Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » งานจิตอาสา : เวทีสร้างสุขของผู้อาสา
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

งานจิตอาสา : เวทีสร้างสุขของผู้อาสา

โพสโดย somsak เมื่อ 1 มิถุนายน 2552 00:00

เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับแกนนำชมรมจิตอาสา โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา ชมรมนี้ก่อตั้งมาได้ 2 ปีกว่าหลังจากนายแพทย์สุวัฒน์  วิริยพงษ์สุกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเทพากลับจากดูงานมูลนิธิฉือจี้ ไต้หวัน ได้นำเรื่องราวที่นั่นมาเผยแพร่ และส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่หันมาทำงานจิตอาสา. สมาชิกประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ทุกส่วนงานที่สมัครใจเข้าร่วม เช่น เจ้าหน้าที่ห้องบัตร ห้องครัว คนงาน หมอนวดไทย พยาบาล แพทย์ เป็นต้น.


ชมรมจิตอาสามีกิจกรรมหลากหลาย เช่น เก็บขยะริมชายหาดร่วมกับหน่วยราชการอื่นและประชาชน ปลูกป่า เข้าค่ายปฏิบัติธรรม พัฒนาห้องสมุดโรงเรียน พัฒนาวัด และมัสยิด.


แกนนำหลายท่านได้เล่าถึงกิจกรรมอาสาเยี่ยมบ้านผู้ป่วย เพื่อให้กำลังใจและดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัว โดยเลือกเยี่ยมบ้านที่อยู่ในละแวกชุมชนที่เจ้าหน้าที่อาศัยอยู่. เจ้าหน้าที่ห้องบัตรสาวอายุ 20 กว่าเล่าว่า ได้เยี่ยมบ้านคุณปู่อายุกว่า 100 ปีที่ป่วยเป็นมะเร็งระยะท้าย ได้แวะไปบ้านผู้ป่วยนำอาหารไปให้ตอนเช้าก่อนมาทำงาน และตอนเย็นหลังเลิกงานทุกวัน  เป็นเวลา 6 เดือน จนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต. เจ้าหน้าที่รายนี้มีความสนิทชิดเชื้อกับครอบครัวของผู้ป่วยประดุจญาติใกล้ชิดคนหนึ่ง และรู้สึกมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์.


เจ้าหน้าที่อีกราย (ที่ไม่ได้ทำงานให้บริการผู้ป่วยโดยตรง) ก็เล่าประสบการณ์ในการ  เยี่ยมบ้านและดูแลผู้ป่วยมะเร็งอีกรายนานถึง 1 ปี จนกลายเป็นเหมือนลูกหลานคนหนึ่งของผู้ป่วย. ก่อนเสียชีวิต ผู้ป่วยได้กุมมือเจ้าหน้าที่เพื่อแสดงการขอบคุณและอำลา.


การเกิดขึ้นของชมรมจิตอาสาภายในโรงพยาบาลแห่งนี้ ได้เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ต่างแผนกได้อาสาเข้ามาทำงานร่วมกันด้วยอุดมการณ์ มิใช่ทำงานในหน้าที่ปกติ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบแนวราบ (ผูกพันด้วยใจ) ไม่ใช่แบบแนวดิ่ง (แบบอำนาจสั่งการ) จึงมีความผูกพันกลมเกลียว เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน และช่วยกันส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณ.


นอกจากนี้ ชมรมจิตอาสายังได้เปิดกว้าง ให้ชาวบ้านเข้ามาทำงานจิตอาสาในโรงพยาบาล. กิจกรรมหนึ่งที่ทางโรงพยาบาลเทพารู้สึกภูมิใจก็คือ หลังจากประกาศเปิดรับคนทั่วไปมาทำงานจิตอาสา ก็มีคุณตาอายุ 85 ปีขอมาเล่นไวโอลินที่แผนกผู้ป่วยนอกทุกเช้าวันพุธ ต่อมาก็มีคุณลุงอีกท่านที่เก่งดนตรีไทยมาร่วมเป่าขลุ่ยด้วย และต่อมาก็มีอาสาสมัครนักร้องอีก 2 ท่านมาร่วมวง กลายเป็นวงดนตรีเล็กๆ วงหนึ่ง เล่นให้ผู้ที่มารับบริการและเจ้าหน้าที่ฟังเป็นประจำทุกวันพุธ.


ในระยะ 2-3 ปีมานี้ งานจิตอาสาได้เกิดขึ้นในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ.
ที่โรงพยาบาลหนองแค จังหวัดสระบุรี ได้ จัดทำโครงการจิตอาสาโดยเชิญชวนประชาชนทั่วไปมาทำงานอาสาสมัครช่วยเหลืองานของโรงพยาบาล. ที่โดดเด่น ก็คือ มีอาสาสมัครวัย 86 ปี ชื่ออาจารย์สมศักดิ์ อยู่พร้อม อดีตข้าราชการครู ทุกเช้าจะขี่รถจักรยานจากบ้านเป็นระยะทาง 7 กิโลเมตรมาประจำอยู่ที่แผนกผู้ป่วยนอก นำ ผู้มารับบริการที่นั่งรอตรวจและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสวดมนต์พร้อมกันก่อนให้การบริการตรวจผู้ป่วย ช่วยให้ผู้คนมีจิตใจสงบ ลดความวุ่นวายโกลาหล และความขัดแย้งต่างๆ ได้เป็นอย่างมาก. หลังจากสวดมนต์เสร็จคุณปู่ก็ช่วยเหลือประสานงานทั่วไป ต้อนรับและแนะนำผู้ป่วยในการเข้ารับบริการ.


ต่อมามีผู้รับบริการรายหนึ่ง ชื่อคุณทองหล่อ อภินันท์รัตนกุล วัย 58 ปี ซึ่งเป็นเถ้าแก่โรงสี ได้เห็นแบบอย่างการทำงานจิตอาสาของอาจารย์ สมศักดิ์ ก็รู้สึกประทับใจและเกิดแรงบันดาลใจขอเข้าร่วมกิจกรรมนี้ด้วย โดยตอนเช้า (ซึ่งแต่เดิมอยู่ว่างๆ ได้แต่นั่งดูโทรทัศน์ กินขนม) จะขับรถมาที่โรงพยาบาลเพื่อช่วยเหลืองานที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกคู่กับอาจารย์สมศักดิ์จนถึงเที่ยง ค่อยกลับไปทำงานที่โรงสีในช่วงบ่าย.


นอกจากได้รับความสุขความภูมิใจในงานจิตอาสาที่ทำแล้ว คุณทองหล่อยังสามารถลดน้ำหนักได้ถึง 7 กิโลกรัมในระยะ 6 เดือนที่มาทำงานจิตอาสา เนื่องจากมีการออกแรงเคลื่อนไหว เดินไปมาตลอด 4 ชั่วโมงที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลแทนการนั่งๆ นอนๆ ดูโทรทัศน์และกินขนมอยู่ที่บ้าน พลอยทำให้สามารถควบคุมความดันและไขมันในเลือดสูงได้ดีขึ้น. นอกจากนี้ ยัง  ส่งผลให้คุณทองหล่ออยู่ร่วมกับภรรยาและบุตร  ได้อย่างมีความสุขขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้เป็นเพราะมีความเข้าใจผู้อื่นและรู้จักอดกลั้นมากขึ้น เนื่องจากได้เห็นความทุกข์ยากลำบากของผู้ป่วยและต้องเข้าไปช่วยเหลือด้วยความเห็นอกเห็นใจ ช่วยให้ลดความเป็นตัวตนของตัวเองลงไป จึงกลายเป็นคนใจเย็น เข้าใจครอบครัว และไม่ใช้อารมณ์กับคนใกล้ชิดในครอบครัวอย่างที่เคย.

นอกจากนี้โรงพยาบาลบางแห่งก็ได้นำผู้ป่วยโรคจิตและผู้พิการที่สามารถดูแลรักษาจนสามารถช่วยตัวเองได้มาทำงานจิตอาสาในโรงพยาบาล ฟื้นคืนศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นมนุษย์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมี ความสุขได้.

งานจิตอาสา จึงเป็นเวทีสร้างสุขของผู้อาสา ทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ผู้ป่วย และประชาชนทั่วไป.
 

(รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ)

ป้ายคำ:
  • คุยสุขภาพ
  • บทบรรณาธิการ
  • รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
  • อ่าน 3,946 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

294-001
วารสารคลินิก 294
มิถุนายน 2552
บทบรรณาธิการ
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa