Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ตาบอด! รักษาให้หายได้หรือไม่
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ตาบอด! รักษาให้หายได้หรือไม่

โพสโดย somsak เมื่อ 1 มกราคม 2549 00:00

ตาบอดสามารถรักษาให้หายกลับมามองเห็นได้หรือไม่
ผู้ป่วยที่มาด้วยปัญหาตาบอด หรือสายตาเลือนราง ต้องพิจารณาจากสาเหตุที่ทำให้ตาพิการ. สาเหตุที่ส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาได้ เช่น ตาเล็กหรือฝ่อตั้งแต่กำเนิดตาบอดจากอุบัติเหตุอย่างร้ายแรง. ส่วนปัญหาตาบอดหรือสายตาเลือนรางที่พบบ่อยและอาจรักษาให้หายได้ เช่น โรคต้อกระจก โรคจอประสาทตาลอก หรือระดับสายตาผิดปกติ เป็นต้น.

                                   

ตามกฎหมายแบ่งประเภทตาบอดเป็นอย่างไร
ตามกฎหมายไทย แบ่งระดับตาบอดและสายตาเลือนรางเป็น 5 ระดับ โดยถือว่าเริ่มมีสายตาเลือนรางตั้งแต่เมื่อวัดระดับสายตาได้เพียง 6/18 คือเมื่อตรวจการมองเห็น (โดยใช้แว่นตาแล้ว) ยังเห็นตัวเลขในแผ่นตรวจตา (Snellen chart) (ภาพที่ 1) เพียง 3 แถวจาก 7 แถว ไปจนถึงมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง ถือว่าเป็นภาวะตาบอดขั้น 3 (ดังตารางที่ 1).
 


มีแนวทางการประเมินเพื่อให้คำแนะนำผู้ป่วยว่าจะมีโอกาสรักษาให้กลับมามองเห็นได้หรือไม่อย่างไร

โดยทั่วไป ถ้าตาข้างที่บอดนั้นไม่สามารถมองเห็นได้แม้แต่แสงสว่างแล้ว มักไม่สามารถรักษาให้กลับมามองเห็นได้ แต่ต้องเป็นการตรวจที่ถูกวิธี กล่าวคือใช้บริเวณฝ่ามือปิดที่ตาอีกข้างและใช้ไฟฉาย  ซึ่งต้องมีความสว่างเต็มที่ และไม่มีวงมืดตรงกลาง ส่องไปที่ตาข้างที่จะทดสอบ บอกผู้ป่วยก่อนว่าอย่างไรคือมีไฟและอย่างไรคือไม่มีไฟ แล้วทดสอบหลายๆ ครั้ง ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถบอกได้เลยว่า มีไฟส่องหรือไม่ มักไม่สามารถรักษาให้กลับมามองเห็นได้อีก แต่ถ้ายังสามารถมองเห็นแสงไฟได้ดี  ควรแนะนำพบจักษุแพทย์เพื่อประเมินซ้ำว่ายังสามารถให้การรักษาให้กลับมามองเห็นอีกได้หรือไม่.


สาเหตุของตาบอดที่พบได้บ่อยๆ คืออะไร
สาเหตุของตาบอดหรือสายตาเลือนรางที่พบบ่อยได้แก่ ความผิดปกติแต่กำเนิดของดวงตา เช่น ตาเล็กหรือตาดำขุ่นขาวแต่กำเนิด, อุบัติเหตุต่อดวงตา เช่น ถูกกระจกรถบาด หรือถูกวัตถุมีคมแทงบริเวณลูกตา. โรคต้อกระจก (ภาพที่ 2)                                

ซึ่งอาจเป็นแต่กำเนิด หรือจากความเสื่อมตามอายุซึ่งมนุษย์ ต้องเป็นต้อกระจกทุกคน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถให้การรักษาโรคต้อกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ. ระดับสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง สามารถรักษาได้ด้วยการใช้แว่นตา คอนแทคเลนส์ หรือเลสิกรักษาสายตา. โรคต้อหินหรือโรคจอประสาทตาลอก โรคทางร่างกายที่มีผลต่อตา เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา เชื้อ cytomegalo virus ขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น.


ตาบอดหรือตาเลือนราง สามารถใส่แว่นตาให้มองเห็นดีขึ้นได้หรือไม่

ภาวะสายตาเลือนรางที่สามารถใช้แว่นตาทำให้มองเห็นดีขึ้น เฉพาะกรณีที่เกิดจากสายตาสั้น สายตายาวหรือสายตาเอียงเท่านั้น. ส่วนจาก สาเหตุอื่นแว่นตามักไม่สามารถทำให้มองเห็นดีขึ้น ยกเว้นในบางกรณีอาจใช้แว่นที่มีกำลังขยายช่วยเป็นอุปกรณ์ในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาสายตาเลือนราง.



คนตาบอด สามารถผ่าตัดเปลี่ยนดวงตาได้หรือไม่
เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนหรือปลูกถ่ายดวงตาใหม่ได้ รวมทั้ง ส่วนจอประสาทตาไม่สามารถเปลี่ยนใหม่ได้. ส่วนของดวงตาที่สามารถเปลี่ยนได้ในปัจจุบันคือกระจกตาดำ ซึ่งต้องรอกระจกตาบริจาคแล้วนำมาผ่าตัดเปลี่ยนเฉพาะบริเวณกระจกตา และเลนส์ตาซึ่งถ้าขุ่นจะเรียกว่าต้อกระจก สามารถผ่าตัดออก แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียม (ภาพที่ 3) ให้กลับมามองเห็นได้.


 

 

จะมีวิธีป้องกันตาบอดอย่างไร
ข้อแนะนำการป้องกันตาบอดสำหรับคนทั่วไป คือ การระวังภยันตรายต่อดวงตา เช่นใส่อุปกรณ์หน้ากากป้องกันในขณะทำงานที่มีความเสี่ยง,การรัดเข็มขัดนิรภัยขณะขับหรือนั่งรถ เพื่อป้องกันหน้ากระแทกกระจกรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุ, การตรวจสุขภาพตาและวัดความดันลูกตาเพื่อเฝ้าระวังโรคต้อหินทุกปีในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติโรคต้อหินในครอบครัว. การควบคุมโรคทางกายที่อาจมีผลต่อดวงตา เช่น ควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน หรือใช้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการลดต่ำของภูมิคุ้มกัน (CD4+) ในผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น. หลีกเลี่ยง การซื้อยาหยอดตาใช้เอง เช่น ยากลุ่มสตีรอยด์อาจทำให้ตาบอดจากโรคต้อหินได้.


ถ้าตาบอดรักษาไม่ได้ ยังพอมีวิธีการช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างไร

ในกรณีที่ตาบอดหรือสายตาเลือนรางที่จักษุแพทย์วินิจฉัยว่าไม่สามารถรักษาให้มองเห็นดีขึ้นได้ อาจปรึกษาจักษุแพทย์ถึงการใช้เครื่องมือช่วยสายตาเลือนราง เช่น กล้องส่องขยาย แว่นขยายสำหรับอ่านหนังสือ ซึ่งอาจช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ (ภาพที่ 4).

                    

 

 

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ พ.บ., สาขาวิชาจักษุวิทยา, คณะแพทยศาสตร์,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา พ.บ. ภาควิชาศัลยศาสตร์ ,คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล

ป้ายคำ:
  • โรคตามระบบ
  • โรคหู ตา คอ จมูก
  • คำถามที่ท่านควรรู้ในเวชปฏิบัติทั่วไป
  • นพ.วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา
  • นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
  • อ่าน 44,134 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

253-009
วารสารคลินิก 253
มกราคม 2549
คำถามที่ท่านควรรู้ในเวชปฏิบัติทั่วไป
นพ.วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา, นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa