ศัลยแพทย์กับ Emotional Intelligence (EQ)
EQ หมายถึง emotional intelligence และได้รับการย่อเป็น EQ เพื่อให้คล้องจองกับ IQ (Intelligence Quotient) ซึ่งหมายถึง intelligence ที่เราวัดได้ คำว่า EQ นี้ได้ใช้กันเป็นที่แพร่หลายและทั่วไป อารมณ์เป็นส่วนของร่างกายในส่วนที่เรารู้จักกันทั่วๆไปว่า " heart " และเป็นองค์ประกอบของชีวิตที่สำคัญมากอย่างหนึ่งที่ศัลย์แพทย์จะต้องคอยทนุบำรุงให้ emotion ของตัวเองอยู่ในคุณภาพที่ดีอยู่ตลอดเวลาเพื่อการงานจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
ผมได้สังเกตเห็นว่าศัลยแพทย์บางท่านเมื่อกำลังผ่าตัดตอนสำคัญกลับกลัวความผิดเสียจนลานไปหมดทำอะไรไม่ถูก ไม่กล้าตัดสินใจ ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือชื่อ The Power of Resilience ที่แต่งโดย psychiatrists สองท่าน คือ Robert Brooks และ Sam Goldstein6 หนังสือเล่มนี้ได้บอกถึงวิธีที่จะทำให้จิตเกิดเป็น resilient mindset โดยใช้ " Attri-bution Theory" ที่ผมอยากจะนำมาเสนอให้ท่านพิจารณา เพื่อจะได้ใช้เป็นประโยชน์ แต่ก่อนที่ผมจะเสนอเรื่องนี้ให้ท่านพิจารณานั้น ผมอยากจะยกตัวอย่างให้ชัดๆ มาบรรยายเสียก่อนว่าถ้าเราไม่รู้จักใช้ attribution theory แล้วจะทำให้เกิดข้อเสียอะไร
เรื่องนี้เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่นอกจากค่าแรงซ่อมแซมบ้านมีราคาแพงมากแล้วยังหาคนมารับซ่อมแซมตามบ้านได้ยากอีกด้วย วันหนึ่งกุญแจประตูบ้านของชายผู้หนึ่งเกิดเสียขึ้นมาและหาคนแก้ไม่ได้ เขาจึงบอกกับภรรยาของเขาว่าเขาจะลองแก้ไขดูเอง แต่ขอออกตัวเสียก่อนด้วยว่าเขาไม่เก่งเลยเรื่องการซ่อมแซมอย่างนี้ เขาได้ไปหาซื้อกุญแจบ้านที่ดีที่สุดมาอันหนึ่งและศึกษาอ่านดูคู่มือวิธีการติดตั้งครั้งแล้วครั้งเล่าจนกระทั่งคิดว่าตัวเองสามารถจะทำได้ดี และก็ได้พยายามทำจนกระทั่งเสร็จลงอย่างเรียบร้อยสมกับที่เขาต้องการทุกอย่าง แต่ปรากฏว่ากุญแจที่เขาติดตั้งนั้นใช้ไม่ได้ สิ่งแรกที่เขาทำคือโทษตัวเองและบอกกับภรรยาเขาว่า เห็นไหมบอกแล้วไม่เชื่อว่าเขาเป็นคนที่ไม่มีความสามารถทางการช่างนี้เลยไม่ควรปล่อยให้เขาทำงานนี้ หลังจากนั้นอีกนานเขาจึงได้หาช่างกุญแจได้ และเมื่อช่างกุญแจมาตรวจดูได้พบว่าการติดตั้งกุญแจนั้นถูกต้องดีทุกอย่าง แต่การที่กุญแจไม่ทำงานนั้นเป็นเพราะว่ากุญแจนั้นมีข้อบกพร่องมาตั้งแต่แรก โดยแท้จริงแล้วชายผู้นั้นโทษตัวเองไม่ถูกต้อง และทำให้ตัวเองหมดความมั่นใจจากเรื่องที่เขาไม่ได้ก่อขึ้น
จากตัวอย่างข้างบนทำให้เราพอจะเข้าใจในทำนองเดียวกัน เราอาจจะโทษตัวเองโดยเหตุผลที่ผิดทำให้ขาดความมั่นใจโดยไม่จำเป็น และมีเหตุการณ์ที่เกิดในทำนองนี้อย่างมากมายในชีวิตจริง การที่จะแก้ไขไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้นก็คือเราต้องใช้ Attribution theory เข้าพิจารณาโดยที่เราจะต้องพิจารณาว่าอะไร คือต้นเหตุของความผิด และเราจะทำอย่างไรบ้างที่จะไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก การโทษตัวเองโดยไม่พิจารณาให้ละเอียดว่าความผิดเกิดได้อย่างไรแล้วมัวแต่โทษตัวเองอาจจะทำให้หมดความมั่นใจลงเรื่อยๆ และไม่สามารถจะประกอบกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ attribution theory เข้ามาบริหารจิตใจจะทำให้เราเป็นคนที่มี resilient mindset สามารถจะยืดหยุ่นจิตใจไม่ให้เกิด " negative script" ที่จะทำให้หมดความเชื่อมันในตัวเองและจะไม่สามารถทำหน้าที่ของศัลยแพทย์ได้อย่างเหมาะสม
ในด้านตรงกันข้าม ศัลยแพทย์บางท่านมีแต่ความถ่อมตัว และบางทีก็มากเกินไปจนกระทั่งเกิดเป็นคนที่เราเรียกว่า success phobia ซึ่งมักจะพบกับคนที่ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง และคิดถึงตลอดเวลาว่า success ที่เคยมีนั้นเป็นเพราะตัวเองโชคดี และกลัวว่าจะไม่สามารถที่จะทำให้เกิดความสำเร็จได้ซ้ำอีก เวลาคนเขามาสรรเสริญในความสามารถที่ควรจะยอมรับไว้ด้วยดี กลับกลัวว่าไม่ควรจะได้รับการสรรเสริญนั้นๆ เพราะความสำเร็จนั้นเกิดจากความโชคดี และไม่รู้ว่าจะทำให้เกิดใหม่ได้อีก กลัวว่าวันใดวันหนึ่งคนจะค้นพบว่าตัวเองไม่เก่งจริง ความรู้สึกอย่างนี้มักจะ เกิดกับคนที่มี low estimation กับงานและผลงานของตัวเอง วิธีที่จะใช้บริหาร negative script นี้ก็คือให้ใช้ Attribution theory โดยแยกแยะว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นเพราะเหตุใดที่ทำให้เราเกิดความสำเร็จ อาจจะเป็นเพราะความสามารถที่ใช้ operating microscope ได้ดี อาจจะเพราะการพิเคราะห์โรคได้ดีและสามารถพบโรคในระยะที่สามารถ ผ่าตัดได้ผลดี และสิ่งอื่นที่เป็นข้อดี แล้วเกิดผลบวกเหล่านี้ไว้ให้เป็น " Island of competence " ที่เราสามารถจะเรียกมาใช้ได้อีกเมื่อมีเหตุการณ์อย่างเดียวเกิดขึ้นในภายหน้า การกระทำอย่างนี้ไม่ใช่เป็นการโอ้อวด การโอ้อวดเป็นสิ่งที่ไม่ดี และการโอ้อวดนั้นมักจะเป็นสิ่งที่บอกให้คนอื่นที่ช่างสังเกตว่าเราเป็นคนที่ไม่มีความมั่นใจและใช้ความโอ้อวดกลบเกลื่อนความ ไม่มั่นใจในตัวเอง แต่การใช้ island of competence นี้เป็นการกระทำที่เราเท่านั้นรู้ว่าเป็นของของเราเองและจะนำมาใช้อีกเมื่อไรก็ได้
ผมแนะนำให้ศัลยแพทย์ทุกท่านบันทึกความผิดและความถูกต้องที่ท่านได้ทำไว้โดยใช้ Attribution theory และแยกแยะว่าอะไรคือสิ่งที่จะต้องแก้ไข และอะไรควรเป็น islands of competence ของเรา การผ่าตัดที่ยากและนานๆ จะได้ทำสักที ถ้าเราจดรายละเอียดไว้ และเมื่อมีคนไข้ที่เป็นอย่างเดียวกันที่ต้องรับการผ่าตัด เราควรจะอ่านบันทึกที่เราทำไว้ ท่านจะพบว่าเป็นการช่วยการผ่าตัดของท่านได้มาก และจะเพิ่มอัตราของความสำเร็จให้มากขึ้น
พลังแห่งเมตตา
เมื่อปี ค.ศ. 1950 Alice A. Bays and Elizabeth Jones Oakbery ได้เขียนถึงเรื่องที่น่าทึ่งเรื่องหนึ่งในหนังสือ The Power of Kindness (American Religious House, 1950)7 และผมขอนำมาบรรยายให้พวกเราตระหนักในพลังของเมตตาดังต่อไปนี้
มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งกำลังทำงานอยู่ในฟาร์ม แห่งหนึ่งในประเทศสกอตแลนด์ ได้ยินเสียงร้องขอให้ช่วยจากทะเลสาปที่อยู่ไม่ไกลจากที่เขาอยู่ เขารีบวิ่งไปที่ริมทะเลสาปแห่งนั้นและพบว่ามีชายหนุ่มผู้หนึ่งกำลังจะจมน้ำอยู่ เขาจึงกระโดดลงไปในน้ำและช่วยชีวิตชายคนนั้นไว้ อีกประมาณสองปีต่อมาเขาได้รับโทรศัพท์จากชายหนุ่มผู้นั้นว่า บิดาของชายหนุ่มนั้นเป็นขุนนางอังกฤษที่มีตำแหน่งสูงในรัฐบาลและอยากจะตอบแทนให้เด็กหนุ่มที่ได้ช่วยชีวิตลูกชายของเขาไว้โดยจะให้ทุนการศึกษาให้เรียนต่อในมหาวิทยาลัย เด็กหนุ่มชาวนานั้นจึงเลือกเรียนแพทย์ และได้เรียนแพทย์ที่โรงพยาบาล Saint Mary Hospital ที่เมืองลอนดอน และต่อมาได้เรียนจนจบและได้ปริญญาแพทย์เกียรตินิยม เขาขอเรียนต่อทาง biology และในที่สุดด้วยอาชีพนี้เขาได้ค้นพบ penicillin ชื่อของท่านผู้นี้คือ Alexander Fleming และได้รับรางวัล Nobel prize และมียศเป็น Sir Alexander Fleming และคนที่เขาได้ช่วยชีวิตไว้มีชื่อว่า Winston Churchill ซึ่งต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรีประเทศอังกฤษและได้เป็น Sir Winston Churchill
ต่อมาเมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง Winston Churchill ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษ และเป็นผู้นำที่สำคัญของฝ่ายสัมพันธมิตร ต่อสู้กับฝ่ายอักษะคือประเทศเยอรมันนี และอิตาลี เมื่อเขาได้เดินทางไปทางเหนือ ของทวีปอาฟริกาได้เป็นโรคปอดอักเสบอย่างรุนแรง มีไข้สูงและมีอาการที่ทรุดลงอย่างรวดเร็ว เป็นที่น่าหนักใจต่อฝ่ายสัมพันธมิตร และก็อีกครั้งหนึ่งที่ Alexander Flemings ได้ช่วยชีวิต Winston Churchill ไว้โดยเขาได้บินเอา penicillin ที่เขาค้นพบไปรักษา Churchill จนหายสนิท
ผมได้ติดตามอยากทราบรายละเอียดต่อไป และได้เข้าไปค้นหาที่ Official web site ของ Winston Churchill ก็ได้ทราบว่ามีผู้สนใจอยากจะทราบว่าเรื่องต่อไปด้วยเหมือนกันว่าเป็นความจริงหรือไม่ และได้เขียนไปถามที่ web site นี้หลายสิบรายผู้ที่ดูแลประวัติของ Sir Winston Churchill ได้ตอบว่าไม่มีรายละเอียดของเรื่องนี้บันทึกไว้และเขาไม่สามารถจะปฏิเสธหรือยืนยันให้ได้ แต่อย่างไรก็ตามมันเป็นเรี่องที่น่าทึ่งและได้แสดงถึงว่าความเมตตานั้นกลับไปกลับมาอย่างทวีคูณเสมอ และไม่มีวันสูญหายทั้งผู้ให้และผู้รับ
ศัลยแพทย์ที่ผมเห็นว่าควรจะเป็นตัวอย่างของผู้ที่มีเมตตาธรรมสูงมากที่ผมได้มีโอกาศเห็นคงจะไม่มีใครเกิน ศาสตราจารย์นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ ผมได้เคยใกล้ชิดกับท่านในฐานะลูกศิษย์ ในฐานะที่เคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านเมื่อท่านเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะที่ท่านเคยส่งคนไข้มาให้ผมรักษา และในฐานะที่ได้เคยร่วมทำงานกับท่านเมื่อท่านเป็นคณบดีคณะสังคมศึกษา และผมเป็นรองอธิการบดีอยู่ขณะนั้นความเมตตาที่ท่านมีนั้นให้ทุกคนหมดไม่ว่าจะเป็นคนจน คนมั่งมี คนธรรมดาหรือคนมีตำแหน่งสูง ที่ประทับใจเป็นพิเศษก็คือการช่วยเหลือของท่านบาง ทีกระทำอยู่เบื้องหลังเงียบโดยไม่มีใครรู้ และบางทีเจ้าตัวที่ได้รับการช่วยเหลือเองก็ไม่ทราบ เพราะท่านไม่พูด ไม่เคยทวงบุญคุณ และเจ้าตัวที่ท่านได้ช่วยเหลือบางทีไม่ทราบด้วยซ้ำว่าท่านทำอะไรให้ เพียงคนใกล้ชิดและทำงานกับท่านเท่านั้นที่จะทราบ ผมมีความรู้สึกทึ่งต่อณลักษณะพิเศษของท่านและได้พยายามนำมาฝึกหัดให้มีเมตตาธรรมตามอย่างท่าน โดยเฉพาะในเรื่องการให้เมตตาต่อคนไข้ นอกจากนี้ เมื่อท่านเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัย ท่านได้ช่วยผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านทุกคนที่ท่านจะช่วยได้ ให้การส่งเสริมและสนับสนุนทุกอย่างต่อผู้น้อย และยังว่ากล่าวคนที่ทำงานแบบราชการที่ทำให้ทุกอย่างล่าช้าจนงานที่ควรจะสำเร็จเสร็จสิ้นไปแล้วก็กลับต้องรอหรือกลายเป็นไม่สำเร็จ ท่านเป็นบุคคลพิเศษที่ได้ให้ความเมตตาต่อทุกคนเท่ากันหมดจริงๆ และความเมตตาที่ให้นั้นดูเหมือนเกิดขึ้นอย่างธรรมดาของท่านเองโดยไม่หวังผลตอบแทนอะไรเลย นับว่าท่านเป็นศัลยแพทย์ที่มีเมตตาธรรมที่สูงจริงๆ
เมตตาธรรมเป็นสิ่งที่แปลกตรงที่ว่ายิ่งให้แทนที่จะหมดกลับตรงกันข้ามยิ่งมีมากขึ้นอีก เมตตาธรรมทำให้เกิดความสุขใจของผู้ให้โดยไม่รู้ตัวและจะสะท้อนออกมาในสีหน้าท่าทางของผู้นั้น ใครเห็นก็เกิดความเลื่อมใสและอยากเข้าใกล้ อยากจะมารู้จักนับว่าเป็นรัศมีที่เกิดขึ้นรอบตัว เป็นเกราะป้องกันตัวต่ออันตรายที่อาจจะมีต่อตัวเราได้ตลอดเวลา ในการที่เราเป็นแพทย์เราจะขาดคุณธรรมนี้ไม่ได้และควรจะฝึกให้เกิดขึ้นเป็นนิสัยอย่างหนึ่งที่เราปฏิบัติด้วยความเคยชิน ออกมาเองโดยไม่ต้องบังคับ
ศัลยแพทย์กับ Spiritual Intelligence (SQ)
Spiritural intelligence เป็นส่วนสุดท้ายที่จะพูดถึง ความจริง SQ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของชีวิต Richard Wolman ได้เขียนไว้ในหนังสือ " Thinking with your soul " เมื่อ ค.ศ. 2001 ว่า " By spiritual I mean the ancient and abiding human quest for connectedness with something larger, with the worlds of history and nature, with the indivisible winds of the spirit, with the mystery of being alive. " 8 สำหรับผมเองพบว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะอธิบายว่าอะไรคือสปิริต ความจริงในหมู่พุทธศาสนิกชนด้วยกันแล้วทุกคนทราบ ดีว่าสปิริตหรือ soul นั้นได้แก่คุณธรรมทั้งหลายที่ทุกคนทราบและมีอยู่แล้ว คงต้องการการทำนุบำรุงให้กล้าแข็งมากขึ้นเท่านั้น ผมคงไม่มีความสามารถที่จะเทศน์หรือบรรยายในสิ่งเหล่านี้ แต่จะขอจำกัดการบรรยายลงไปในสิ่งที่ผมถือว่าเป็น spiritual intelligence ที่สำคัญที่ศัลยแพทย์ทุกคนควรมีและรู้จักวิธีที่จะทำให้มีเพิ่มขึ้น สิ่งนี้ก็คือ กำลังใจในการทำงานของศัลยแพทย์ ทำอย่างไรเราจึงจะไม่เบื่อในการงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบของเราและกลับทำให้เกิดมี enjoyment กับงานของเรา
เมื่อไม่นานมานี้ผมได้อ่านวารสารรายเดือนชื่อ Golf digest และเขาได้กล่าวถึงภาวะอย่างหนึ่งของนักกอล์ฟที่กำลังเล่นดีมากๆ อย่างเช่น Tiger woods ที่ได้รับรางวัล major tournament หลายครั้ง เป็นที่ทราบกันอยู่ดีว่าการแข่งใน major tournament นั้นเต็มไปด้วยความกดดันในทุกๆ ด้าน นักกอล์ฟเหล่านี้ได้บรรยายถึงภาวะที่เขากำลังอยู่ในขณะนั้นว่า เขาไม่ได้ยินเสียงคนโห่ร้องอย่างดังสนั่นรอบข้าง เขารับรู้ แต่อย่างเดียวคือสิ่งที่เขากำลังทำอยู่และจะทำด้วยความสามารถที่เขาได้ฝึกมาเป็นเวลานาน และเป็น อย่างดีเท่านั้น ความคิดที่ว่าจะพลาดไม่มีอยู่ในหัวเขาเลยแม้แต่เพียงนิดเดียว และการกระทำนั้นจะเกิดขึ้นในลักษณะที่ถูกต้องอย่างพร้อมมูล วารสารกอล์ฟ นั้น ได้อ้างถึงหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Flow-the Psychology of Optimal Experience9 ซึ่งแต่งโดยศาสตราจารย์ทางจิตวิทยาและ human resource ของ University of Chicago ผมจึงได้ไปซื้อมาอ่านและ พบว่าเป็นหนังสือที่น่าสนใจมาก หนังสือเล่มนี้ได้ตีพิมพ์มาประมาณสิบกว่าปีมาแล้ว Prof. Mihaly Csikszentmihalyi ได้เขียนถึงการสัมภาษณ์คนในหลายอาชีพรวมทั้งในวงการกีฬาต่างๆ เป็นจำนวนมากหลายพันคนที่ได้เกิดมีภาวะที่เขาเรียกว่า " Flow " โดยให้แต่ละคนบรรยายประสพการณ์ของเขาขณะที่เขาอยู่ในภาวะดังกล่าว และนำประสพการณ์ของแต่ละคนมาประมวลเปรียบเทียบกัน เขาพบว่าแต่ละคนได้บรรยายความรู้สึกที่คล้ายคลึงกัน โดยแต่ละคนก็จะ พูดถึง awareness ชนิดหนึ่งที่บางคนจะรู้สึกว่าเวลา หยุดนิ่ง เวลาหลายชั่วโมงจะรู้สึกเหมือนประเดี๋ยวเดียว หรือในทางตรงกันข้ามนักแสดงบางคนเช่นนักสเก็ต น้ำแข็งที่ทำการกระโดดและหมุนตัวสองสามรอบ หรือนักบัลเลต์ที่หมุนตัวรอบตัวเองหลายรอบ ซึ่งการแสดงอย่างนี้เป็นของที่ยากและต้องการการฝึกมาเป็นอย่างดี และจะต้องใช้ concentration ที่สูงสุดจึงจะทำได้ นักแสดงเหล่านี้ จะรู้สึกตรงกันข้ามคือเวลาจะขยายออก เพียงระยะเวลาไม่กี่วินาทีจะรู้สึกว่านานมาก ทุกคนจะไม่กลัวกับความผิดหรือผลของการกระทำแต่จะใจจดจ่อต่อการกระทำในขณะนั้นแต่อย่างเดียว และไม่มี awareness ต่อสิ่งรอบข้าง นักไต่หน้าผาก็จะนึกถึงการเคลื่อนไหวของลำตัวแขนขาเป็นไปตามที่ได้ฝึกมา เป็นอย่างดีเป็นเวลานาน ไม่กลัวว่าจะตกลงมา และไม่มีเวลาจะนึกถึงความกลัวใดๆ ทั้งสิ้น ศัลยแพทย์ก็เป็นคนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการสัมภาษณ์ด้วยเหมือนกันและได้ให้ข้อมูลว่าในระหว่างการผ่าตัดที่ critical และละเอียดอ่อนนั้นทุกคนได้มีประสบการณ์อย่างเดียวกัน ผมเองเมื่อมานึกย้อนหลังได้รู้ตัวว่าได้อยู่ในภาวะอย่างนั้นไม่รู้กี่ครั้งกี่หน ในขณะที่ใจจดจ่อกับการผ่าตัดที่ยากและสำคัญ โดยเฉพาะเวลาใช้กล้อง operating microscope ถ้าเราอยู่ในภาวะ flow นี้มือจะนิ่งไม่สั่น หมดความกลัวว่าจะทำอะไรผิดพลาด และรู้สึกทั้งหมดขึ้น กับการผ่าตัดอย่างเดียว การเคลื่อนไหวกับความคิด เป็นไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหมด ต้องการจะทำอะไรก็ทำได้เสมอ เหมือนกับใช้ " บินด้วย autopilot" พอเสร็จเงยหน้าออกมาจากกล้องก็พบว่าเวลาล่วงไปหลายชั่วโมง โดยไม่รู้สึกเหนื่อยหรือหิวอาหารทั้งที่ได้ผ่านเวลาอาหารมาหลายชั่วโมงแล้วก็ตาม
การสรุปของ Prof. Csikszentmihalyi ก็คือคนที่จะมี flow ได้นั้นจะต้องมีบุคลิกที่เขาเรียกว่า " complex personality"และงานที่ทำจะต้องเป็น autotelex ซึ่งหมายความว่าเป็นงานที่มีจุดมุ่งหมาย เด่นชัดด้วยตัวของมันเอง การที่จะมี complex personality ได้นั้นจะต้องมี 5 Cs กล่าวคือจะต้องมี Clarity ของสิ่งที่จะทำ โดยไม่ขัดกับความรู้สึกของตังเอง และจะต้องสามารถวัดผลความสำเร็จได้ทันที และไม่คลุมเครือ, ต้องมีความสามารถที่จะ Center ให้งานนั้นเป็นจุดศูนย์กลางในตัวเราโดยไม่ต้องคิดถึงอย่างอืนในขณะที่กำลังทำงานนั้น, งานนั้นจะต้องเป็นงานที่เป็น Choice ของตัวเอง ไม่ใช่ถูกบังคับให้ทำโดยที่ตัวเองไม่ชอบ, ต้องมี Commitment กับงานนั้นอย่างแท้จริง และท้ายที่สุดงานนั้นจะต้องเป็น Challenge คือต้องมีความท้าทายที่ตัวเองต้องการเอาชนะ
Prof. Csikszentmihalyi ได้อธิบายคำสองคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน ได้แก่คำว่า pleasure และ enjoyment มนุษย์เรานั้นมี pleasure ที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องเรียน เช่นเวลาหิว เมื่อได้กินอาหารก็จะเกิดมี pleasure โดยไม่ต้องมีการเรียน การฝึกมาก่อน แต่ข้อเสียก็คือถ้ามี pleasure มากไปจะเป็นอันตราย เช่นกินอาหารมากจนอ้วนเกินไปเป็นต้น ส่วน enjoyment นั้นเป็นคนละอย่างกันกับ pleasure ตรงที่ว่า enjoyment นั้นจะต้องมีความท้าทายที่เราจะต้องเอาชนะมันให้ได้โดยการเรียน การฝึก การทดลองหาประสพการณ์ ความเพียร และอื่นๆ และเมื่อเราชนะมันก็จะเกิดเป็นenjoyment ขึ้นมา ถ้าเราหาความท้าทายให้สูงขึ้นไปอีกและเราจะเอาชนะมันได้ ก็จะเพิ่ม enjoyment มากขึ้นอีก และถ้าทำติดต่อกันอาจจะเกิดเป็นภาวะ " Flow" ขึ้นได้
การหาความท้าทายก็มีความสำคัญ ถ้าหากเราหาความท้าทายที่สูงเกินไปจะทำให้เราท้อใจเสียแต่แรกและถ้าจำเป็นต้องทำงานทั้งๆที่ท้อใจอย่างนั้นจะทำให้เราหมดกำลังใจ ในทางตรงกันข้ามถ้าความท้าทายนั้นต่ำเกินไปก็จะทำให้เราเบื่อและหมดสนุกวิธีที่ผมใช้อยู่เสมอเมื่อรู้สึกว่าเมื่อการทำผ่าตัดจะต้องละเอียดอ่อน จะต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง ผมจะทอนการผ่าตัดให้เป็นขั้นตอนโดยพยายามให้แต่ละขั้นตอนสูงกว่าความสามารถเล็กน้อยและเมื่อเราทำเสร็จขั้นตอนแรกโดยเรียบร้อยดีก็จะเริ่มเกิด enjoyment ขึ้น ต่อมาเรากำหนดขั้นต่อไปให้มีความท้าทายสูงขึ้นอีกแต่ไม่มากจนเกินไป พอเราเอาชนะมันได้อีกก็จะเพิ่ม enjoyment ขึ้นอีกจนกระทั่งเกิดเป็นความสุขที่ได้ทำงานเป็นผลดี อันอาจจะทำให้เกิด flow ขึ้นและเราจะเริ่ม "บินด้วย autopilot" และเมื่องานสำเร็จลงแล้วบางทีไม่ทราบว่าเวลาได้ผ่านไปหลายชั่วโมงแล้ว
ความลับของชีวิตคืออะไร ทำไมเราจะมีกำลังใจที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้โดยมี enjoyment ต่อการมีชีวิตอยู่ต่อไป ความลับนี้คงจะต้องช่วยกันหาต่อไปว่าเป็นอะไรแน่ในที่สุด แต่ในขณะนี้อาจจะเป็นได้ว่าความลับนี้คือความท้าทายนี่เอง ความท้าทายที่เราจะต้องเพาะให้งอกงามไม่มีวันหยุด และเราชนะมันแล้ว ก็จะต้องแสวงหาความท้าทายต่อไปอีก และในอาชีพของเรานั้น การชนะได้หมายถึงการได้ช่วยชีวิตมนุษย์ หรือทำให้ชีวิตมนุษย์มีคุณภาพดีขึ้น นอกจากจะเกิดมี enjoyment จากการชนะความท้าทายแล้ว ความสุขใจก็จะยิ่งเพิ่มมีความหมายเพิ่มขึ้นอย่างมากมายหาอะไรมาเปรียบได้ยาก
โดยสรุป ในการที่ศัลยแพทย์จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องเป็นคนที่ effective และทำงานด้วย whole person พร้อมมูล กล่าวคือจะต้องมี body, mind, heart และ soul หรือ spirit ที่ร่วมทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และจะต้องหาปัญญาเพิ่มเติมอยู่เสมอในทุกด้านได้แก่ PQ, IQ, EQ และ SQ
The Eighth Habit
เมื่อปีที่แล้วผมได้เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกาอีกครั้งหนึ่งและได้พบว่า Stephen Covey เขียนหนังสือออกมาอีกเล่มหนึ่งชื่อ The Eighth Habit10 และหนังสือเล่มนี้ได้สอนถึงวิธีที่จะ Find your own voice and inspire others to find theirs ผมคิดว่า ผมได้พบเสียงของผมเองแล้วและวันนี้ผมหวังว่าผมคงได้มีส่วนบันดาลใจให้ทุกท่านในที่นี้ โดยเฉพาะเพื่อนศัลยแพทย์ ให้พยายาม find your own voice เพื่อที่จะได้รู้จักการดำรงชีวิตที่มีความหมาย และมี enjoyment (Learn to live), เพื่อที่จะได้เรียนรู้ต่อไปอย่างไม่มีวันหยุด (Live to learn), เพื่อที่จะแพร่เมตตาให้กับมนุษยชาติ (Learn to love), และเพื่อที่จะทำให้โลกนี้ดีขึ้นเพื่อคนใน generation ต่อไป ซึ่งเป็นขบวนการที่ท่านจะเริ่มได้ตั้งแต่บัดนี้จนตลอดชีวิต ของท่าน (Leave this world a better place for the next generation)-ขอบคุณครับ
¾ PQ (Physical Intelligence) : Learn to live
¾ IQ (Intelligence) : Live to learn
¾ EQ (Emotional Intelligence) : Learn to love
¾ SQ (Spiritual Intelligence) : Leave this world a better place for the next generation
References
1. Covey RC. The 7 Habits of Highly Effective People, Free Press, Simon and Schuster Inc, 1990.
2. Frankl VE, Man’s Search for Meaning. An Introduction to Logotherapy. New York, Boston:Beacon Press, 1963
3. ตันสกุล พ. โครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบทของมหาวิทยาลัยมหิดลและกระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ร.ส.พ., พ.ศ. ๒๕๒๕.
4. พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน ย่อความจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ๔๕ เล่ม, มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๖ พ.ศ. ๒๕๓๙
5. Lanzino G, Laws ER. Key personalities in the development and popularization of the transphenoidal approach to pituitary tumours : an historical overview. Neurosurg Clin N Am. 2003; 14:1-10.
6. Brooks R, Goldstein S, The Power of Resilience, New York : McGraw-Hill, 2003.
7. Bays AA, Oakbery EJ. Worship Programs for Juniors in a chapter entitled "The Power of Kindness" . American Religious House, 1950.
8. Wolman R. “Thinking with your soul'. New York : Harmony Books, 2001:26.
9. Csikszentmihalyi M. Flow: The Phsychology of Optimal Experience, Harper Perennial. HarperCollins Puhlishers, 1991.
10. Covey RC. The 8th Habit, Free Press. Simon and Schuster Inc, 2004.
สิระ บุณยะรัตนเวช พ.บ., ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ภาควิชาศัลยแพทย์,คณะแพทย์ศาสตรโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- อ่าน 3,564 ครั้ง
พิมพ์หน้านี้