Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » 25 ปี FETP ประเทศไทย
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

25 ปี FETP ประเทศไทย

โพสโดย somsak เมื่อ 1 มกราคม 2549 00:00

FETP คืออะไร?
Field Epidemiology Training Program (FETP) คือโครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงระบาดวิทยา) ดำเนินการโดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โครงการฯ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2523 จากความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข องค์การอนามัยโลก และศูนย์ควบคุมโรคแห่งชาติ (CDC) สหรัฐอเมริกา. โครงการฯได้รับอนุมัติจากแพทยสภาให้เป็นสาขาเฉพาะทางตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา.     


ที่มาของแนวคิด FETP
CDC สหรัฐอเมริกา ได้จัดตั้งหน่วยฝึกอบรมนักระบาดวิทยาขึ้นภายในหน่วยงานของ CDC เองมานานกว่า 50 ปีแล้ว โดยปรัชญาของการฝึกอบรมคือ การเรียนรู้งานระบาดวิทยาโดยผ่านการฝึกปฏิบัติในภาคสนาม ภายใต้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดของผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาของโรคในสาขาต่างๆ. การฝึกอบรมดังกล่าวในสหรัฐอเมริกามีชื่อโครงการว่า  Epidemic Intelligence Service (EIS) Program.

ประเทศไทยได้ประยุกต์แนวคิดดังกล่าวถือเป็นประเทศแรกนอกประเทศสหรัฐอเมริกานำมาจัดตั้งโครงการฯ ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ มากกว่า 30 ประเทศที่มีโครงการ FETP.

 

ยุคเริ่มต้น
นายแพทย์สุชาติ เจตนเสน ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยาท่านแรกร่วมกับนายแพทย์ประยูร กุนาศล นักวิชาการแพทย์ในกองระบาดวิทยาสมัยนั้น และนายแพทย์วิชิต มธุรสภาษณ์ นักวิชาการแพทย์ในกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคติดต่อ ร่วมกันรับผิดชอบในการประสานงานให้เกิดโครงการฯ ขึ้นมา.ใน 3 ปีแรก Dr. David Brandling-Bennett (พ.ศ. 2523-2526) และ Dr. Bruce Weniger (พ.ศ. 2526-2528) จากนั้นประเทศไทยก็เข้าสู่ยุคพึ่งพาตนเองโดยดำเนินโครงการฯ ด้วยคนไทยทั้งหมด ทั้งด้านการบริหารจัดการโครงการฯ และด้านวิชาการ.


ยุคพึ่งพาตนเอง
ความพยายามพึ่งตนเองค่อยๆคลี่คลายโดยลำดับดังนี้
1. การส่งแพทย์ให้ไปฝึกอบรมต่างประเทศ
แพทย์ที่สำเร็จจากโครงการฯ ในรุ่นที่ 1 คือ นายแพทย์ครรชิต ลิมปกาญจนารัตน์ ได้รับคัดเลือกไปศูนย์ควบคุมโรคแห่งชาติ แอตแลนต้า ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อเข้าฝึกอบรมในโครงการ Epidemic   Intelligence Service (EIS) Program เป็นเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2525-2526). เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วนายแพทย์ครรชิต ได้กลับมารับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการฯโดยมีระยะเวลาที่ทำงานคู่ขนานกับที่ปรึกษาชาวอเมริกัน คือ Dr. Bruce Weniger อยู่อีกประมาณเกือบ 1 ปี เป็นการส่งมอบงานที่ผ่านไปอย่างราบรื่นจนเป็นรูปแบบที่อีกหลายประเทศได้ดำเนินการตาม.  ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยาในขณะนั้นคือ นายแพทย์ประยูร กุนาศล ร่วมรับผิดชอบการฝึกอบรมกับที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิด ทั้งด้านการวางแผนและการบริหารจัดการ.

2. การผลักดันโครงการฯ ให้มีสถานะเป็นหน่วยงานราชการ
ขั้นตอนนี้ต้องใช้ความอุตสาหะเป็นอย่างสูงของผู้บริหารจนกระทั่งโครงการฯได้รับสถานะให้เป็นส่วนหนึ่งในฝ่ายพัฒนานักระบาดวิทยาที่มีหน้าที่ในการฝึกอบรมนักระบาดวิทยาในทุกระดับตั้งแต่ แพทย์ (FETP) นักวิชาการสาธารณสุข นักระบาดวิทยาประจำจังหวัด. ประโยชน์ที่เกิดขึ้นคือ โครงการฯ สามารถตั้งตำแหน่งข้าราชการประจำ และมีงบประมาณของทางราชการมาสนับสนุนการดำเนินงานเสริมกับงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกที่ได้รับอยู่เดิม อนึ่งงบประมาณสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกได้ลดลงเป็นลำดับตามแผนแต่เสริมด้วยงบประมาณของรัฐบาลไทยที่เพิ่มขึ้น ทำให้สามารถกล่าวได้ว่าความพยายามส่วนนี้ช่วยให้โครงการพึ่งพาตนเองได้ดีขึ้น.

3. การผลักดันให้ผู้ที่จบจากโครงการฝึกอบรมแพทย์ในสาขาระบาดวิทยาเป็นสาขาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
แพทยสภาได้อนุมัติให้แพทย์ที่สำเร็จการการฝึกอบรมจากโครงการฯ ที่มีปริญญาโทด้านสาธารณสุขศาสตร์ ให้มีสิทธิในการสมัครสอบวุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงระบาดวิทยา) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา.

4. การเปลี่ยนสถานะจาก "พึ่งพา" เป็น "ความร่วมมือ" กับสถาบันต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
ความร่วมมือปรากฏในด้านการเฝ้าระวังโรค การสอบสวนโรค การศึกษาวิจัย และการฝึกอบรมด้านระบาดวิทยาแก่บุคลากรในระดับต่างๆ นอกจากนี้ยังได้ประสานงานกับศูนย์ควบคุมโรคแห่งชาติในการส่งอาจารย์จากคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ ของสหรัฐอเมริกามาร่วมเป็นที่ปรึกษาแก่แพทย์ประจำบ้าน.


FETP กับการฝึกอบรมแพทย์นานาชาติ
FETP ได้ก้าวหน้าไปสู่การฝึกอบรมแพทย์นานาชาติในปี พ.ศ. 2541 โดยการนำของนายแพทย์สมศักดิ์ วัฒนศรี ศิษย์เก่า FETP คนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการกองระบาดวิทยาในปี พ.ศ. 2539. จุดเน้นอยู่ที่สมรรถนะทางระบาดวิทยา เพื่อรับมือกับโรคติดเชื้ออุบัติใหม่.

การประชุมร่างแผนปฏิบัติการสำหรับเครือข่ายเฝ้าระวังโรคของอาเซียนที่ต่อมาส่งมอบให้กองระบาดวิทยาประเทศไทยรับหน้าที่เป็นศูนย์ฝึกอบรมแพทย์ FETP นานาชาติโดยการรับรองของ WHO และ ASEAN นับจากปี พ.ศ. 2541 จนปัจจุบันมีแพทย์ FETP นานาชาติ 15 คนจาก 6 ประเทศ คือ จีน พม่า มาเลเซีย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม. ผลผลิตของการฝึกอบรมแพทย์จากประเทศใกล้เคียงได้รับการยอมรับในเวทีระดับนานาชาติจนกระทั่งได้รับหนังสือชมเชยจากผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาของ CDC   ประเทศสหรัฐอเมริการว่ามีมาตรฐานเป็นผลให้ได้รับการสนับสนุนด้านผู้เชี่ยวชาญ ทุนวิจัย การศึกษาดูงาน การเขียนผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ฯลฯ อย่างต่อเนื่อง. นอกจากนั้นแล้วแพทย์ที่จบไปยังเป็นกำลังสำคัญในการผลิตนักระบาดวิทยาให้กับประเทศของตนโดยเฉพาะประเทศมาเลเซียมีการก่อตั้งการฝึก อบรมแพทย์ FETP เกิดขึ้นโดยมีแพทย์ชาวมาเลเซียที่เป็นผลผลิตของการฝึกอบรมแพทย์ FETP นานาชาติจากประเทศไทยทำการควบคุมและเป็นผู้ฝึกอบรมแพทย์ในประเทศมาเลเซียเอง.

องค์ประกอบที่สำคัญสู่ความสำเร็จคือเจตนาที่ดีงาม ความเพียรของสมาชิกครอบครัวแพทย์ FETP ในประเทศไทยตลอดจนการสนับสนุนจากอาจารย์ผู้ใหญ่และกัลยาณมิตรทั้งในและนอกประเทศ.


ส่งท้าย
ประเทศไทยได้ดำเนินการฝึกอบรมแพทย์ทางระบาดวิทยามาครบ 25 ปี ในปี พ.ศ. 2548 การฝึกอบรมได้สร้างนักระบาดวิทยาที่สามารถมีบทบาทเคียงบ่าเคียงไหล่กับบุคลากรทางสาธารณสุขแขนงต่างๆ ในการป้องกันควบคุมโรคของประเทศตั้งแต่การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา การสอบสวนโรคและการวิจัยในโรคต่างๆ ได้แก่ โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรคเอดส์ โรคไม่ติดต่อ อุบัติเหตุและการบาดเจ็บ โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ ตลอดจนการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนควบคุมการระบาดของโรคซาร์ส ไข้หวัดนก. การจัดตั้งระบบเฝ้าระวังโรคและการสอบสวนโรคโดยหน่วยเคลื่อนที่เร็วในเหตุการณ์วิปโยคจากคลื่นสึนามิ ได้ทำให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขผลักดันนโยบายการเพิ่มกำลังการผลิต นักระบาดวิทยาจาก 7 คนต่อปีในขณะนี้ขึ้นมาเป็น 20 คนต่อปี ในอีก 10 ปีข้างหน้าเป็นอย่างน้อย.
 

ครรชิต ลิมปกาญจนารัตน์ พ.บ., M.P.H.,โครงการโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข

 

ป้ายคำ:
  • อื่น ๆ
  • ระบาดวิทยา...อาวุธทางปัญญาเพื่อสุขภาพไทย
  • นพ.ครรชิต ลิมปกาญจนารัตน์
  • อ่าน 4,800 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

253-003
วารสารคลินิก 253
มกราคม 2549
ระบาดวิทยา...อาวุธทางปัญญาเพื่อสุขภาพไทย
นพ.ครรชิต ลิมปกาญจนารัตน์
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)< และสถาบัน ChangeFusion< พัฒนาระบบโดย Opendream< สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa <