Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » คุณยายตกจากบ้าน
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

คุณยายตกจากบ้าน

โพสโดย somsak เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2551 00:00

Extern ศศิวิมล  :  คุณยายตกจากบ้าน  ได้รับบาดเจ็บจนกระดูกซี่โครงซี่ที่ 7 หัก (7th rib fracture) โดยในวันแรกไม่มีภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอด (pneumothorax)คุณยายได้รับยาแก้ปวดแล้วจึงกลับบ้าน. วันนี้คุณยายมาตรวจตามนัด เมื่อตรวจภาพถ่ายรังสีทรวงอก คิดว่ามีภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอด แต่แพทย์รุ่นพี่บอกว่าเห็นไม่ชัดเจน อีกทั้ง คุณยายก็ไม่แสดงอาการเหนื่อย ไม่แน่นหน้าอก จึงให้คุณยายกลับบ้านไปอีก แล้วนัดมาตรวจซ้ำวันรุ่งขึ้น.

ผลการตรวจภาพถ่ายรังสีทรวงอกคราวนี้ปรากฏว่ามีภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอดจริงๆ จึงปรึกษาแพทย์รุ่นพี่ ได้ความเห็นว่า อันที่จริง ภาวะนี้ควรจะปรากฏตั้งแต่เมื่อวานแล้ว  ซึ่งในกรณีนี้เป็นภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอด จากการบาดเจ็บต้องใส่ท่อระบายลม (intercostal drainage) ทุกรายเพื่อป้องกัน tension pneumothorax. แต่แพทย์รุ่นพี่เห็นว่า อาการทางคลินิกของคุณยายอยู่ในเกณฑ์ดี นั่นคือ ตอบสนองต่อการรักษาแบบประคับประคองมาโดยตลอด จึงไม่ควรใส่ท่อระบายลม  แต่ให้นัดคุณยายมาดูอาการอีกใน 1 สัปดาห์ข้างหน้า พร้อมทั้งแนะนำคุณยายว่าต้องมาโรงพยาบาล ถ้าปรากฏอาการต่อไปนี้ เช่น เหนื่อย หายใจไม่อิ่ม เจ็บแน่นหน้าอก.


อาจารย์วีรพัฒน์  :  สำหรับภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอดจากการบาดเจ็บโดยไม่มีภาวะอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น hemothorax หรือ flail chest ประกอบกับการที่ผู้ป่วยไม่มีอาการหายใจผิดปกติ และปริมาณของลมไม่เกิน 10% แพทย์สามารถให้การรักษาแบบประคับประคอง (conservative treatment) คือ ไม่ต้องใส่ท่อระบายลม  แต่ต้องอยู่ภายใต้การสังเกตอาการ หมายความว่า ต้องรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลและที่สำคัญต้องตรวจภาพถ่ายรังสีทรวงอกซ้ำเพื่อให้แน่ใจว่า ภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอดนั้นไม่ได้เพิ่มขึ้น นั่นคือ เป็น stable pneumothorax.  หลักการรักษาวิธีนี้คือ ปล่อยให้ร่างกายค่อยๆ ดูดซึมอากาศที่รั่วออกมากลับไปหมด แต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่มีการรั่วเพิ่มเติมครับ.

ข้อสังเกตในรายนี้คือที่บอกว่า 7 วันแรกไม่มี pneumothorax นั้นในทางทฤษฎีไม่น่าจะเป็นไปได้น่าเชื่อว่าในรายนี้คงจะมีตั้งแต่แรก แต่คงจะปริมาณน้อยมากและผู้ป่วยก็ไม่มีอาการ แพทย์ท่านแรกจึง ไม่ได้ใส่ ICD. อีกเหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนก็คือ ปกติเราไม่จำเป็นต้องติดตามผลการรักษากระดูกซี่โครงหักด้วยการตรวจภาพถ่ายรังสีทรวงอก โดยเฉพาะถ้าเป็นภาวะกระดูกซี่โครงหักโดยไม่มีโรคแทรกซ้อน (simple fracture rib). 

กรณีที่ผู้ป่วยอยู่บ้านไกลจากโรงพยาบาลมาก  และไม่ยินดีนอนรับการรักษาในโรงพยาบาล ดังเช่นในรายนี้การที่ผู้ป่วยไม่ได้นอนรักษาในโรงพยาบาลอาจไม่ใช่ปัญหาครับ เพราะเข้าสัปดาห์ที่ 2 แล้ว จะไม่พบลมรั่วมากขึ้นจนผู้ป่วยเกิดอันตราย (ซึ่งมักพบใน 24-48 ชั่วโมงแรก)  ดังนั้น ในรายนี้ความเห็นของผมคือ ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล และก็ไม่ต้องใส่ ICD ครับ.
 
เอกสารอ้างอิง  

1. Textbook of Trauma (Mattox), 4th ed,  2000.

 

นศพ. ศศิวิมล  อุดมนิธิกุล, นักศึกษาแพทย์ปีที่ 6,คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

วีรพัฒน์  สุวรรณธรรมมา พ.บ.  ภาควิชาศัลยศาสตร์ ,คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ป้ายคำ:
  • การดูแลผู้สูงอายุ
  • การปฐมพยาบาล
  • ดูแลสุขภาพ
  • มองเวชปฏิบัติผ่านเลนซ์ของศิษย์และครู
  • นศพ. ศศิวิมล อุดมนิธิกุล
  • นพ.วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา
  • อ่าน 3,912 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

287-018
วารสารคลินิก 287
พฤศจิกายน 2551
มองเวชปฏิบัติผ่านเลนซ์ของศิษย์และครู
นพ.วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา
นศพ. ศศิวิมล อุดมนิธิกุล
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa