ก. เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การติดเชื้อไข้เลือดออกนั้นเกิดจากผู้ป่วยถูกยุงลายกัด เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือดก็จะมีการเพิ่มจำนวนในร่างกายและมีผลกระทบกับระบบต่างๆ ของร่างกาย.

ดร. แพทย์หญิงปนิษฎี อวิรุทธ์นันท์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผู้ทำวิจัยโครงการ "บทบาทของโปรตีน NS1 กับพยาธิกำเนิดของไข้เลือดออก" ซึ่งสนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวถึงความสนใจในการทำวิจัยเรื่องนี้ว่า "พยาธิกำเนิดคือ กลไกที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพหรืออาการในผู้ป่วย ซึ่งอาการของโรคไข้เลือดออกที่พบแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ไข้เดงกี่ (dengue fever) และไข้เลือดออกชนิดรุนแรง (dengue hemorrhagic fever) ความแตกต่างก็คือ  ในกลุ่มที่มีอาการรุนแรงสารน้ำหรือพลาสมาจะรั่วออกมาจากหลอดเลือด การวิจัยในปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายสาเหตุที่พลาสมารั่วออกนอกหลอดเลือดได้.

งานวิจัยชิ้นนี้มีความตั้งใจที่จะศึกษาบทบาทของโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งสร้างขึ้นโดยไวรัสไข้เลือดออกที่มีชื่อว่า NS1 (nonstructural 1) ซึ่งอาจมีผลต่อการรั่วของพลาสมาออกมานอกหลอดเลือดหรือไม่ ทั้งนี้โปรตีน NS1 นั้นเป็นโปรตีนที่ไม่ได้อยู่บนผิวของไวรัส โดยปกติแล้วไวรัสจะมีโปรตีนอยู่ที่เปลือกหลายชนิด แต่ไม่พบว่าในภาวะที่ไวรัสอยู่นอกเซลล์มีโปรตีนชนิดนี้อยู่บนผิวนอกของไวรัสเลย. เมื่อไวรัสเข้าสู่เซลล์ร่างกายของผู้ติดเชื้อ โปรตีน NS1 จะถูกสร้างขึ้นจากภายในเซลล์และถูกส่งขึ้นมาอยู่นอกเซลล์ (ที่ติดเชื้อ) มาสู่ที่ผิวด้านนอกหรือปล่อยออกสู่นอกเซลล์ ซึ่งหมายความว่า จะสามารถตรวจพบโปรตีนชนิดนี้ได้ เมื่อมีการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกภายในเซลล์เท่านั้น.

การศึกษาโปรตีน NS1 ของไวรัสไข้เลือดออกในครั้งนี้ เน้นการศึกษาคุณสมบัติของโปรตีน NS1 กับความสามารถในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทั้งในส่วนที่อยู่บนผิวเซลล์และส่วนที่ปล่อยออกมาจากเซลล์ที่ติดเชื้อ โดยที่โปรตีน NS1 ที่อยู่บนผิวเซลล์จะได้มาจากการนำเซลล์เพาะเลี้ยงที่ติดเชื้อไข้เลือดออก เพื่อทำการผลิตโปรตีนชนิดนี้ในรูปแบบที่อยู่บนผิวเซลล์. ส่วนโปรตีน NS1 แบบที่ปล่อยออกมานอกเซลล์ จะถูกสกัดแยกและทำให้บริสุทธิ์ออกมาจากน้ำเลี้ยงเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสโดยวิธีจำเพาะ หลังจากนั้นจึงนำโปรตีนที่ได้ทั้ง 2 ชนิดมาศึกษาความสามารถในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ผลที่เกิดขึ้นจากการกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดนี้เป็นผลให้เกิดโปรตีนจำเพาะกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติในการทำให้เกิดการรั่วของพลาสมาได้ และยังพบว่าปริมาณของโปรตีน NS1 ในเลือดมีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของโรคอีกด้วย.

ดร. แพทย์หญิงปนิษฎี กล่าวถึงการประยุกต์ใช้ต่อเนื่องจากงานวิจัยชิ้นนี้ว่า "จากการคิดค้นการแยกแยะและศึกษาโปรตีน NS1 ทำให้สามารถนำกระบวนการดังกล่าวนั้นมาพัฒนาเป็นชุดตรวจวัดโปรตีน NS1 ของไวรัสไข้เลือดออกในเลือดของผู้ป่วย ซึ่งจะสามารถทำให้บอกได้ว่าผู้ป่วยติดเชื้อไข้เลือดออกหรือไม่. การตรวจโดยวิธีนี้มีข้อดีต่างจากวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสโดยตรง เพราะว่าโปรตีนชนิดนี้จะอยู่ในกระแสเลือดได้นานกว่าเชื้อไวรัส และมีกรรมวิธีการตรวจที่ง่ายและมีราคาถูกกว่า ยิ่งเราตรวจพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อไข้เลือดออกอย่างแน่ชัดเร็วขึ้นเท่าไร โอกาสที่จะรักษาเพื่อป้องกันความสูญเสียก็จะยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น"

งานวิจัยต่อเนื่องคือการพิสูจน์ว่าบทบาทของ NS1 ที่พบในเซลล์เพาะเลี้ยงนั้น เมื่อนำมาศึกษาในผู้ป่วยจริงจะให้ผลไปในทางเดียวกันหรือไม่ ถ้าใช่อาจส่งผลต่อการรักษาผู้ป่วยโดยการให้ยาเพื่อหยุดปฏิกิริยาการสร้างกลุ่มโปรตีนจำเพาะดังกล่าวในผู้ป่วยที่มีอาการไข้เลือดออกอย่างรุนแรงได้.

 

ป้ายคำ:
  • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
  • นานาสาระ
  • สำนักสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • อ่าน 4,039 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

255-002
วารสารคลินิก 255
มีนาคม 2549
นานาสาระ
สำนักสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa