Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ไข้หวัดหมูเรียบเรียงจาก http://www.cdc.gov
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ไข้หวัดหมูเรียบเรียงจาก http://www.cdc.gov

โพสโดย somsak เมื่อ 1 มิถุนายน 2552 00:00

Q   :    ไข้หวัดหมูคืออะไร
A   :    
ชื่อเรียกในปัจจุบันใช้คำว่า Influenza A (H1N1) หรืออาจเรียก Swine-Origin Influenza A (S-OIV) ถ้าแยกรายละเอียดของไข้หวัดใหญ่ จะแบ่งเป็น 3 สายพันธุ์ใหญ่ๆ คือ type A, B และ C โดย type C จะพบน้อยที่สุด ในวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่โดยทั่วไปจะมีสายพันธุ์ A และ B. 

ในสายพันธุ์ A ยังแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น subtype โดยแยกตามชนิดของ viral surface proteins ซึ่ง พบว่าสายพันธุ์ H1N1 และ H3N2 จะพบได้บ่อยกว่าชนิดอื่นและติดต่อในคนสู่คนได้.
 
 

Q   :    ทำไมถึงเรียกว่า ไข้หวัดหมู (Swine flu)
A   :    
เนื่องจากพบว่า มี gene บางตัวในไวรัสชนิดใหม่นี้ เหมือนกับ gene ที่พบใน influenza ที่เกิดขึ้นในหมู อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบว่ามีหมูติดเชื้อด้วยไวรัสชนิดนี้.
 


Q   :    ถ้าติดเชื้อในคนจะมีอาการเป็นอย่างไรบ้าง ติดต่อได้อย่างไร
A   :    
อาการโดยทั่วไปเป็นเหมือน flu-like โดยมีระยะฟักตัว (Incubation period) ประมาณ 2 วันได้แก่ ไข้ ไอ ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อ อาจมีอาการเจ็บคอหรือมีน้ำมูก บางครั้งอาจมีคลื่นไส้อาเจียนหรือท้องเสียได้ อาการอาจรุนแรงมากขึ้นได้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง (high risk) ซึ่งได้แก่
 - คนชรา.
 - เด็กเล็ก โดยเฉพาะในช่วงอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี.
 - หญิงมีครรภ์.
 - ผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายอย่าง.
 - ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง.

การติดต่อ โดยการสัมผัสโดยตรงกับสารน้ำ หรือสารคัดหลั่งที่มีเชื้ออยู่ เช่น ละอองจากการไอ จาม หรือสัมผัสโดยตรงกับผู้ติดเชื้อ เช่น การกอด หรือ  จับมือ. 

การติดต่อที่ถูกเข้าใจผิดบ่อยๆ พบว่าในปัจจุบันยังไม่พบการติดต่อระหว่างหมูมาสู่คน รวมทั้งยังไม่พบการติดต่อ จากการรับประทานเนื้อหมู หรือการดื่มน้ำที่สะอาดแต่อย่างใด.

 

Q   :    ระยะติดต่อในคนนานขนาดไหน
A   :  
 ประมาณ 1 วันก่อนผู้ติดเชื้อจะเริ่มมีอาการจนถึงประมาณ 7 วัน หลังจากเริ่มมีอาการป่วยรวมๆ คือประมาณ 8 วัน ซึ่งเหมือนกับที่พบใน seasonal influenza ทั่วไป อย่างไรก็ดี มีแนวโน้มว่า เด็กที่ติดเชื้อ จะมีระยะติดต่อที่นานขึ้นกว่าที่พบในผู้ใหญ่.

พบว่า influenza virus สามารถมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 2-8 ชั่วโมงบนพื้นผิว หรือบนวัสดุต่างๆ อย่างไรก็ดี สามารถทำลายเชื้อเหล่านี้ได้ไม่ยาก ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้
 - ใช้ความร้อนสูง 75-100 องศาเซลเซียส.
 - ยาฆ่าเชื้อโรคทั่วไป (antiseptics) เช่น สบู่, คลอรีน, Hydrogen peroxide, alcohol, iodine.



Q   :    การวินิจฉัยโรคทำได้อย่างไร
A   :  
 อาศัยอาการและอาการแสดงดังกล่าว รวมกับการตรวจพิสูจน์ทราบว่าติดเชื้อตัวนี้ โดยอาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

1. Confirmed case หมายถึงผู้ที่มีอาการของ acute febrile respiratory illness และมีการตรวจพบทางห้องปฏิบัติการของ S-OIV โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
  - Realtime RT-PCR ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง.
  - Viral culture.

2. Probable case หมายถึงผู้ที่มีอาการของ acute febrile respiratory illness และมีการตรวจพบทางห้องปฏิบัติการของ influenza A แต่ negative สำหรับ H1 และ H3 โดยวิธี influenza RT-PCR.

3. Suspected case หมายถึงผู้ที่มีอาการของ acute febrile respiratory illness และมีonset ของอาการ
 - ภายใน 7 วันที่มี close contact กับผู้ติดเชื้อ S-OIV (confirmed cases) โดย close contact หมายถึงการอยู่ในระยะห่างไม่เกิน 6 ฟุตกับผู้ติดเชื้อ S-OIV (confirmed cases) ซึ่งอยู่ในระยะที่ติดต่อหรือแพร่เชื้อได้.
 - ภายใน 7 วันที่มีการเดินทางไปยังสถานที่หรือประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ S-OIV (confirmed cases).
 - อาศัยอยู่ใน community ที่มีผู้ติดเชื้อ S-OIV (confirmed cases).
 

Q   :    การรักษาทำได้อย่างไรบ้าง
A   :  
สำหรับยาต้านไวรัสโดยตรง ปัจจุบันมีอยู่สองกลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่ม Anamantanes ได้แก่ยา amantadine และ remantadine และกลุ่มที่เป็น inhibitor ของ influenza neuraminidase เช่น oseltamivir และ zanamivir สำหรับเชื้อตัวนี้จะไวต่อยาในกลุ่ม neuraminidase โดยยาจะช่วยทำให้อาการไม่มาก และหายจากอาการป่วยได้เร็วขึ้น และยังช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ โดยแนะนำให้เริ่มใช้ยาเร็วที่สุดหลังจากเริ่มมีอาการของโรค และไม่ควรเกิน 48 ชั่วโมงหลังจากมีอาการจึงจะได้ผลดีที่สุด ให้ใช้ยานานประมาณ 5 วัน

ขนาดยาที่แนะนำในผู้ใหญ่ คือ
Oseltamivir (75 มก.) 1 capsule oral bid  นาน 5 วัน.
 Zamamivir (5 มก. inhalation) 10 มก. inhalation bid นาน 5 วัน.



Q   :    การป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง
A   :    
ในปัจจุบันยังไม่มี vaccine สำหรับป้องกันไวรัสชนิดใหม่ตัวนี้ อย่างไรก็ตามมีคำแนะนำเพื่อ ช่วยป้องกันการติดเชื้อมาสู่ตัวเรา และป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น (ในกรณีป่วย) ดังนี้

- ปิดปากและจมูกทุกครั้งเมื่อไอหรือจาม. 

- ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากใช้มือปิดปากและจมูก หลังจากการไอหรือจาม อาจใช้กลุ่ม alcohol-based hand cleaner ก็ได้.

- หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณตา จมูกและปากบ่อยๆ. 

- หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ (close contact) กับผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ.

- ถ้าป่วยหรือติดเชื้อ ให้อยู่บ้าน เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น นานอย่างน้อย 7 วันหลังจากเริ่มมีอาการ หรือหายจากอาการป่วย (Symptom free) อย่างน้อย 24 ชั่วโมง. 

- คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ facemask หรือ respirators มีดังนี้
   i. หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในที่ที่มีผู้คนหนาแน่นหรือชุมนุมชนหรืออยู่ในที่ที่เป็น close contact กับผู้ติดเชื้อ S-OIV ถ้าจำเป็นขอให้ใช้เวลา     ให้สั้นที่สุด.
   ii. Facemask แนะนำให้ใช้ในกรณีที่ ต้องเข้าไปอยู่ในที่ที่มีผู้คนหนาแน่นหรือชุมนุมชน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากละอองการไอ จามของ ผู้อื่น และยังป้องกันไม่ให้ละอองการไอ จามของเราไปปนเปื้อนผู้อื่นด้วยเช่นกัน.
  iii.  Respirator หมายถึง mask N 95 (ภาพที่ 1) หรือกลุ่มของ higher filtering facepiece respirator แนะนำให้ใช้ในกรณีที่ต้องสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ S-OIV เช่น บุคลากรทางการแพทย์ หรือผู้ที่เป็นญาติพี่น้องร่วมบ้านเดียวกับผู้ติดเชื้อ.


ในกรณีของ viral chemoprophylaxis มีคำแนะนำผู้สมควรได้รับดังนี้

1. ผู้ที่สัมผัสโรค (confirmed/probable case)แบบ close contact ในช่วงที่เป็นระยะติดต่อและเป็น high risk group.

2. บุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสโรค (confirmed/probable case) แบบ close contact ในช่วงที่เป็นระยะติดต่อและไม่ได้ใช้อุปกรณ์ในการป้องกันอย่างเหมาะสม.
 ในกรณีที่เป็น pre-exposure แนะนำให้ใช้ยาตั้งแต่ช่วงที่เริ่มสัมผัสกับโรค และนาน 10 วันหลังจากพ้นระยะที่สัมผัสโรค.

สำหรับ post-exposure ให้ใช้ยาทันทีและนาน 10 วันหลังจากพ้นระยะที่สัมผัสโรค
ขนาดยาที่แนะนำให้ใช้
Oseltamivir (75 มก.) 1 capsule oral วันละครั้ง.   
Zamamivir (5 มก. inhalation) 10 มก. inhalation วันละครั้ง.

 

บรรณาธิการและผู้นิพนธ์
วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา พ.บ. ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล

ป้ายคำ:
  • พฤติกรรมอันตราย
  • โรคเรื้อรัง
  • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ.​ และป้องกันโรค
  • โรคหวัด ภูมิแพ้
  • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
  • คำถามที่ท่านควรรู้ในเวชปฏิบัติทั่วไป
  • ไช้หวัดหมู
  • นพ.วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา
  • อ่าน 3,779 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

294-009
วารสารคลินิก 294
มิถุนายน 2552
คำถามที่ท่านควรรู้ในเวชปฏิบัติทั่วไป
นพ.วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)< และสถาบัน ChangeFusion< พัฒนาระบบโดย Opendream< สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa <