Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ตรวจไข้เลือดออกด้วยปัสสาวะเทคนิคใหม่รายแรกของโลก
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ตรวจไข้เลือดออกด้วยปัสสาวะเทคนิคใหม่รายแรกของโลก

โพสโดย somsak เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2549 00:00

การระบาดของโรคไข้เลือดออกจะถูกกลบด้วยซาร์สหรือไข้หวัดนก แต่การระบาดของโรคนั้นยังคงความรุนแรง.  สำนักระบาดวิทยารายงานผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออกช่วง 2 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2548 กว่า  2,700 ราย เสียชีวิต 2 ราย ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้ป่วยในช่วงเวลาเดียวกันของปี พ.ศ.  2547 1,190 ราย หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 75.4. 


ปัญหาสำคัญของการควบคุมโรคไข้เลือดออกคือการวินิจฉัยโรค เนื่องจากลักษณะอาการของผู้ป่วย ในระยะก่อนช็อกอาจคล้ายกับโรคติดเชื้อชนิดอื่นๆ คือ มีไข้สูงระบุไม่ได้ว่าติดเชื้อไวรัสเดงกีหรือไม่ ผู้ป่วยบางรายชะล่าใจคิดว่าเป็นอาการไข้ธรรมดา กว่าจะ ได้รับการดูแลจากแพทย์ก็อาจล่าช้าไม่ทันท่วงที. 
วิธีการตรวจวินิจฉัยคือ มุ่งตรวจภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้น ซึ่งต้องรอเวลาระยะหนึ่ง ทำให้การรักษาล่าช้าไม่ทันกาล.


นอกจากนี้ การเจาะเลือดเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกนั้น ในบางกรณีไม่สามารถกระทำได้ด้วยการเจาะเลือดเพียงครั้งเดียว และในบางกรณีเมื่อแพทย์ผู้ดูแลตรวจหาภูมิต้านทานไวรัสเดงกีไม่พบในระยะที่เด็กมีไข้ก็ไม่สามารถให้การวินิจฉัยอย่างมั่นใจได้. ผลที่ตามมาคือไม่สามารถแจ้งผู้ปกครองได้เต็มปากว่าเด็กเป็นไข้เลือดออก (เพื่อแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการป้องกันภาวะช็อก) ทำให้มาตรการการป้องกันภาวะช็อกและอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อเดงกีไม่ได้ประสิทธิภาพสูงสุดอย่างที่ควรจะเป็น.  


ดังนั้นจึงเป็นไปได้หรือไม่ว่า เราจะใช้สารคัดหลั่งส่วนอื่นๆ เช่น ปัสสาวะหรือน้ำลาย มาใช้ตรวจวินิจฉัยหาเชื้อไวรัสเดงกีหรือนำมาตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเดงกีแทนการเจาะเลือด เพื่อเพิ่มทางเลือกการตรวจโรคไข้เลือดออกในเด็กให้ง่ายขึ้น และได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยและผู้ปกครองมากยิ่งขึ้น.
เพื่อตอบคำถามดังกล่าวจึงได้มีการพัฒนาวิธีการใหม่โดยแบ่งเป็น 2 ขั้น ดังนี้

1. พัฒนาเทคนิค PCR ในการตรวจเชื้อไวรัสเดงกีขึ้น โดยการออกแบบชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมที่เราสังเคราะห์ขึ้น เพื่อนำไปจับกับไวรัสเดงกีในเลือด ปัสสาวะ หรือน้ำลายของผู้ป่วย เพื่อให้เครื่อง PCR สามารถทำการขยายเพิ่มปริมาณของชิ้นส่วนไวรัสและตรวจพบได้โดยง่าย ชิ้นส่วนนี้เรียกว่า ไพรเมอร์.  การเลือกสังเคราะห์ไพรเมอร์พิจารณาเลือกชิ้นส่วนจากยีนเชื้อไวรัสเดงกีที่เหมือนกันทั้ง 4 สายพันธุ์  (serotype) เพื่อให้การตรวจครั้งเดียวสามารถพบเชื้อไวรัสเดงกีได้ครบหมด.  

เมื่อได้ไพรเมอร์แล้วเราจึงทำการทดสอบกับเชื้อไวรัสเดงกีมาตรฐานด้วยเทคนิค PCR ซึ่งผล ออกมาเป็นบวก บ่งชี้ว่าเทคนิคการตรวจด้วย PCR ที่คิดค้นขึ้นสามารถตรวจจับเชื้อไวรัสเดงกีได้จริง.  


2. อันดับต่อมากลุ่มวิจัยจึงนำเทคนิค PCR ที่พัฒนาขึ้น มาทำการตรวจสอบปัสสาวะและน้ำลายของผู้ป่วยเด็กที่คาดว่าจะเป็นไข้เลือดออก เพื่อพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัยหาไวรัสเดงกีนั้น เทียบเท่ากับวิธีการตรวจมาตรฐานหรือไม่?. 

ผลการตรวจด้วยเทคนิค PCR เชื้อไวรัสเดงกีในน้ำลายได้ผลบวกร้อยละ 50 ขณะที่ผลตรวจจากปัสสาวะได้ผลบวกสูงถึงร้อยละ 80-90 ใกล้เคียงกับผลตรวจมาตรฐานจากเลือดซึ่งได้ร้อยละ 90 มาก และเพื่อพิสูจน์ยืนยันว่าการใช้ปัสสาวะตรวจหาเชื้อไวรัสเดงกีมีความถูกต้องแม่นยำจริง เราจึงทำการเก็บปัสสาวะของเด็กที่มีอาการไข้สูง แต่ผลตรวจเลือดยืนยันสุดท้ายว่าไม่เป็นไข้เลือดออกมาทำการตรวจด้วยเทคนิค PCR เช่นเดียวกัน ซึ่งผลการตรวจปัสสาวะออกมาไม่พบเชื้อไวรัสเดงกีร้อยละ 100.  ด้วยเหตุนี้กลุ่มนักวิจัยจึงเชื่อมั่นว่า การตรวจหาเชื้อไวรัสเดงกีด้วยเทคนิค PCR จากปัสสาวะมีศักยภาพในการนำมาใช้วินิจฉัยโรคใกล้เคียงกับผลที่ได้จากการเจาะเลือด.

ในผู้ป่วยเด็กโตและในผู้ใหญ่ ซึ่งเกือบทุกรายเจ็บป่วยจากการติดเชื้อซ้ำนั้น สามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้เกือบร้อยละ 100 เช่นเดียวกับการตรวจเลือดมาตรฐาน.

อย่างไรก็ดี ขณะนี้การนำปัสสาวะมาตรวจเชื้อไวรัสเดงกีด้วยเทคนิค PCR ยังต้องใช้ระยะเวลาถึง 1 วันหรือ 1 วันครึ่ง ทางกลุ่มวิจัยจึงกำลังพัฒนาจากเทคนิค PCR ให้เป็นเรียลไทม์ PCR (ช่วงระยะเวลาที่เครื่องทำการเพิ่มปริมาณส่วนของสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสก็ทำการตรวจหาส่วนของเชื้อไวรัสที่เพิ่มขึ้นนั้นไปพร้อมๆ กันด้วย) ซึ่งจะย่นระยะเวลาในการตรวจให้เหลือเพียง 2 ชั่วโมง.

ทั้งนี้หากทำได้สำเร็จเชื่อว่าเทคนิคนี้จะสามารถนำมาใช้ตรวจหาเชื้อไวรัสเดงกีจากปัสสาวะได้แน่นอน ไม่เพียงผู้ป่วยเด็กจะมีความยินดีในการให้ตรวจมากขึ้นแล้ว. ผลการตรวจเชื้อจากปัสสาวะยังนับเป็นข้อมูลเสริมที่จะช่วยให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำมากขึ้น ก่อให้เกิดการเฝ้าระวังเมื่อเด็กมีอาการผิดปกติ ผู้ปกครองจะสามารถนำพาเด็กมาพบแพทย์เร็วขึ้น. ผลที่ตามมาคือการดูแลรักษาและการป้องกันอัตราการเจ็บป่วยหนัก, ช็อก, หรือเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกของประชากรไทยก็จะดีขึ้น.

 

วันล่า กุลวิชิต พ.บ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ภาควิชาอายุรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.)

 

ป้ายคำ:
  • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
  • คุยสุขภาพ
  • นานาสาระ
  • ไข้เลือดออก
  • ผศ.นพ.วัลล่า กุลวิชิต
  • อ่าน 3,857 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

254-003
วารสารคลินิก 254
กุมภาพันธ์ 2549
นานาสาระ
ผศ.นพ.วัลล่า กุลวิชิต
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa